วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

โครงงานสำรวจ




คำที่มักเขียนผิด

                  คำที่มักเขียนผิด             เนรมิต  ผลิตไว้
                  พรรณาโควตาใหม่         ไอศกรีม   ครีมเค้กขาว
                  ขั้นโคม่า มาคลินิก          เทคนิคใหม่ไฟขาร์จหนาว
                  เวียดนามถามหญิงสาว   ถึงเรื่องราวในเวียดกง
                 ฟังก์ชัน  ดีเปรสชัน           แทรกเตอร์ดันยันม็อบหลง
                  ก๊อปปี้แท็กซี่ลง                จิตมั่นคงดงตังโอ๋
                  ฮินดีบาลีจีน                      เฮโรอีนทีนเอจโก้
                  อาหรับตำรับโชว์               โพแทสเซียม  เรียมขวัญมี
                  เซรุ่ม  อยู่มุมไหน               ต่อยหมาใน  ปลาไนหนี
                  ไวรัสบัคเตรี                       ใช้เกียร์สี่  สุขีกัน
                   ทีฆายุ  สาธุหนอ               รื่นรมย์พอก็สุขสันต์
                   เผ่นมาคอร์รัปชัน               แข่งเซตสั้นวันลำไย

วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

หนังสือราชการ

ที่พิเศษ/2556                                                                                      บ้านเลขที่ 61  หมู่ตำบลห้วยสามพาด
                                                                                                            อำเภอประจักษ์ศิลปาคม 
                                                                                                            จังหวัดอุดรธานี  41110
                                                                                                             (แหล่งเรียนรู้ศิลปะและวัฒนธรรม)

                                                          13      พฤษภาคม     2556
                                                                                         
เรื่อง  ส่งเอกสารเผยแพร่                  
เรียน  ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
สิ่งที่ส่งมาด้วย  หนังสือเล่มเล็กจำนวน   28   เล่ม
    ด้วยข้าพเจ้า  นางสิริพร  ทาชาติ  ได้จัดทำหนังสือเล่มเล็ก/เอกสารเผยแพร่ด้านวิชาสังคมศึกษา  ศาสนา  และวัฒนธรรม 
       ในการนี้จึงขอส่งหนังสือเล่มเล็ก/เอกสาร  ดังรายละเอียดที่แนบมา  ให้สำนักศิลปะและวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี  เพื่อใช้ประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าและเผยแพร่ต่อไป
          จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา

(ลงชื่อ.............................................................
(นางสิริพร  ทาชาติ)
ครูภูมิปัญญาไทย  รุ่นที่ 4







รายชื่อหนังสือที่ได้นมาเผยแพร่
1.              โตงโตย  จำนวน  เล่ม
2.              ซิปปา  ป. จำนวน  1  เล่ม
3.              กำไรชีวิต  จำนวน  1  เล่ม
4.              ภาษาอีสาน  จำนวน  1  เล่ม
5.              เลื่องลือนามหลวงปู่ก่ำ  จำนวน  2  เล่ม
6.              งานจักสานจากไม้ไผ่  จำนวน  1  เล่ม
7.              ชื่นชมผ้าหมี่สีย้อมคราม   จำนวน  1  เล่ม
8.              การละความชั่วทั้งปวง   จำนวน  1  เล่ม
9.              อริยทรัพย์   จำนวน  1  เล่ม
10.       ผาแดงนางไอ่  จำนวน  1  เล่ม
11.       การวิจัยในชั้นเรียน  จำนวน  2  เล่ม
12.         เพลงประหยัด   จำนวน  1  เล่ม
13.       เพลงสุภาพ  จำนวน  2  เล่ม
14.       เพลงสามัคคี   จำนวน  1  เล่ม
15.       เพลงซื่อสัตย์  จำนวน  1  เล่ม
16.       เพลงขยัน  จำนวน  2  เล่ม
17.       เพลงสะอาด  จำนวนเล่ม
18.       ผญาพาเพลิน  จำนวน  1  เล่ม
19.       พุทธประวัติ   จำนวน  1  เล่ม
20.       แผนการจัดการเรียนรู้  เรื่อง  ความสุภาพ  จำนวน  1  เล่ม
21.       แผนการจัดการเรียนรู้  เรื่อง  ซื่อสัตย์  จำนวน  1  เล่ม
22.       วันวิสาขบูชา  จำนวน  1  เล่ม
23.       ประวัติศาสตร์อำเภอประจักษ์ศิปาคม  จำนวน  1  เล่ม



วันเสาร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

กิจกรรมการสอน




ครููของครู


                                           ไชยสิทธิ์  บุตรี
           
          ไชย    ชนะใจชน                       บุรุษล้น  ผลงานดี
           สิทธิ์   ที่กระทำนี้                       แนะแนวชี้  แก่คุณครู
           บุตร    ของตราเสมา                 มีเมตตา  พาเลิศหรู
           ตรี       สามนามวิญญู                ขอเชิดชูครูวิไล
           มาลาอุทยาน                             ร้อยกาพย์กานท์บันทึกไว้
           ยกย่องเลื่องลือไป                     สุดแสนไกลเส้นขอบฟ้า
           ช่วยบอกต่อต่อกัน                     ชื่อนี้นั้นพลันคุณค่า
            จารึกจรดจารมา                        เพื่อรู้ว่า  คือคนดี          

เขียนหนังสือ

                 หนังสือคืออักษร                  คือนิวรณ์อันสดใส
            สวยงามกว่าสิ่งใด                     ประดับไว้ในดวงแด
            สามารถนำมาใช้                       เพิ่มพูนได้เป็นแน่แท้
            ยั่งยืนมิผันแปร                          ประโยชน์แก่ประชาชน
            เขียนแล้วร่วมเล่มไซร้               นานไปให้คุณค่าล้น
            คนเขียนแม้วายชนม์                  หนังสือทนอยู่ยืนนาน
             อ่านมากและเขียนมาก             มีผลจากหลากหลายด้าน
             สืบค้นจนเบ่งบาน                     งานสืบสานการประพันธ์
             เหตุการณ์ที่จารจรด                  เคยปรากฎเกิดวันนั้น
             มันเกิดใหม่ได้พลัน                   ทุกวี่วันไม่แน่นอน
             บันไดในการเขียน                     ต้องพากเพียรอดทนก่อน
             ทนอดทนหนาวร้อน                  ทนเปียกปอนเปลื้อนน้ำตา
             จะเขียนนะตรงไหน                   ก็เพื่อให้ใช้ภาษา
             สื่อสารอักขรา                           ใฝ่ศึกษาหาพาที
             สร้างสรรค์อันความรู้                  แบบอย่างครูแนะแนวชี้
             นิยามจำจงดี                              เขียนให้มีจรรยาบรรณ

วิจัยการสอนแบบโครงงาน บทที่ 3

บทที่ 3
วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า

                การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้  ผู้ศึกษาค้นคว้าได้ดำเนินการศึกษา  เรื่อง  การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สาระสังคมศึกษา  ศาสนา  และวัฒนธรรม  โดยวิธีสอนแบบโครงงานผู้ศึกษาค้นคว้าได้ดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปนี้
1.       ประชากรกลุ่มตัวอย่าง
2.       เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
3.       การสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือ
4.       ขั้นตอนดำเนินการศึกษาค้นคว้า
5.       การเก็บรวบรวมข้อมูล
6.       การวิเคราะห์ข้อมูล
7.       สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

ประชากรกลุ่มตัวอย่าง
1.  ประชากรนี้  คือ  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ภาคเรียนที่ ปีการศึกษา  2556  กลุ่ม
เครือข่ายสามพาดอุ่มจาน  จำนวน  160  คน  จาก  โรงเรียน
         2.  กลุ่มตัวอย่าง  คือ  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  ภาคเรียนที่ ปีการศึกษา  2556  โรงเรียนบ้านโนนสมบูรณ์  จำนวน  21  คน  ซางได้จากการเลือกแบบเจาะจง  (Purposive  Sampling)

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
        ในการศึกษาค้นคว้า  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าและเก็บรวบรวมข้อมูลมี  ชนิด  ดังนี้คือ
1.       แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนา  และวัฒนธรรม  สาระที่
ศาสนา  ศีลธรรม  จริยธรรม  เรื่องวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา  โดยวิธีสอนแบบโครงงาน  จำนวน  แผน
และแบบประเมินโครงงาน  จำนวน  ชุด  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนา  และวัฒนธรรม  เรื่องวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
2.       แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  ชั้นประถมศึกษาปีที่ เรื่องวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา  โดยวิธีสอนแบบโครงงาน  ชนิด  4  ตัวเลือก  จำนวน  30  ข้อ
3.       แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแผนการเรียนรู้โดยวิธีสอนแบบโครงงาน  กลุ่มสาระการ
เรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนา  และวัฒนธรรม  เรื่อง  วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
                                                           
การสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือ
               รายงานการพัฒนากิจกรรมการเรียนการแบบโครงงาน  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนา  และวัฒนธรรม สาระที่  1  ศาสนา  ศีลธรรม  จริยธรรม  เรื่อง  วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา  ชั้นประถมศึกษาปีที่  5  โรงเรียนบ้านโนนสมบูรณ์  มีการสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือ  สรุปดังนี้
                กำหนดวัตถุประสงค์ของการพัฒนาและการศึกษา
                สร้างและพัฒนาเครื่องมือที่สำคัญแก่
                     1)  สื่อประเภทหนังสือ  เอกสาร  วิธีการ กลุ่มสาระสังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม  สาระที่  1  ศาสนา  ศีลธรรม  จริยธรรม  เรื่อง วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ชั้นประถมศึกษาปีที่  5  เป็นหนังสือ  เอกสาร  วิธีการ  ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับโครงงานของวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา รูปร่างเป็นหนังสือที่สร้างจากมือของครูและนักเรียน  มีลักษณะเป็นเล่ม  จำนวน  9  เล่ม
                     2)  ศึกษาทฤษฎี  หลักการแนวคิด  ในการจัดการเรียนรู้  สาระสังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม  โดยวิธีการสอนแบบโครงงาน  สาระที่ 1  ศาสนา  ศีลธรรม  จริยธรรม  จากเอกสาร  หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2551  สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนา  และวัฒนธรรม  และคู่มือการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนา  และวัฒนธรรม  หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของกรมวิชาการ  กระทรวงศึกษาธิการ  และรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสาระสังคมศึกษา  ศาสนา 
และวัฒนธรรม  โดยวิธีสอนแบบโครงงาน 
                    3)  กำหนดสาระการเรียนรู้และกิจกรรมเป็น  9  แผน
                    4)  เขียนแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามสาระที่กำหนด  ซึ่งผู้ศึกษาค้นคว้าได้แบ่งเนื้อหาออกเป็น  9  แผน  รวม  19  ชั่วโมง  ทั้งนี้ไม่รวมเวลาทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนหลังเรียน
            





แผนการจัดการเรียนรู้  โดยวิธีแบบโครงงานแบบโครงงาน  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนา       และวัฒนธรรม  เรื่อง  วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา  ชั้นประถมศึกษาปีที่  5    
แผนการจัดการเรียนรู้
เรื่อง
จำนวนชั่วโมง

1

2
3
4
5
6
7
8
9
การปฐมนิเทศและทดสอบก่อนเรียน
ขั้นให้ความรู้เรื่องการใช้กิจกรรมโครงงาน  เป็นเครื่องมือแสวงหาความรู้
ขั้นให้ความรู้เรื่องพระพุทธศาสนาโดยสังเขป
ขั้นเลือกหัวข้อสำคัญทางพระพุทธศาสนา
ขั้นเขียนเค้าโครง  โครงงานตามหัวข้อสำคัญทางพระพุทธศาสนา
ขั้นสร้างเครื่องมือ
ขั้นรวบรวมข้อมูล
ขั้นเรียบเรียงข้อมูลและเขียนงานโครงงาน
ขั้นนำเสนอโครงงาน  ประเมินโครงงาน
ขั้นสรุปโครงงาน
ทดสอบหลังเรียน

2

1
1
1
2
5
2
3
2

รวม
19













            
              วิเคราะห์โครงสร้างเนื้อหา  จุดประสงค์และเวลาที่ดำเนินการสอนในการพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนแบบโครงงาน   เรื่อง  วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา  ชั้นประถมศึกษาปีที่  5
แผนการจัด
การเรียนรู้
เรื่อง/เนื้อหา
จุดประสงค์การเรียนรู้
เวลา/ชั่วโมง
1
ความรู้เรื่องการใช้กิจกรรมโครงงาน  เป็น  เครื่องมือแสวงหาความรู้
ปฐมนิเทศและทดสอบก่อนเรียน
1. สามารถบอกความหมายของโครงงานได้
2. สามารถบอกประเภทของโครงงานได้
3. สามารถเลือกทำโครงงานที่ถูกต้องและเหมาะสม
4. สามารถบอกขั้นตอนของการทำโครงงานได้
2  ชั่วโมง


2
ความรู้เรื่องวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาโดยสังเขป
1. สามารถบอกความหมาย  ความสำคัญของวันสำคัญทาพระพุทธศาสนาได้
2. รู้และเข้าใจการปฏิบัติพิธีกรรมและวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาอย่างถูกต้อง
1  ชั่วโมง
3
การเลือกหัวข้อวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
1. เลือกหัวข้อที่สนใจจากเรื่องวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาได้อย่างเหมาะสม
2. สร้าง  Mind  Mapping จากหัวข้อเรื่องที่ตนเองเลือกได้อย่างเหมาะสม
3.  นำเสนอ  Mind  Mapping  ได้อย่างถูกต้อง
1  ชั่วโมง
4
การสร้างเครื่องมือ
1. เขียนเค้าโครงโครงงานได้ถูกต้อง
2. นำเสนอเค้าโครงโครงงานได้ถูกต้อง
1  ชั่วโมง
5
การสร้างเครื่องมือ
1. นักเรียนสร้างแบบสัมภาษณ์ได้ถูกต้อง
2. นักเรียนสร้างแบบสังเกตได้อย่างถูกต้อง
3. นักเรียนสร้างแบบบันทึกการอ่านได้อย่างถูกต้อง
4. นักเรียนนำเสนอเครื่องมือของตนเองได้อย่างเหมาะสม
2  ชั่วโมง



ตาราง  (ต่อ)
แผนการจัด
การเรียนรู้
เรื่อง/เนื้อหา
จุดประสงค์การเรียนรู้
เวลา/ชั่วโมง
6
การเก็บรวบรวมข้อมูล
1. นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันเก็บรวบรวมข้อมูลตามเค้าโครงที่เสนอไว้ถูกต้อง
2. นักเรียนบันทึกข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ได้อย่างถูกต้อง
5  ชั่วโมง
7
การเรียบเรียงข้อมูลและเขียนรายงานโครงงาน
1. นักเรียนเรียบเรียงข้อมูลได้ถูกต้อง
2. นักเรียนเขียนรายงานได้อย่างถูกต้อง
3. นักเรียนเข้าเล่มรายงานได้อย่างถูกต้อง
2  ชั่วโมง
8
การนำเสนอผลงานและประเมินโครงงาน
1. นักเรียนนำเสนอโครงงานได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
2. นักเรียนประเมินโครงงานของตนได้อย่างเหมาะสม
3. นักเรียนประเมินโครงงานของกลุ่มชั้นได้อย่างเหมาะสม
4. นักเรียนคิดคะแนนการประเมินโครงงานได้อย่างถูกต้อง
3  ชั่วโมง
9
การสรุปโครงงาน
1. นักเรียนแต่ละกลุ่มทำใบงานได้อย่างถูกต้อง
2. นักเรียนตอบคำถามจากเนื้อหาในใบความรู้เรียนต่าง ๆ  ได้อย่างถูกต้อง

2  ชั่วโมง
       
 






      ขั้นตอนดำเนินการศึกษาค้นคว้า
     ศึกษาเอกสารความรู้ทฤษฎี  หลักการและแนวคิดในการจัดการเรียนรู้  สาระที่ 1 ศาสนา 
ศีลธรรม  จริยธรรม  หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2556  สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนา  และวัฒนธรรม  คู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนพระพุทธศาสนา  หลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐาน  พ.ศ.  2556
                      1)  พัฒนาแนวการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  สาระที่ 1  ศาสนา  ศีลธรรม  จริยธรรม  โดยใช้โครงงาน
     2)  จัดทำกำหนดการสอน
     3)  เสนอต่ออาจารย์ที่ปรึกษา
     4)  สร้างแผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 
     5)  เสนอต่ออาจารย์ที่ปรึกษา  เสนอต่อผู้เชี่ยวชาญ
     6)  ตรวจสอบแก้ไขให้ข้อคิดเห็น
     7)  แก้ไขปรับปรุงตามข้อคิดเห็น  จัดทำแผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อนำไปใช้
       แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียน-หลังเรียน
                     1)  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน  เป็นแบบทดสอบแบบปรนัย  4  ตัวเลือก  จำนวน  30  ข้อ  ใช้สำหรับวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน  เรื่อง  วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา  และเรื่องพุทธประวัติ
                     2)  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน  เป็นแบบทดสอบแบบปรนัย  4  ตัวเลือก  จำนวน  30  ข้อ  ใช้สำหรับวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน  เรื่อง  วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา  และเรื่องพุทธประวัติ 
      แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน
                     แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน  เป็นแบบสอบถามนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  5  โรงเรียนบ้านโนนสมบูรณ์  สำนักงานเขพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี  เขต  2  ที่มีต่อการพัฒนาแผนการเรียนรู้โดยวิธีสอนแบบโครงงาน เรื่องวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา  ว่ามีความพึงพอใจในระดับมากน้อยเพียงใด  ลักษณะการสอบถามเป็นมาตราส่วนประมาณค่า  ประเมิน  5  ระดับ  คือ  มากที่สุด  มาก  ปานกลาง  น้อย  และน้อยที่สุด  ของแต่ละประเด็น  แบบสอบถามใช้สอบถามความพึงพอใจของนักเรียนหลังการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบโครงงาน


      การเก็บรวบรวมข้อมูล
                     การเก็บรวบรวมข้อมูล  ลงมือปฏิบัติการทดลองสอนด้วยตนเอง  ดังมีรายละเอียดตามขั้นตอน  ดังนี้
                  1)  นำหนังสือขอความอนุเคราะห์เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการพัฒนาต่อผู้บริหารโรงเรียนบ้าน
โนนสมบูรณ์
                  2)  แจ้งความประสงค์ต่อผู้บริหาร  ครู  นักเรียน
                  3)  ชี้แจงจุดประสงค์ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบโครงงาน
                  4)  ดำเนินการทดลองตามแผน
                  5)  ประเมินผลระหว่างเรียน
                  6)  นักเรียนนำเสนอโครงงาน
                  7)  ประเมินโครงงานนักเรียน
                  8)  สอบถามความพึงพอใจของนักเรียนด้วยแบบวัดความพึงพอใจ
                  9)  เก็บรวบรวมข้อมูลจากเครื่องมือที่ใช้  เพื่อวิเคราะห์ต่อไป                
         การวิเคราะห์ข้อมูล
            การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนแบบโครงงาน  ได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูล  ดังนี้
1)  หาค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และค่าร้อยละ  ที่ได้จากการทดสอบ  วัดผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียน  ตามแผนการจัดการเรียนรู้  โดยวิธีสอนแบบโครงงาน  เรื่องวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
และเรื่องพุทธประวัติ  กลุ่มสาระสังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม  ชั้นประถมศึกษาปีที่  5  ก่อนเรียน
และหลังเรียน
                   2)  หาประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยวิธีสอนแบบโครงงาน
เรื่องวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา และเรื่องพุทธประวัติ  กลุ่มสาระสังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม 
ชั้นประถมศึกษาปีที่  5   ตามเกณฑ์  80/80
                   3)  หาค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยวิธีการสอนแบบโครงงาน  เรื่องวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา  และเรื่องพุทธประวัติ  กลุ่มสาระสังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม  ชั้นประถมศึกษาปีที่  5        
                   4)  วิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยวิธีสอนแบบโครงงาน  เรื่อง  วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา และเรื่องพุทธประวัติ  กลุ่มสาระสังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม 
ชั้นประถมศึกษาปีที่  5  ใน  3  ด้าน  คือ  ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  ด้านสื่อการเรียนการสอน  และด้านข้อมูลของตัวครู         
แนวทางการตรวจสอบและประเมินผลการพัฒนางาน
             แนวทางการตรวจสอบ ประเมินผลตามวัตถุประสงค์  ครูติดตาม  ตรวจสอบ  ประเมินผลและชี้แนะ  นักเรียน  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5   เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและ ได้ข้อมูลที่เป็นจริงมากที่สุด
             ดำเนินการสร้างแบบประเมินโครงงานกลุ่มสาระสังคมศึกษา  ศาสนา  และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่  5  เรื่อง  วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา  เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า  ซึ่งมีรายการประเมินโครงงาน  6  ส่วน  ได้แก่ 1)  ส่วนประกอบของรายงาน  2)  ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 
3)  ความถูกต้องหรือเหมาะสมของวิธีการศึกษาค้นคว้า  4)  เนื้อหาสาระและประโยชน์ของโครงงาน 
5)  การนำเสนอโครงงาน 6)  รูปแบบนิทรรศการ 
             นำแบบประเมินโครงกลุ่มสาระสังคมศึกษา  ศาสนา  และวัฒนธรรม  ที่สร้างขึ้นเสนอต่อผุ้บริหารโรงเรียน  อาจารย์ที่ปรึกษา  เพื่อพิจารณาความเหมาะสมของข้อความและภาษาที่ใช้  แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไข
             แบบวัดความพึงพอใจในการเรียนรู้  ของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้  เรื่องวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา  โดยวิธีสอนแบบโครงงาน  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  มีขั้นตอนการสร้างและพัฒนา  ดังนี้
                   1)  ศึกษาเอกสาร  แนวคิด  ทฤษฎีองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับวิธีสร้างแบบวัดความพึงพอใจในการเรียนรู้
                   2)  สร้างแบบวัดความพึงพอใจในการเรียนรู้  ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  เรื่องวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา  โดยวิธีการสอนแบบโครงงาน  เป็นมาตรส่วนประมาณค่า
                        ค่าเฉลี่ย  4.51  -  5.00  หมายถึง  มีความพึงพอใจมากที่สุด
                        ค่าเฉลี่ย  3.51 –  4.50  หมายถึง  มีความพึงพอใจมาก
                        ค่าเฉลี่ย  2.51  -  3.฿0  หมายถึง  มีความพึงพอใจปานกลาง
                        ค่าเฉลี่ย  1.51  -  2.50  หมายถึง  มีความพึงพอใจน้อย
                        ค่าเฉลี่ย  1.00  -  1.50  หมายถึง  มีความพึงพอใจน้อยที่สุด
                        จำนวน  1  ฉบับ  รวมทั้งหมด  10  ข้อ
                   3) นำแบบวัดความพึงพอใจในการเรียนรู้  ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  เรื่อง  วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา  โดยวิธีการสอนแบบโครงงาน  ที่สร้างเสนอต่ออาจารย์ที่ปรึกษา  เพื่อพิจารณาความถูกต้องเหมาะสม  แล้วปรับปรุงตามคำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษา
                   4)  นำแบบวัดความพึงพอใจเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญด้านการวัดและการประเมินผลชุดเดิม  ตรวจสอบและปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ  และจัดพิมพ์
                   5)  นำแบบวัดความพึงพอใจในการเรียนรู้  ไปทดลองใช้  กับนักเรียน  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
โรงเรียนบ้านโนนสมบูรณ์  ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง แล้วนำมาหาค่าจำแนกและค่าความเชื่อมั่น    
        ขอบข่าย          
                 การติดตาม  ตรวจสอบ  ประเมินผลโครงงาน  ภาคเรียนที่ 1-2 ปีการศึกษา 2556                       ในครั้งนี้ มีขอบข่ายการติดตาม  ตรวจสอบ ประเมินผล   ดังนี้
               - ประเมินการพัฒนาแผนการเรียนรู้โดยวิธีสอนแบบโครงงาน
              ประเมินคุณภาพประสิทธิภาพประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบโครงงาน

กำหนดการและขั้นตอน  การติดตาม  ตรวจสอบ ประเมินผลโครงงาน
       การติดตาม          ตรวจสอบ ประเมินผลโครงงาน  การติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลโครงงาน ดังนี้
       กำหนดการ และขั้นตอน 
              ภาคเรียนที่ 1  ระหว่างวันที่  เดือน  มิถุนายน  พ.ศ.  2556  ถึง มีนาคม   2557  มีขั้นตอน
                      1ครูติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลโครงงาน
                 2ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการติดตาม  ตรวจสอบประเมินผลโครงงาน
                 3ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล  ตามขอบข่าย  (โดยศึกษาเอกสารแนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน  โดยการตรวจสอบเอกสาร หลักฐานร่องรอยการปฏิบัติ  สังเกต สัมภาษณ์ และบันทึกลงในแบบประเมินผล
   4สรุปผลการประเมินรายบุคคล  แจ้งผลการประเมินในภาพรวมด้วยวาจา  และรับฟังข้อเสนอแนะเพิ่มเติม จากคณะกรรมการ
                 5ส่งเอกสารตามข้อ 3 ให้ผู้อำนวยการโรงเรียน  ติดตาม  ตรวจสอบ  ประเมินผล และนิเทศการสอนแบบโครงงาน                                       

ขั้นตอนในการดำเนินพัฒนากับนักเรียน
                  ข้าพเจ้าได้วางแผนงานที่จะพัฒนานักเรียน  ดังนี้
1.  การจัดกลุ่มนักเรียน  ศึกษาคะแนนสาระสังคมศึกษา  ศาสนา  และวัฒนธรรม  จากชั้นที่
ผ่านมา  แล้วเรียงอันดับจากคนที่มีคะแนนสูงสุด  กลาง  ต่ำ คละกันทุกกลุ่ม  ในแต่ละกลุ่มมีทั้งชายและหญิงคละกัน  แต่ละกลุ่มมีสมาชิก  5  คน  นักเรียนมีจำนวน  21  คน  ได้  4  กลุ่ม  เหลือนักเรียน  2  คน  จัดให้เข้ากลุ่มกับเพื่อนตามที่เห็นสมควร  โดยทำตารางกรจัดกลุ่มนักเรียนไว้  ดังนี้

ระดับความสามารถ
กลุ่มที่ 1 
กลุ่มที่ 2
กลุ่มที่  3
กลุ่มที่  4
เก่ง
ธัญญารัตน์
เนาวรัตน์
ผกายพร
วาสนา
ปลานกลาง
หฤทัย
ดรุณี
พงษ์พันธ์
อารยา
ปลานกลาง
สุดารัตน์
กัญญารัตน์
ศิรินภา
พรนภา
ปลานกลาง
วุฒิชัย
อมรรัตน์
สิริมา
ชิตนุพงษ์
อ่อน
รัศมี
เกียรติศักดิ์
จุฑารัตน์
เพชร
อ่อน

สิทธิผล


                  2.  ทดสอบก่อนเรียน  เพื่อวัดความรู้พื้นฐานของนักเรียนด้วยแบบทดสอบ  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนที่จะดำเนินการสอน  โดยทดสอบนอกเวลา
                  3.  ดำเนินการสอน  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนา  และวัฒนธรรม  เรื่อง
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา  และเรื่องพุทธประวัติ  (การพัฒนาแผนการเรียนรู้โดยวิธีสอนแบบโครงงาน  นี้จะจัดทำรายงานเป็น  2  เล่ม)  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  ด้วยแผนการสอนโดยวิธีแบบโครงงาน  จำนวน  9  แผน  ใช้แบบทดสอบวัดตามแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 1,2  และแบบประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรมระหว่างเรียนตามแผนที่  3,9  หลังจากจัดกิจกรรมการเรียนรู้แต่ละแผน
                  4.  ทดสอบหลังเรียน  โดยนำแบบทดสอบเดิมมาทดสอบเพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  ของนักเรียนเป็นการประเมินว่า  การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แผนการเรียนรู้จะทำให้นักเรียนเกิดความรู้  ตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่เพื่อจะนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของแผนการเรียนรู้การทดสอบหลังเรียนจะทดสอบเมื่อนักเรียนได้เรียนบทสุดท้ายเสร็จแล้ว
                  5.  การสอนแบบโครงงานเพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาแหล่งเรียนรู้นอกโรงเรียนได้อย่างเต็มที่  ครูผู้สอนจึงได้จัดชั่วโมงเรียนในวันเสาร์  วันอาทิตย์  พานักเรียนไปแหล่งเรียนรู้  โดยครูเสียสละเวลา  เสียสละทรัพย์ค่าเดินทางค่าอาหาร  เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้แบบโครงงานอย่างสนุกสนานและได้ปฏิบัติจริง
                  6.  สอบถามด้วยแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแผนการเรียนรู้โดยวิธีสอนแบบโครงงานกลุ่มสาระสังคมศึกษา  ศาสนา  และวัฒนธรรม  เรื่อง  วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา 
และเรื่อง  พุทธประวัติ  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  หลังจากเสร็จสิ้นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ครบทุกแผนการเรียนรู้แล้ว 




สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
การศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้  ผู้ศึกษาได้ใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้
          1. สถิติพื้นฐาน
              1.1 ร้อยละ (Percentage) ใช้สูตรดังนี้ (บุญชม ศรีสะอาด, 2545 : 104)
              เมื่อ       P        แทน   ร้อยละ
                               แทน   ความถี่ที่ต้องการแปลงให้เป็นร้อยละ
                        N        แทน   จำนวนความถี่ทั้งหมด
             1.2 ค่าเฉลี่ย (Arithmetic Mean) ใช้สูตรดังนี้ (กองวิจัยทางการศึกษา กรมวิชาการ, 2545 : 106)

         เมื่อ                                แทน  ค่าเฉลี่ย
                           แทน  ผลรวมของข้อมูลทั้งหมด
                        N        แทน จำนวนของข้อมูลทั้งหมด
             1.3 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ใช้สูตรดังนี้ (กองวิจัยทางการศึกษา กรมวิชาการ, 2545 : 110)
                  เมื่อ  S.D.          แทน  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
      X             แทน ข้อมูลแต่ละตัว
                           แทน  ผลรวมของข้อมูลทั้งหมด
      N             แทน จำนวนข้อมูลทั้งหมด
     
      2. การวิเคราะห์คุณภาพเครื่องมือ
             2.1 การทดสอบหาความเที่ยวตรง  (Validity)  ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้สูตรดัชนีค่าความสอดคล้อง  IOC   (สมนึก  ภัททิยธนี.  2544 : 167)
                   การคำนวณหาค่า  E1 (หาประสิทธิภาพกระบวนการ)
                   การคำนวณหาค่า  E2   (ประสิทธิภาพผลลัพธ์)
                   เมื่อ
                        E1    แทน  ประสิทธิภาพของกระบวนการที่จัดไว้ในบทเรียน
                        E2  แทน  ประสิทธิภาพของบทเรียนในการเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้เรียน
                     แทน  คะแนนรวมของผู้เรียนจากการฝึกปฏิบัติภารกิจในบทเรียน
                      แทน  คะแนนที่ได้รับรวมของผู้เรียนจากแบบทดสอบหลังเรียน
                        N   แทน  จำนวนผู้เรียน
                        A   แทน  คะแนนเต็มของแบบฝึกหัดหรือแบบทดสอบระหว่างเรียน
                        B   แทน  คะแนนเต็มของแบบทดสอบหลังเรียน
          3. การหาคุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย
               3.1          หาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของแบบทดสอบแต่ละข้อ ใช้สูตรดังนี้ (กองวิจัยทางการศึกษา    กรมวิชาการ, 2545 : 84)
             เมื่อ          แทน ดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อสอบกับจุดประสงค์
                           แทน ผลรวมคะแนนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด
                              แทน จำนวนผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด
             3.2 การหาค่าความยากง่ายของแบบทดสอบ ใช้สูตรดังนี้ (บุญชม ศรีสะอาด, 2545 : 84)
             เมื่อ       P        แทน ระดับความยาก
                        R        แทน จำนวนผู้ตอบถูกทั้งหมด (ซึ่งเท่ากับ )
                        N        แทน จำนวนคนในกลุ่มสูงและกลุ่มต่ำ (ซึ่งเท่ากับ )
                        f         แทน จำนวนคนในกลุ่มสูงและกลุ่มต่ำซึ่งเท่ากัน
           แทน จำนวนนักเรียนที่ตอบถูกในกลุ่มเก่ง
            แทน จำนวนนักเรียนที่ทำถูกในกลุ่มอ่อน
              3.3 การหาค่าอำนาจจำแนกของแบบทดสอบ ใช้สูตรดังนี้ (บุญชม ศรีสะอาด, 2545 : 84)
             เมื่อ              แทน ค่าอำนาจจำแนก
           แทน จำนวนนักเรียนที่ตอบถูกในกลุ่มเก่ง
            แทน จำนวนนักเรียนที่ทำถูกในกลุ่มอ่อน
             3.4 การหาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้สูตร  KR-20 ของคูเดอร์- ริชาร์ดสัน (ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ, 2538 : 197–198)

เมื่อ        แทน ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ
             แทน จำนวนข้อสอบ
      P        แทน สัดส่วนของผู้ทำถูกในข้อหนึ่ง ๆ เท่ากับจำนวน คนที่ทำถูก
                      หารด้วยจำนวนคนสอบทั้งหมด
             แทน สัดส่วนของผู้ทำผิดในข้อหนึ่ง ๆ  หรือ 1-P  
            แทน ค่าความแปรปรวนของแบบทดสอบ
                                  เมื่อ                แทน ค่าความแปรปรวนของแบบทดสอบ
                                 แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมด
                                        แทน ผลรวมของคะแนนแต่ละตัวยกกำลังสอง
                                                      แทน จำนวนข้อมูลทั้งหมด
          4. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้ t–test (Dependent– Samples) โดยใช้สูตร ดังนี้ (พิสณุ ฟองศรี, 2549 : 165)
เมื่อ  t         แทน ค่าสถิติที่ใช้เปรียบเทียบกับค่าวิกฤตเพื่อทราบความมีนัยสำคัญ
      D        แทน ผลต่างระหว่างข้อมูลแต่ละคู่
         แทน ผลรวมทั้งหมดของผลต่างระหว่างข้อมูลแต่ละคู่
      แทน ผลรวมทั้งหมดของผลต่างระหว่างข้อมูลแต่ละคู่ยกกำลังสอง
             แทน จำนวนกลุ่มตัวอย่างหรือจำนวนคู่