วันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

หนังสือเล่มเล็กเด็กหรรษาพาเพลิน
เรื่อง  ออกพรรษาอย่าละความดี
(ทำความดี  ช่วงออกพรรษา  ทำความดีตลอดไป)
   


             นางสิริพร  ทาชาติ
  โรงเรียนบ้านโนนสมบูรณ์
อำเภอประจักษ์ศิลปาคม        จังหวัดอุดรธานี
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2
คำนำ
           หนังสือเล่มเล็ก  เรื่อง  ออกพรรษาอย่าละความดี เป็นหนังสือเล่มหนึ่งในชุด  หนังสือเล่มเล็กเด็กหรรษาพาเพลิน       
            ออกพรรษาอย่าละความดี   ฉบับนี้ได้เขียนเพื่อให้ต่อเนื่องกันกับเรื่องละความชั่วทั้งปวง  ในช่วงเข้าพรรษา  ท่านได้ตั้งใจทำความดีในช่วงเข้าพรรษาแล้ว  ขอให้รักษาความดีต่อไปในช่วงออกพรรษาด้วย  เป็นการทำความดีตลอดไป ไม่ตกต่ำ  ไม่ถอยหลัง  แต่จะมีชีวิตที่เป็นสุขยิ่ง  
                                                                                                                                                        
                                  นางสิริพร  ทาชาติ                                                                                                           
                                  27  ตุลาคม  2556 


วัตถุประสงค์  
          
            หนังสือเล่มเล็กเด็กหรรษาพาเพลิน  ออกพรรษาอย่าละความดี  จัดทำขึ้นโดย  มีวัตถุประสงค์ 
            เพื่อกระตุ้นและปลูกฝังนิสัยรักการอ่านการเขียน 
            เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจใน  เรื่อง   การทำความดี  ช่วงออกพรรษา  ทำความดีตลอดไป  ให้กับเด็กและเยาวชน  ได้รักษาความดีตลอดไป
            เพื่อให้สอดคล้องกับคำขวัญของ  สพป.อุดรธานี เขต 2  ที่ว่า  “พ่อพาพอเพียง  ร้อยเรียงอ่านเขียน  อาเซียนก้าวล้ำ  คุณธรรมนำวิถี  ร้อยยี่สิบเอ็ดปีเมืองอุดร”
         

       ความดีเป็นของพิเศษ  ทำได้ง่ายดายกว่าความชั่วมาก
ไม่ต้องปกปิดในการกระทำ  ไม่ต้องมีความลำบากในการทำ  ตัวอย่างเช่น  การละความชั่วก็เป็นการทำดี  การจะทำความชั่ว  เช่น  ดื่มสุรา  ก็ต้องไปเสาะหามาดื่ม  เสียเงินไปซื้อ  แต่การตั้งใจว่า  จะไม่ดื่มอีกต่อไปเป็นความดี  เรียกว่า  มีศีลแล้ว 
เพียงตั้งใจว่าจะไม่ดื่ม  ไม่ต้องไปลำบากอะไร  ง่ายกว่าการไปหาสุรามาดื่มมากนัก  ทำชั่วยังต้องปกปิด  จะขโมยก็ต้องปกปิด  จะมีชู้มีกิ๊กประพฤติผิดในกามก็ต้องปกปิด  ความดีทำให้สบายใจไม่ต้องปกปิด  ทำไปเรื่อย ๆ  เมื่อคนอื่นทราบ  เขาก็อนุโมทนากับเรา  เขาก็ได้บุญ  เราก็ได้บุญ
 
         แต่การจะทำความดีได้  บางอย่างต้องฝืนใจ  ถ้าเราคุ้นกับการเพลินหรือมีความสุขในการทความชั่วก็ต้องฝืนใจและถ้าเราเผลอบ่อย ๆ  เช่น  ชอบนินทาพูดส่อเสียด  ก็ต้องมีความระวัง  สิ่งที่จะช่วยในการทำความดีได้  คือเราจะต้องมีศรัทธา  คือมีความเชื่อเสียก่อน  เชื่อในความดี  เชื่อในบาปบุญทุนโทษ  เชื่อว่าผู้ใดทำกรรมใดก็ตาม  จะดีหรือชั่วก็ตาม  ต้องได้รับผลกรรมนั้น  ถ้าไม่มีความเชื่อในบาปบุญคุณโทษจะไม่อยากทำความดี  อยากทำตามใจมากกว่า  อาจจะดีบ้างชั่วบ้าง  แต่ก็ตามใจเรานั่นเอง
        คนที่ไม่ทำดีจำนวนมาก  เป็นเพราะไม่มีความเชื่อและศรัทธาที่มากพอ  จะทำหรือเห็นประโยชน์จากการทำความชั่ว  ได้รับประโยชน์จากการทำชั่ว  ก็เห็นประโยชน์เฉพาะหน้า  ไม่อยากจะไปคิดเรื่องบาปบุญคุณโทษอะไร  บางคนคิดว่าบุญล้างบาปได้  บางคนคิดว่าก่อนจะตายทำความดี  ก็ไปสวรรค์ได้  พระบางรูปยังคิดว่า  ปลงอาบัติก็ได้  แต่ความจริงแล้วความชั่วล้างไม่ได้  เป็นพุทธพจน์เลยทีเดียวว่า  “ผู้ใดทำกรรมใดไว้  จะดีหรือชั่วก็ตาม  ย่อมได้รับผลแห่งกรรมอันนั้น”
           เมื่อทำกรรมชั่วก็รับกรรมชั่ว  กรรมยังอยู่  ไม่หนีไปไหน  ก่อนจะตายทำดี  ตั้งใจไว้ดี ๆ  ก็อาจจะไปสวรรค์ได้  หนีกรรมชั่วไม่ได้  กรรมชั่วยังอยู่คอยตามสนอง  เมื่อพ้นวาระการเสวยบุญในสวรรค์ที่แล้วนั้นเอง
          คนที่จะทำดีได้จึงต้องรู้ว่าอะไรคือความดี  และมีความศรัทธาพอที่จะทำ  ไม่มีสองสิ่งนี้  ก็มักทำดีไม่ได้  ทำได้ก็ได้น้อย  ทำได้ไม่นาน  แต่คนส่วนมากโชคดี  มีทั้งสองอย่างนี้อยู่แล้ว  คือมักจะรู้ว่าแล้วว่าอะไรดีชั่ว  แต่บางทีอยากทำชั่วเพราะมันมีความสุข  มีเหยื่อล่อแห่งความสุขให้เราทำ  รู้สึกมีประโยชน์ระยะสั้นเกิดขึ้น  ส่วนศรัทธานั้นจะเกิดได้  ต้องได้รับการปลูกฝัง  หรือมีประสบการณ์ตรง 
        ส่วนมากคนไทยได้รับการปลูกฝังมาแล้วจึงโชคดีจริง ๆ     
ตัวอย่างของการปลูกฝัง  คือ  คนไทยส่วนมากกลัวผี  แม้จะไม่เคยเห็นจริง ๆ  เลยก็ตาม  เมื่อผี  เปรตมี  พระก็มี  เทวดาก็มี  สิ่งศักดิ์สิทธิ์ก็ต้องมี  ไม่เช่นนั้นสิ่งใดทำเป็นผี  เป็นผีอดอยาก  เป็นผีน่ากลัว  สิ่งใดทำให้เป็นเทวดา  สิ่งใดทำให้ศักดิ์สิทธิ์มีฤทธิ์อำนาจ  ก็ด้วยบาปบุญที่ทำนั่นเอง
         ถ้าไม่เชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษตั้งแต่เด็ก  ก็ยากที่จะโน้มน้าวได้เว้นแต่จะได้ประสบการณ์ที่ดีเลิศ  ได้เห็นตัวอย่างที่ดี  ได้ศรัทธาในคนที่ดี  และมีกัลยาณมิตรคือเพื่อนที่ดีคอยชักจูง
         ความดีทำได้ทุกแบบ  อะไรก่อน  อะไรหลังก็ได้  ด้วยกาย  ด้วยวาจา  ด้วยใจ  โดยการทำความดีด้วยกาย 
           การทำความดี  คือ  การเสียสละช่วยเหลือแรงงาน  ด้วยการบริจาคให้ทาน  สงเคราะห์ความช่วยเหลือ  ให้ทานด้วยความเมตตาสงสาร  ให้ทานด้วยความเคารพ  ให้ทานด้วยความอ่อนน้อม  ให้ทานด้วยความศรัทธาว่ามีผลดี  ให้สังฆทาน  ให้วิหารทาน  ให้ธรรมทาน  ทั้งหมดเป็นทานที่มีอานิสงส์มาก
           การทำความดีด้วยวาจา  คือ  ให้ความรู้  ให้ความคิด  ให้ปัญญา  ให้กำลังใจ  พูดแต่สิ่งที่ดีให้กัน  ไม่ว่าร้ายไม่นินทา  ไม่ส่อเสียด  ไม่ด่าทอ  การทำดีด้วยวาจามีผลมาก  มีอานิสงส์มาก
        
        การทำดีด้วยวาจามีผลเพราะเป็นสิ่งที่จดจำได้ตลอดไป  เป็นสิ่งที่พลิกผันชีวิตคนอื่นได้  การแสดงธรรมของพระพุทธองค์เป็นการทำดีด้วยวาจาที่มีค่าที่สุดแก่โลกมนุษย์ไปตลอดกาล
         การทำความดีด้วยใจสำคัญที่สุด  เพราะว่าใจเป็นบ่อเกิดของกายวาจา  ใจเป็นใหญ่  ใจเป็นประธาน  ถ้าใจดี  ทุกอย่างก็ดี  ถ้าใจไม่ดี  กายวาจาก็ไม่ดีตาม  ใจที่ดี  คือ  ใจที่อบรมจนมีสมาธิใจที่อบรมจนมีปัญญา  มีการให้อภัย 
          ใจที่เห็นว่าทุกคนน่าสงสารน่าเมตตา  น่าจะให้ทุกคนมีความสุข  น่าจะมีแบ่งปัน  น่าจะช่วยเหลือและเห็นใจที่ห้ามใจไม่ให้ทำผิด  ทำชั่วต่าง ๆ 
 


           ก็เป็นใจที่ดี  เพราะความชั่วใด ๆ  ก็มักจะเป็นการเบียดเบียนคนอื่น  หรือไม่ก็ตนเองทั้งสิ้นถ้าเราเอาใจเขามาใส่ใจเรา  เราคิดได้ว่าไม่อยากได้สิ่งชั่วร้าย  ไม่อยากให้คนอื่นทำชั่วกับเรา  เรา ก็ไม่ควรทำชั่ว  ถ้าเราคิดได้ว่าเราอยากได้สิ่งดี  อยากให้คนทำดีกับเรา  เราก็ควรทำดีและให้สิ่งดีแก่คนอื่น
          ทุกอย่างไม่เที่ยง  ไม่อาจตั้งอยู่ได้นาน  และไม่มีสิ่งใดเป็นตัวเราของเราอย่างแท้จริง  แม้จะตั้งใจเก็บให้ลูกหลาน  ก็ไม่ใช่ขอเขาอย่างแท้จริงเช่นกัน  บางคนเกิดมาก็ดูดีเลิศหมด  แต่เขาก็มีกรรมที่ซ่อนเร้นเสมอ  รอเวลาส่งผล 
         เมื่อหมดบุญหรือเมื่อกรรมของเขาถ้าเราย้อนดูชีวิตเราเอง  ก็จะเห็นสิ่งนี้เช่นกัน  จะมีแต่ความดี  ความชั่วที่สะสมไว้จึงจะตามตัวเราและคนที่เรารักไปยังภพหน้าได้
        ถ้าเราสะสมความดีก็ได้รับความดี  ถ้าเราสะสมความชั่วก็ได้รับสิ่งชั่ว  ถ้าสะสมทั้งสองอย่างก็ได้ทั้งดีและชั่ว  สุขทุกข์ปนกันไป  ดังนั้นทุกคนที่มองเห็นข้อนี้ได้ก็ควรทำแต่สิ่งที่ดี  และทิ้งความชั่วให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
       การคิดถึงความไม่เที่ยง  เป็นการทำความดีด้วยใจที่ดี  คือ  ทำให้ปล่อยวางความยึดมั่นในตัวเราของเราได้  ให้หมั่นคิดเสมอว่า  ทุกอย่างไม่เที่ยง 
 
        ไม่อาจตั้งอยู่ได้นาน  และไม่มีสิ่งใดเป็นตัวเราของเราอย่างแท้จริง  ให้มองคนแก่  คนเจ็บ  และคนตายให้มาก ๆ
เมื่อใจมีสมาธิมากพอ  อบรมมากพอ  จะมีปัญญาแก่กล้า  จนเห็นความจริงอย่างนี้ลึกซึ้ง  สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เราอยากจะมองข้าม  เราไม่อยากจะเห็น  เราเลยไม่เห็นความจริง  คนเรามักจะเห็นแต่สิ่งที่เขาอยากเห็นเท่านั้น 
            เมื่ออบรมใจมากพอด้วยศีล  สมาธิ  และปัญญา
จะเห็นไตรลักษณ์  คือ  อนิจจัง  ไม่อาจตั้งอยู่ได้นาน  มีความทุกข์  เรียกว่าทุกขัง  และไม่ใช่ตัวเราของเราแท้  ชนิดที่เราจะบังคับควบคุมได้  เรียกว่าอนัตตา  แม้ร่างกายและจิตใจเราก็เป็นอนิจจัง  ทุกขัง  อนัตตา  เมื่อใจคิดได้อย่างลึกซึ้งมากพอ  จะประหารทำลายกิเลส  บรรลุธรรมขั้นสูง  เป็นพระอริยเจ้า  เมื่อสิ้นชีพ ละสังขาร  จะไม่มาเกิด  เรียกว่าพ้นทุกข์ด้วยประการทั้งปวง

 



ภาพประกอบคำบรรยาย
 



            

ดร.ละออตา  พงษ์ฤทัศน์  รอง ผอ. สพป.อุดรธานี  เขต 2
 





                     นักเรียนเข้ค่ายพุทธธรรม




นักเรียนสวดมนต์สุดสัปดาห์  ฝึกสมาธิ  ทุกสัปดาห์

 


นักเรียนไปเยี่ยมชมบ้านตัวอย่าง  เพื่อดูห้าห้องชีวิตเนรมิตนิสัย
 






กิจกรรมทำวัตรเช้า  และตอนเย็นทำวัตรเย็น  ของนักเรียนและครู
 






ครูและนักเรียนทำบุญตักบาตรตอนเช้า
 






นักเรียนและครูจุดประทีป  โคมไฟ  บูชาพระรัตนตรัย
 




                                                        






            ก้มกราบไหว้บูชา    พระศาสดาพุทธศาสนา
  น้อมไหว้  ทุกเวลา             ตั้งใจว่า  จะทำดี
  ขีดเขียน  เพียรสรรค์สร้าง    พระธรรมอย่าง  มิถอยหนี
  มุ่งมั่น  ในหน้าที่                ผู้เรียนนี้  กระทำตาม
 





 บรรณานุกรม

การศาสนา, กรม.  (สิริ เพ็ชรไทย ป.., บรรณาธิการ). (2530).  
                     พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับสังคายนา
                      ในพระบรมราชูปถัมภ์ พุทธศักราช ๒๕๓๐.  
                     กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา.
เฐียรพงษ์ วรรณปก, ราชบัณฑิต.   (2543). คำบรรยาย
                    พระไตรปิฎก. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.
 


การปฏิบัติงานของครู OBEC AWARDS

การพัฒนาสมรรถนะในการปฏิบัติงานในหน้าที่ครู Obec  Awards

การวิเคราะห์  การสังเคราะห์และประเมินหลักสูตร
การวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน
            ๑.  การพัฒนาแผนการเรียนรู้โดยวิธีสอนแบบโครงงาน  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนา  และวัฒนธรรม  สาระที่ ๑  ศาสนา  ศีลธรรม  จริยธรรม  เรื่อง  วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา 
ชั้นประถมศึกษาปีที่  ๕  โรงเรียนบ้านโนนสมบูรณ์
            ๒.  การพัฒนาแผนการเรียนรู้โดยวิธีสอนแบบโครงงาน  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนา  และวัฒนธรรม  สาระที่ ๑  ศาสนา  ศีลธรรม  จริยธรรม  เรื่อง  พุทธประวัติ  ชั้นประถมศึกษาปีที่  ๕  โรงเรียนบ้านโนนสมบูรณ์          
             วิเคราะห์โครงสร้างเนื้อหา  จุดประสงค์และเวลาที่ดำเนินการสอนในการพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนแบบโครงงาน   เรื่อง  วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา  ชั้นประถมศึกษาปีที่  ๕
แผนการจัด
การเรียนรู้
เรื่อง/เนื้อหา
จุดประสงค์การเรียนรู้
เวลา/ชั่วโมง
ความรู้เรื่องการใช้กิจกรรมโครงงาน  เป็น  เครื่องมือแสวงหาความรู้
ปฐมนิเทศและทดสอบก่อนเรียน
๑. สามารถบอกความหมายของโครงงานได้
๒. สามารถบอกประเภทของโครงงานได้
๓. สามารถเลือกทำโครงงานที่ถูกต้องและเหมาะสม
๔. สามารถบอกขั้นตอนของการทำโครงงานได้
๒  ชั่วโมง


ความรู้เรื่องวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาโดยสังเขป
๑. สามารถบอกความหมาย  ความสำคัญของวันสำคัญทาพระพุทธศาสนาได้
๒. รู้และเข้าใจการปฏิบัติพิธีกรรมและวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาอย่างถูกต้อง
๑  ชั่วโมง
การเลือกหัวข้อวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
๑. เลือกหัวข้อที่สนใจจากเรื่องวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาได้อย่างเหมาะสม
๒. สร้าง  Mind  Mapping จากหัวข้อเรื่องที่ตนเองเลือกได้อย่างเหมาะสม
๓.  นำเสนอ  Mind  Mapping  ได้อย่างถูกต้อง
๑  ชั่วโมง
การสร้างเครื่องมือ
๑. เขียนเค้าโครงโครงงานได้ถูกต้อง
๒. นำเสนอเค้าโครงโครงงานได้ถูกต้อง
๑  ชั่วโมง
การสร้างเครื่องมือ
๑. นักเรียนสร้างแบบสัมภาษณ์ได้ถูกต้อง
๒. นักเรียนสร้างแบบสังเกตได้อย่างถูกต้อง
๓. นักเรียนสร้างแบบบันทึกการอ่านได้อย่างถูกต้อง
๔. นักเรียนนำเสนอเครื่องมือของตนเองได้อย่างเหมาะสม
๒  ชั่วโมง
การเก็บรวบรวมข้อมูล
๑. นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันเก็บรวบรวมข้อมูลตามเค้าโครงที่เสนอไว้ถูกต้อง
๒. นักเรียนบันทึกข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ได้อย่างถูกต้อง
๕  ชั่วโมง
การเรียบเรียงข้อมูลและเขียนรายงานโครงงาน
๑. นักเรียนเรียบเรียงข้อมูลได้ถูกต้อง
๒. นักเรียนเขียนรายงานได้อย่างถูกต้อง
๓. นักเรียนเข้าเล่มรายงานได้อย่างถูกต้อง
๒  ชั่วโมง
การนำเสนอผลงานและประเมินโครงงาน
๑. นักเรียนนำเสนอโครงงานได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
๒. นักเรียนประเมินโครงงานของตนได้อย่างเหมาะสม
๓. นักเรียนประเมินโครงงานของกลุ่มชั้นได้อย่างเหมาะสม
๔. นักเรียนคิดคะแนนการประเมินโครงงานได้อย่างถูกต้อง
๓  ชั่วโมง
การสรุปโครงงาน
๑. นักเรียนแต่ละกลุ่มทำใบงานได้อย่างถูกต้อง
๒. นักเรียนตอบคำถามจากเนื้อหาในใบความรู้เรียนต่าง ๆ  ได้อย่างถูกต้อง

๒  ชั่วโมง
        
 


วิเคราะห์โครงสร้างเนื้อหา  จุดประสงค์และเวลาที่ดำเนินการสอนในการพัฒนากิจกรรมการเรียน   การสอนแบบโครงงาน   เรื่อง  พุทธประวัติ  ชั้นประถมศึกษาปีที่  ๕
แผนการจัด
การเรียนรู้
เรื่อง/เนื้อหา
จุดประสงค์การเรียนรู้
เวลา/ชั่วโมง
ความรู้เรื่องการใช้กิจกรรมโครงงาน  เป็น  เครื่องมือแสวงหาความรู้
ปฐมนิเทศและทดสอบก่อนเรียน
๑. สามารถบอกความหมายของโครงงานได้
๒. สามารถบอกประเภทของโครงงานได้
๓. สามารถเลือกทำโครงงานที่ถูกต้องและเหมาะสม
๔. สามารถบอกขั้นตอนของการทำโครงงานได้
๒  ชั่วโมง
ความรู้เรื่องประวัติ
พระพุทธเจ้าโดยสังเขป
๑. มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องพุทธประวัติ
๒. สามารถอธิบายเรื่องพุทธประวัติได้
๓  สามารถนำความรู้ไปปรับประยุกต์ใช้
ในชีวิตประจำวันได้
๑  ชั่วโมง
การเลือกหัวข้อวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
๑. เลือกหัวข้อที่สนใจจากเรื่องพุทธประวัติ
ได้อย่างเหมาะสม
๒. สร้าง  Mind  Mapping จากหัวข้อเรื่องที่ตนเองเลือกได้อย่างเหมาะสม
๓.  นำเสนอ  Mind  Mapping  ได้อย่างถูกต้อง
๑  ชั่วโมง
การสร้างเครื่องมือ
๑. เขียนเค้าโครงโครงงานได้ถูกต้อง
๒. นำเสนอเค้าโครงโครงงานได้ถูกต้อง
๑  ชั่วโมง
การสร้างเครื่องมือ
๑. นักเรียนสร้างแบบสัมภาษณ์ได้ถูกต้อง
๒. นักเรียนสร้างแบบสังเกตได้อย่างถูกต้อง
๓. นักเรียนสร้างแบบบันทึกการอ่านได้อย่างถูกต้อง
๔. นักเรียนนำเสนอเครื่องมือของตนเองได้อย่างเหมาะสม
๒  ชั่วโมง



แผนการจัด
การเรียนรู้
เรื่อง/เนื้อหา
จุดประสงค์การเรียนรู้
เวลา/ชั่วโมง




การเก็บรวบรวมข้อมูล
๑. นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันเก็บรวบรวมข้อมูลตามเค้าโครงที่เสนอไว้ถูกต้อง
๒. นักเรียนบันทึกข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ได้อย่างถูกต้อง
๕  ชั่วโมง
การเรียบเรียงข้อมูลและเขียนรายงานโครงงาน
๑. นักเรียนเรียบเรียงข้อมูลได้ถูกต้อง
๒. นักเรียนเขียนรายงานได้อย่างถูกต้อง
๓. นักเรียนเข้าเล่มรายงานได้อย่างถูกต้อง
๒  ชั่วโมง
การนำเสนอผลงานและประเมินโครงงาน
๑. นักเรียนนำเสนอโครงงานได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
๒. นักเรียนประเมินโครงงานของตนได้อย่างเหมาะสม
๓. นักเรียนประเมินโครงงานของกลุ่มชั้นได้อย่างเหมาะสม
๔. นักเรียนคิดคะแนนการประเมินโครงงานได้อย่างถูกต้อง
๓  ชั่วโมง
การสรุปโครงงาน
๑. นักเรียนแต่ละกลุ่มทำใบงานจากใบงานได้อย่างถูกต้อง
๒. นักเรียนตอบคำถามจากเนื้อหาในใบความรู้ต่าง ๆ  ได้อย่างถูกต้อง

๒  ชั่วโมง

     ขั้นตอนวิธีสร้างเครื่องมือในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ศึกษาเอกสารความรู้ทฤษฎี  หลักการและแนวคิดในการจัดการเรียนรู้  สาระที่ ๑ ศาสนา 
ศีลธรรม  จริยธรรม  หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๕๖  สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนา  และวัฒนธรรม  คู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนพระพุทธศาสนา  หลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐาน  พ.ศ.  ๒๕๕๖
                 ๑)  พัฒนาแนวการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  สาระที่ ๑  ศาสนา  ศีลธรรม  จริยธรรม  โดยใช้โครงงาน
๒)  จัดทำกำหนดการสอน
๓)  เสนอต่ออาจารย์ที่ปรึกษา
๔)  สร้างแผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 
๕)  เสนอต่ออาจารย์ที่ปรึกษา  เสนอต่อผู้เชี่ยวชาญ
๖)  ตรวจสอบแก้ไขให้ข้อคิดเห็น
๗)  แก้ไขปรับปรุงตามข้อคิดเห็น  จัดทำแผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อนำไปใช้

กำหนดการและขั้นตอน  การติดตาม  ตรวจสอบ ประเมินผลโครงงาน
       การติดตาม          ตรวจสอบ ประเมินผลโครงงาน  การติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลโครงงาน ดังนี้
       กำหนดการ และขั้นตอน 
              ภาคเรียนที่ ๑  ระหว่างวันที่  เดือน  มิถุนายน  พ.ศ.  ๒๕๕๖  ถึง มีนาคม   ๒๕๕๗  มีขั้นตอน
                      ครูติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลโครงงาน
                 ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการติดตาม  ตรวจสอบประเมินผลโครงงาน
                 ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล  ตามขอบข่าย  (โดยศึกษาเอกสารแนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน  โดยการตรวจสอบเอกสาร หลักฐานร่องรอยการปฏิบัติ  สังเกต สัมภาษณ์ และบันทึกลงในแบบประเมินผล
   สรุปผลการประเมินรายบุคคล  แจ้งผลการประเมินในภาพรวมด้วยวาจา  และรับฟังข้อเสนอแนะเพิ่มเติม จากคณะกรรมการ
                 ส่งเอกสารตามข้อ ๓ ให้ผู้อำนวยการโรงเรียน  ติดตาม  ตรวจสอบ  ประเมินผล และนิเทศการสอนแบบโครงงาน                                       

ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
๑.  การมีวินัย
          ๑.๑  การมีวินัยในตนเอง  ยอมรับและถือปฏิบัติตามกฎ  กติกา  มารยาท  ขนบธรรมเนียม 
และแบบแผนอันดีงามของสังคม
                 ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติตนเป็นผู้มีระเบียบวินัยในตนเอง  ยอมรับและถือปฏิบัติตามกฎ  กติกา  มารยาท  ขนบธรรมเนียม  แบบแผนอันดีงามของสังคม  โดยมีพฤติกรรมและการปฏิบัติตน  ดังนี้
              ๑. ปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาและปฏิบัติตามกติกาที่ทางโรงเรียนตั้งไว้อย่าง
สม่ำเสมอ  และปฏิบัติหน้าที่ราชการในเรื่องการสอน  งานพิเศษที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มความสามารถ
              ๒. มีความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่  รับผิดชอบต่อครอบครัว  รับผิดชอบต่อชมรม 
และรับผิดชอบต่อหน้าที่ของความเป็นครูภูมิปัญญาไทย
              ๓. ไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่น  ไม่เบียดเบียนใคร  มีจิตใจเมตตากรุณาต่อเพื่อนร่วมโลก
              ๔. มีความรู้ความเข้าใจและปฏิบัติตนเป็นผู้มีวินัย  และรักษาวินัยของทางราชการอย่างเคร่งครัด
              ๕. ปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตามกฎระเบียบ  แบบแผนของทางราชการ  และยึดกฎ  กติกา  มารยาท  ขนบธรรมเนียมและแบบแผนอันดีงามของสังคม 
              ๖.  เข้ารับการอบรมและพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ  ซึ่งได้นำเอาความรู้ที่ได้มาถ่ายทอดและเผยแพร่ให้ข้าราชการและผู้อื่นได้เรียนรู้ด้วย  นำความรู้ที่ได้ไปปรับปรุงพัฒนางานตนเองและภารกิจของหน่วยงานด้วย
               ๗.  ข้าพเจ้าตั้งสัจจะถือศีลห้าให้มั่นคงตลอดชีวิต 
         ๑.๒  การรักษาและเสริมสร้างวินัยในตำแหน่งหน้าที่ราชการ  การปฏิบัติตามกฎหมาย  ระเบียบแบบแผนของทางราชการ
               ๑.  ประพฤติปฏิบัติตนตามกฎหมาย  ระเบียบแบบแผนของทางราชการยึดมั่นในคุณธรรม  จริยธรรม  อย่างเคร่งครัด  เช่น  การแต่งกาย  การปฏิบัติราชการ  การลา  เป็นต้น
               ๒.  ปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความซื่อสัตย์  สุจริต  เสมอภาค  จริงจังจริงใจ  และเที่ยงธรรมทั้งกับเพื่อนร่วมงานและบุคคลอื่น
               ๓.  มีความวิริยะอุตสาหะ  ขยันหมั่นเพียรในการทำงาน  ดูแลเอาใจใส่รักษาผลประโยชน์ของทางราชการ  และปฏิบัติตนตามมาตรฐานและจรรยาบรรณในวิชาชีพอย่างเคร่งครัด
               ๔.  ปฏิบัติหน้าที่การตรวจเวร-ยาม  รักษาความปลอดภัยของโรงเรียน  ซึ่งเป็นการเสริมสร้างวินัยและปฏิบัติตามกฎระเบียบของโรงเรียน
               ๕.  อบรมนักเรียนในเรื่องการแต่งกาย  กิริยามารยาท  พร้อมกระทำตนเป็นแบบอย่างที่ดี  ให้นักเรียนได้เรียนรู้จริง  เพื่อการได้นำไปใช้และปฏิบัติจริงในชีวิต  ในสังคม  ได้อย่างมีความสุข
   ๑.๓  การตรงต่อเวลา  การอุทิศเวลาให้แก่ทางราชการและผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง
          ข้าพเจ้าได้ประพฤติปฏิบัติตนเป็นผู้ที่ตรงต่อเวลาและการอุทิศเวลาให้แก่ทางราชการและผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง  โดยมีพฤติกรรมการปฏิบัติตนดังนี้
          ๑.  มาปฏิบัติหน้าที่ราชการตามเวลาของทางราชการกำหนดและไม่เคยมาสาย
๒.  ปฏิบัติหน้าที่การสอนตรงต่อเวลา  สอนซ่อมเสริมนอกเวลาราชการ 
๓.  ทำงานและส่งงานตามที่ได้รับมอบหมายทันเวลาที่กำหนด  แม้ต้องทำนอกเวลาราชการก็ตาม
๔.  เข้าร่วมประชุมและนัดหมายต่าง ๆ  ตามเวลาที่กำหนด
๕.  จัดกิจกรรมสอนซ่อมเสริมให้กับนักเรียนหลังเวลาเลิกเรียนและวันหยุดราชการ
๖.  อุทิศเวลามาปฏิบัติหน้าที่ในวันหยุดราชการ
๗.  สละเวลาช่วยเหลือเพื่อนร่วมงานในการทำงานจนสำเร็จ
๘.  ทุ่มเทกำลังกายกำลังใจและกำลังทรัพย์ในการทำงานให้เสร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
          ๙.  อุทิศเวลา  เข้าร่วมกิจกรรมกับ
    ๑.๔  ความซื่อสัตย์  สุจริตในการปฏิบัติหน้าที่  การรักษาผลประโยชน์ของทางราชการ  และไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน
          ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต  รักษาผลประโยชน์ของทางราชการ  และไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน  โดยมีพฤติกรรมและการปฏิบัติตนดังนี้
           ๑.  ไม่คดโกง  หลอกลวงผู้อื่น  ไม่เบียดเบียนผู้อื่น
           ๒.  ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มความสามารถเพื่อมิให้เกิดความเสียหายแก่โรงเรียน
           ๓.  ทำงานด้วยความเต็มใจไม่หวังผลประโยชน์ตอบแทนใด ๆ  จากผู้อื่น
           ๔.  ไม่แสวงหาผลประโยชน์อันเป็นอามิสสินจ้างจากศิษย์  ในการปฏิบัติหน้าที่ปกติ  และไม่ใช้ศิษย์กระทำการใด ๆ  อันเป็นการหาประโยชน์ให้แก่ตนโดยมิชอบ
           ๕.  ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ  ด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจซื่อสัตย์สุจริต  รักษาผลประโยชน์ของทางราชการ  และไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนยึดมั่นในศาสนาที่ตนนับถือไม่ลบหลู่ดูหมิ่นศาสนาอื่น
           ๖.  ตั้งใจสั่งสอนศิษย์และปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เกิดผลดีด้วยความเอาใจใส่  อุทิศเวลาของตนให้แก่ศิษย์  ไม่ทอดทิ้งงาน
           ๗.  รักษาชื่อเสียงของตนเอง  ถือศีลห้าตลอดชีวิต
           ๘.  ถือปฏิบัติตามระเบียบและแบบแผนธรรมเนียมอันดีงามของสถานศึกษา  และปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา  โดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบแบบแผนของสถานศึกษา
           ๙.  ถ่ายทอดวิชาความรู้โดยไม่บิดเบียนและปิดบังอำพราง  ปรับประยุกต์วิชาให้เป็นประโยชน์ต่อผู้เรียน
           ๑๐.  กระทำผลงานโดยการศึกษาค้นคว้าและฝึกฝนตนเองด้วยความเพียร  ให้เกียรติแก่ผู้อื่นทางด้านวิชาการ  โดยไม่นำผลงานของผู้ใดมาแอบอ้างเป็นผลงานของตน
           ๑๑.  มีความซื่อสัตย์สุจริต  มีพรหมวิหารธรรม  มีความจริงจังกับงานการสอน
   ๑.๕  การรักษาความสามัคคี  มีน้ำใจ  เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อเพื่อนร่วมงาน  องค์กร  และชุมชน
           ข้าพเจ้าได้ทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมงาน  ผู้อื่น  และได้ช่วยเหลือเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เพื่อนร่วมงาน
และบุคคลอื่น  ชุมชน  องค์กรต่าง ๆ  โดยมีพฤติกรรมและการปฏิบัติตนดังนี้
            ๑.  สุภาพเรียบร้อยประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์  รักษาความลับของศิษย์
            ๒.  รักษาความสามัคคีระหว่างครู  และช่วยเหลือด้านหน้าที่การงานกับครูทุกคน   
            ๓.  มีน้ำใจต่อเพื่อนร่วมงาน  องค์กร  และชุมชน
            ๔.  ให้คำแนะนำช่วยเหลือกับเพื่อนร่วมงานที่ประสบปัญหาในการทำงาน
            ๕.  เข้าร่วมกิจกรรมและทำงานกับเพื่อนร่วมงานในโครงการต่าง ๆ  ที่ทางโรงเรียนจัดขึ้น  เช่น  โครงการวันไหว้ครู  โครงการวันแม่แห่งชาติ  กิจกรรมอบรมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน  เป็นต้น
            ๖.  จัดทำโครงการพัฒนาครูในการผลิตสื่อการเรียนการสอน  CAI  เพื่อให้ความรู้กับบุคลากรในโรงเรียนและโรงเรียนอื่น ๆ  ในการผลิตสื่อ  CAI  และความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
            ๗.  เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสินการแข่งขันทักษะวิชาการ  ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี  เขต  ๒
๒.  การประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี
       ๒.๑  ความอุตสาหะ  ขยัน  อดทน  มุ่งมั่นและรับผิดชอบต่อผลสัมฤทธิ์ของงาน  โดยยึดหลัก  ประหยัด  คุ้มค่า  มีประสิทธิภาพ    
       ๒.๒  การยึดมั่นในคุณธรรม  จริยธรรม  มีความศรัทธาและปฏิบัติตนตามหลักศาสนา
             ข้าพเจ้าเป็นผู้ที่ตั้งตนชอบ  ยึดมั่นในคุณธรรม  จริยธรรม  มีความศรัทธาและปฏิบัติตนตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา  โดยมีพฤติกรรมและการปฏิบัติตน  ดังนี้
              ๑.  ใช้หลักคำสอนพระพุทธศาสนาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตและปฏิบัติ  หน้าที่ 
              ๒.    มีความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ  กตัญญู  ต่อคุณพระพุทธเจ้า  คุณพระธรรม  คุณพระสงฆ์  คุณบิดามารดา  คุณครูบาอาจารย์ 
              ๓.  เข้าร่วมกิจกรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา  จัดทำหนังสือเล่มเล็กเผยแพร่แก่บุคคลทั่วไป                
              ๔.  เข้าร่วมกิจกรรมตามประเพณีในชุมชน  เป็นกรรมการ/เลขานุการ  ของงานบุญประเพณี               
              ๕.  เป็นหัวหน้าโครงการวิถีพุทธ 
              ๖.  เข้าร่วมกิจกรรมการรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุในวันสงกรานต์
              ๗.  นำนักเรียนไปทำบุญทอดผ้าป่าตามวัดต่าง ๆ  ในวันหยุดราชการ
         ๒.๓  การยึดมั่นในหลักนิติธรรม  ยืนหยัดกรทำในสิ่งที่ถูกต้อง  เป็นธรรมและชอบด้วยกฎหมาย
         ๒.๔  การยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 
                 
๓.  การดำรงชีวิตอย่างพอเหมาะ
         ๓.๑  การดำรงชีวิตตามแนวทางหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
               ข้าพเจ้ามีส่วนร่วมในการปฏิบัติตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงโดยร่วมปฏิบัติในสิ่งง่าย  ดังนี้
                     ๑.  ยึดหลักประหยัด  ตัดทอนค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นในทุกด้าน  ลด  ละ  ความฟุ่มเฟือย 
                     ๒.  ประกอบอาชีพด้วยความถูกต้อง  สุจริต  ไม่ชอบเอาเปรียบผู้อื่น  ปิดทองหลังพระ
                     ๓.  กระทำตนให้เป็นคนมีประโยชน์  มีน้ำใจ  เสียสละความสุขส่วนตน
                     ๔.  สร้างฐานะตนเองด้วยความขยันหมั่นเพียร  อดทน  มีความซื่อสัตย์  เป็นแบบอย่างที่ดี
                     ๕.  มีความพอประมาณในการบริโภค  รู้จักจ่ายทรัพย์สินเงินทองซื้อหามาเท่าที่จำเป็น
                     ๖.  จัดทำหนังสือเกี่ยวกับความรู้เรื่องหัวใจเศรษฐี 
                     ๗.  ปรับปรุงตนเองให้มีจิตใจที่ดีงาม  บริสุทธิ์  เลือกคบคนดีเป็นมิตร                       ๘. 
         ๓.๒  การละเว้นอบายมุขและสิ่งเสพติด
                     ข้าพเจ้าได้ประพฤติปฏิบัติตนเป็นผู้ละเว้นจากอบายมุข  สิ่งเสพติด  และส่งเสริมผู้อื่นให้ละเว้นจากอบายมุข   โดยมีพฤติกรรมและการปฏิบัติตนดังนี้
                     ๑.  ไม่ดื่มสุราและสิ่งของมึนเมา
                     ๒.  ไม่เล่นการพนันและไม่เที่ยวกลางคืน
                     ๓.  ไม่เสพสารเสพติด
                     ๔.  ร่วมกิจกรรมต่อต้านยาเสพติดให้กับนักเรียน  และชุมชน
                     ๕.  จัดตั้งบ้านพักของตนเองเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านปรัชญา  ศาสนา  และประเพณี

กลยุทธ์การวางแผนพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
การวิเคราะห์การสังเคราะห์บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบร่วมกับผู้เกี่ยวข้องในการจัดการเรียนรู้
       ขั้นตอนในการดำเนินพัฒนากับนักเรียน
                  ข้าพเจ้าได้วางแผนงานที่จะพัฒนานักเรียน  ดังนี้
๑.      การจัดกลุ่มนักเรียน  ศึกษาคะแนนสาระสังคมศึกษา  ศาสนา  และวัฒนธรรม  จากชั้นที่
ผ่านมา  แล้วเรียงอันดับจากคนที่มีคะแนนสูงสุด  กลาง  ต่ำ คละกันทุกกลุ่ม  ในแต่ละกลุ่มมีทั้งชายและหญิงคละกัน  แต่ละกลุ่มมีสมาชิก  ๕  คน  นักเรียนมีจำนวน  ๒๑  คน  ได้  ๔  กลุ่ม  เหลือนักเรียน  ๒  คน  จัดให้เข้ากลุ่มกับเพื่อนตามที่เห็นสมควร  โดยทำตารางกรจัดกลุ่มนักเรียนไว้ 
ระดับความสามารถ
กลุ่มที่ ๑ 
กลุ่มที่ ๒
กลุ่มที่  ๓
กลุ่มที่  ๔
เก่ง
ธัญญารัตน์
เนาวรัตน์
ผกายพร
วาสนา
ปลานกลาง
หฤทัย
ดรุณี
พงษ์พันธ์
อารยา
ปลานกลาง
สุดารัตน์
กัญญารัตน์
ศิรินภา
พรนภา
ปลานกลาง
วุฒิชัย
อมรรัตน์
สิริมา
ชิตนุพงษ์
อ่อน
รัศมี
เกียรติศักดิ์
จุฑารัตน์
เพชร
อ่อน

สิทธิผล


                  ๒.  ทดสอบก่อนเรียน  เพื่อวัดความรู้พื้นฐานของนักเรียนด้วยแบบทดสอบ  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนที่จะดำเนินการสอน  โดยทดสอบนอกเวลา
                  ๓.  ดำเนินการสอน  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนา  และวัฒนธรรม  เรื่อง
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา  และเรื่องพุทธประวัติ  (การพัฒนาแผนการเรียนรู้โดยวิธีสอนแบบโครงงาน  นี้จะจัดทำรายงานเป็น  ๒  เล่ม)  ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕  ด้วยแผนการสอนโดยวิธีแบบโครงงาน  จำนวน  ๙  แผน  ใช้แบบทดสอบวัดตามแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ ๑,๒  และแบบประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรมระหว่างเรียนตามแผนที่  ๓,๙  หลังจากจัดกิจกรรมการเรียนรู้แต่ละแผน
                  ๔.  ทดสอบหลังเรียน  โดยนำแบบทดสอบเดิมมาทดสอบเพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  ของนักเรียนเป็นการประเมินว่า  การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แผนการเรียนรู้จะทำให้นักเรียนเกิดความรู้  ตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่เพื่อจะนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของแผนการเรียนรู้การทดสอบหลังเรียนจะทดสอบเมื่อนักเรียนได้เรียนบทสุดท้ายเสร็จแล้ว
                  ๕.  การสอนแบบโครงงานเพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาแหล่งเรียนรู้นอกโรงเรียนได้อย่างเต็มที่  ครูผู้สอนจึงได้จัดชั่วโมงเรียนในวันเสาร์  วันอาทิตย์  พานักเรียนไปแหล่งเรียนรู้  โดยครูเสียสละเวลา  เสียสละทรัพย์ค่าเดินทางค่าอาหาร  เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้แบบโครงงานอย่างสนุกสนานและได้ปฏิบัติจริง
                  ๖.  สอบถามด้วยแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแผนการเรียนรู้โดยวิธีสอนแบบโครงงานกลุ่มสาระสังคมศึกษา  ศาสนา  และวัฒนธรรม  เรื่อง  วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา 
และเรื่อง  พุทธประวัติ  ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕  หลังจากเสร็จสิ้นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ครบทุกแผนการเรียนรู้แล้ว   

   การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
              ประเด็นในการพัฒนา
              พัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบโครงงาน  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนา  และวัฒนธรรม สาระที่  ๑  ศาสนา  ศีลธรรม  จริยธรรม เรื่อง  วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา  และเรื่องพุทธประวัติ  ชั้นประถมศึกษาปีที่  ๕  ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์  ๘๐/๘๐
              พัฒนาค่าดัชนีประสิทธิผล  ของกิจกรรมการเรียนการสอนแบบโครงงาน  กลุ่มสาระสังคมศึกษา  ศาสนา  และวัฒนธรรม  สาระที่  ๑  ศาสนา  ศีลธรรม  จริยธรรม เรื่องวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา  และเรื่องพุทธประวัติ  ชั้นประถมศึกษาปีที่  ๕
              เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบโครงงาน  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนา  และวัฒนธรรม  สาระที่  ๑  ศาสนา  ศีลธรรม  จริยธรรม  เรื่อง  วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา  และเรื่องพุทธประวัติ  ชั้นประถมศึกษาปีที่  ๕                   
      
    เป้าหมายในการพัฒนา (ระบุเป้าหมายเชิงปริมาณและหรือเป้าหมายเชิงคุณภาพและระยะเวลาดำเนินการ)
                เป้าหมายเชิงปริมาณ
๑)  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕  โรงเรียนบ้านโนนสมบูรณ์  จำนวน  ๒๑  คน
                   ๒)  มีโครงงานจากการสืบค้นของนักเรียนในชั้นเรียน
                   ๓)  ได้โครงงานจากการสืบค้นของนักเรียนที่มีประสิทธิภาพ  เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่นักเรียนมีความต้องการ
          เป้าหมายเชิงคุณภาพ 
๑)  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕  โรงเรียนบ้านโนนสมบูรณ์  จำนวน  ๒๑  คน
ได้พัฒนาประสบการณ์โดยตรง  ในสาระที่ ๑  ศาสนา  ศีลธรรม  จริยธรรม  เรื่องวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา และ  เรื่อง  พุทธประวัติ
                   ๒)  ได้ข้อสนเทศสำหรับครูผู้สอน  และผู้สนใจนำไปปรับประยุกต์ใช้เป็นแนวทางสำหรับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยวิธีสอนแบบโครงงาน  ในกลุ่มสาระอื่น ๆ  ให้เหมาะสมกับสภาพความต้องการมากยิ่งขึ้น
                   ๓)  นักเรียนได้ตระหนักคุณค่าขององค์ความรู้จากการแสวงหาความรู้  และสัมผัสเชิงลึก
แทนการบอกเล่าผ่านคำพูดหรือตัวอักษร
                   ๔)  ได้ยกระดับความก้าวหน้าของผู้เรียน  เพราะกระบวนการเรียนรู้จะพัฒนาวัฒนธรรมนักคิดให้กับผู้เรียน
                   ๕)  ทำให้นักเรียนเกิดทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง  อย่างเป็นระบบ
          ระยะเวลาการดำเนินการ
 ๑๖   พฤษภาคม   ๒๕๕๖  -  ๓๑    มีนาคม   ๒๕๕๗

     วิธีการพัฒนา 
               รายงานการพัฒนากิจกรรมการเรียนการแบบโครงงาน  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนา  และวัฒนธรรม สาระที่  ๑  ศาสนา  ศีลธรรม  จริยธรรม  เรื่อง  วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา และพุทธประวัติ ชั้นประถมศึกษาปีที่  ๕  โรงเรียนบ้านโนนสมบูรณ์  มีขั้นตอนการดำเนินการที่สำคัญโดยสรุปดังนี้
                กำหนดวัตถุประสงค์ของการพัฒนาและการศึกษา
                สร้างและพัฒนาเครื่องมือที่สำคัญแก่
                     ๑)  สื่อประเภทหนังสือ  เอกสาร  วิธีการ กลุ่มสาระสังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม  สาระที่  ๑  ศาสนา  ศีลธรรม  จริยธรรม  เรื่อง วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา และเรื่องพุทธประวัติ ชั้นประถมศึกษาปีที่  ๕  เป็นหนังสือ  เอกสาร  วิธีการ  ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับโครงงานของวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา และเกี่ยวกับประวัติของพระพุทธเจ้า  รูปร่างเป็นหนังสือที่สร้างจากมือของครูและนักเรียน  มีลักษณะเป็นเล่ม  จำนวน  ๙  เล่ม
                     ๒)  ศึกษาทฤษฎี  หลักการแนวคิด  ในการจัดการเรียนรู้  สาระสังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม  โดยวิธีการสอนแบบโครงงาน  สาระที่ ๑  ศาสนา  ศีลธรรม  จริยธรรม  จากเอกสาร  หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  ๒๕๕๑  สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนา  และวัฒนธรรม  และคู่มือการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนา  และวัฒนธรรม  หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของกรมวิชาการ  กระทรวงศึกษาธิการ  และรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสาระสังคมศึกษา  ศาสนา 
และวัฒนธรรม  โดยวิธีสอนแบบโครงงาน 
                    ๓)  กำหนดสาระการเรียนรู้และกิจกรรมเป็น  ๙  แผน
                    ๔)  เขียนแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามสาระที่กำหนด  ซึ่งผู้ศึกษาค้นคว้าได้แบ่งเนื้อหาออกเป็น  ๙  แผน  รวม  ๑๙  ชั่วโมง  ทั้งนี้ไม่รวมเวลาทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนหลังเรียน
แผนการจัดการเรียนรู้  โดยวิธีแบบโครงงานแบบโครงงาน  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนา       และวัฒนธรรม  เรื่อง  วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา  ชั้นประถมศึกษาปีที่  ๕   
 แผนการจัดการเรียนรู้  โดยวิธีแบบโครงงานแบบโครงงาน เรื่อง  วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา 
ชั้นประถมศึกษาปีที่  ๕    
แผนการจัดการเรียนรู้
เรื่อง
จำนวนชั่วโมง









การปฐมนิเทศและทดสอบก่อนเรียน
ขั้นให้ความรู้เรื่องการใช้กิจกรรมโครงงาน  เป็นเครื่องมือแสวงหาความรู้
ขั้นให้ความรู้เรื่องพระพุทธศาสนาโดยสังเขป
ขั้นเลือกหัวข้อสำคัญทางพระพุทธศาสนา
ขั้นเขียนเค้าโครง  โครงงานตามหัวข้อสำคัญทางพระพุทธศาสนา
ขั้นสร้างเครื่องมือ
ขั้นรวบรวมข้อมูล
ขั้นเรียบเรียงข้อมูลและเขียนงานโครงงาน
ขั้นนำเสนอโครงงาน  ประเมินโครงงาน
ขั้นสรุปโครงงาน
ทดสอบหลังเรียน



รวม
๑๙
        
        แผนการจัดการเรียนรู้  โดยวิธีแบบโครงงานแบบโครงงาน เรื่อง  พุทธประวัติ  ชั้นประถมศึกษาปีที่  ๕    
แผนการจัดการเรียนรู้
เรื่อง
จำนวนชั่วโมง









การปฐมนิเทศและทดสอบก่อนเรียน
ขั้นให้ความรู้เรื่องการใช้กิจกรรมโครงงาน  เป็นเครื่องมือแสวงหาความรู้
ขั้นให้ความรู้เรื่องพระพุทธศาสนาโดยสังเขป
ขั้นเลือกหัวข้อสำคัญทางพระพุทธศาสนา
ขั้นเขียนเค้าโครง  โครงงานตามหัวข้อสำคัญทางพระพุทธศาสนา
ขั้นสร้างเครื่องมือ
ขั้นรวบรวมข้อมูล
ขั้นเรียบเรียงข้อมูลและเขียนงานโครงงาน
ขั้นนำเสนอโครงงาน  ประเมินโครงงาน
ขั้นสรุปโครงงาน
ทดสอบหลังเรียน



รวม
๑๙