วันศุกร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2557
วันพฤหัสบดีที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2557
วันอังคารที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2557
วันจันทร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2557
บ้านพักคนชราที่วัดป่าหนองแซง
ชื่อเรื่อง การดูแลผู้สูงอายุวิถีพุทธ :
กรณีศึกษาสถานสงเคราะห์ผู้สูงอายุ
วัดป่าหนองแซง จังหวัดอุดรธานี
ผู้วิจัย นางสิริพร ทาชาติ
กรรมการควบคุม พระครูปลัด
ดร.ไพศาล
อาภสฺสโร และ อาจารย์ ดร.บุญสม ยอดมาลี
ปริญญา ศศ.ม. สาขาวิชา วัฒนธรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่พิมพ์ 2550
บทคัดย่อ
การดูแลรักษาสุขภาพผู้สูงอายุเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง และมีหลายวิธีการ การดูแลผู้สูงอายุ
วีถีพุทธเป็นวิธีการหนึ่งซึ่งมีประสิทธิผลและน่าสนใจ การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาความเป็นมาของการดูแลและรักษาสุขภาพผู้สูงอายุวีถีพุทธ เพื่อศึกษาองค์ความรู้ในการดูแลผู้สูงอายุแบบวิถีพุทธ และเพื่อศึกษาการดูแลผู้สูงอายุแบบวิถีพุทธ และการปฏิบัติตนของ
ผู้สูงอายุ ที่วัดป่าหนองแซง ตำบลหนองบัวบาน อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี กลุ่มผู้สูงอายุในวัด มีอายุอยู่ระหว่าง 50
- 81 ปี
การศึกษาของผู้สูงอายุนั้นมีที่ไม่ได้เรียนหนังสือ ที่เรียนหนังสือชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 7
ชั้นอนุปริญญา
และปริญญาตรี หลายคนมีปัญหา
ทางสุขภาพที่แพทย์โรงพยาบาลในจังหวัดบอกให้ญาติทำใจ หลายคนมีปัญหาทางด้านจิตใจ
หลายคนมีปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ และหลายคนมีปัญหาทางชราภาพ ผู้สูงอายุทุกคนล้วนได้รับการดูแลเอาใจใส่ จากพระอธิการเสน ปัญญาธโร
เป็นอย่างดียิ่ง
ทำให้ปัญหาที่มีอยู่นั้นบรรเทาเบาบางลงไปเรื่อย ๆ มีอายุยืนยาวเลยวัน เดือน
ปี ที่แพทย์ได้วินิจฉัยไว้ และผู้สูงอายุทุกคนมีพัฒนาการ
ทางด้านจิตใจดีขึ้นมาก มีความสุข
มีความอิสระทางความคิด
ซึ่งผู้วิจัยแปลจากการเฝ้าสังเกตดู
อย่างใกล้ชิดตลอดเวลา
6 เดือน ระหว่างเดือนเมษายน ถึงเดือนตุลาคม 2549
ได้ใช้แบบสอบถาม
ที่เตรียมไว้ และจดบันทึกโดยละเอียดจากการบอกเล่า การอธิบาย
และการตอบแบบสอบถาม
ของผู้สูงอายุ
ผลการศึกษาพบว่าวัดป่าหนองแซง เป็นสถานสงเคราะห์ผู้สูงอายุ ที่ทำให้ผู้สูงอายุที่เข้าไปอยู่อาศัย มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตใจแข็งแรง มีหลักการพึ่งตนเองขั้นพื้นฐานและมีฐานะ
ทางเศรษฐกิจดีขึ้น
ผู้สูงอายุสามารถแก้ปัญหาของตนเองและปัญหาของสังคมบางประการได้
ผู้สูงอายุมีสวัสดิการในชีวิตที่ดีมีความปลอดภัย ผู้สูงอายุทุกคนสามารถประพฤติปฏิบัติตนตามแบบวิถีพุทธอย่างถูกต้อง
ผู้สูงอายุทุกคนมีความรู้ความเข้าใจวิถีพุทธอย่างลึกซึ้ง มีองค์ความรู้ในการดูแลตนเอง
ทั้งทางกาย และทางจิตใจ
มีองค์ความรู้ในการดูแลด้านเศรษฐกิจ
สามารถใช้องค์ความรู้แบบวิถีพุทธแก้ปัญหาทุกปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิต
และสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้สู่สังคมภายนอกได้ ผู้สูงอายุ
มีความสุขกายสุขใจ บังเกิดผลดีต่อชีวิตอย่างไม่เคยมีมาก่อน
การดูแลผู้สูงอายุแบบวิถีพุทธ คือการดูแลโดยใช้อริยมรรค (มรรคมีองค์แปด) มาจัดการการดูแลผู้สูงอายุภายในวัด โดยให้ผู้สูงอายุปฏิบัติตนตามแบบวิถีพุทธ ให้มีสวัสดิการแบบวิถีพุทธ ให้ผู้สูงอายุนำวิถีพุทธไปใช้ในการทำงาน
ไปใช้ในการแก้ปัญหาชีวิตและดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข ให้ผู้สูงอายุบริหารจิตแบบวิถีพุทธ ให้ผู้สูงอายุแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจด้วยวิถีพุทธ ให้ผู้สูงอายุสร้างเครดิตของตนให้บุคคลภายนอกเชื่อถือ มีเป้าหมายในชีวิตที่ชัดเจน มีส่วนร่วมในการประกอบพิธีบุญประเพณีในวัด ให้ผู้สูงอายุมีการเตรียมตัวตายแบบวิถีพุทธ และให้ผู้สูงอายุทุกคนมีความสุข
อย่างแท้จริง
โดยสรุปการดูแลผู้สูงอายุวิถีพุทธ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้อริยมรรค
สามารถช่วยให้
ผู้สูงอายุมีความสุขทั้งทางร่างกายและจิตใจ วิธีการนี้สามารถแก้ปัญหาชีวิตของตนเอง
ปัญหาเศรษฐกิจและปัญหาสังคมบางประการได้อย่างมีประสิทธิผลและเหมาะสม จึงควรสนับสนุนและ
ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้ดูแลตนเองตามวิถีพุทธต่อไป
TITLE The Elderly Care Using the Buddhist Way : A
Care Study of the Elderly Welfare
Home at Wat Pa
Nong Saeng in Changwat Udon Thani
AUTHOR Mrs. Siriphon Thachat
ADVISORS Phra Khru Palat Dr.Phaisan Aphassaro and
Dr.Boonsom Yodmalee
DEGREE M.A. MAJOR Cultural
Science
UNIVERITY Mahasarakham University DATE 2007
ABSTRACT
The elderly health case is greatly important and
there are several methods. The elderly
case using the Buddhist way is an effective and interesting method. This qualitative research study aimed to
examine the background of the elderly health case using the Buddhist way, to
examine the body of knowledge of the elderly case using the Buddhist way, and
investigate the elderly case using the Buddhist way and self behaving of the
elderly at Wat Pa Nong Saeng, a forest monastery, in Tambon Nong Bua Ban,
Amphoe Nong Wua So, Changwat Udon Thani.
This group of the elderly in this monastery aged 50-81 years. For education backgroup, the they were
illiterate, completed Prathomsucksa (grade) 4, Prathomsucksa 7, deploma, and a
bachelor’s degree. Many of the elderly
had health problems which the hospital physicians in Udon Thani had told their
relatives to control their minds. Many
of them had mental health problems, Many had economic problems, Also, many had
senility problems. All the elderly here
received good care from Phra Athikan Sen Panyatharo. The problem they were facing gradually
decreased. They could live longer than
the date the physicians had diagnosed.
Also, every of the elderly had mush better mental developments. They were joyful and had free thinking. For all these, the researcher interpreted
from close all the period of 6 months from April to October 2006 by using a
prepared questionnaire and taking notes in detail from their narration’s,
explanations, and responses to the questionnaire by the elderly.
The results of the study revealed that Wat Pa Nong
Saeng was a welfare home for the elderly which could cause the elderly who
lived in here to have strong physical and mental health, basic principles of
self-reliance, and better economic status, The elderly could solve their own
problems and some social problems. The
elderly had good welfare in their lives and safety. All the
elderly could behave
themselves correctly according to the Buddhist way.
All the elderly had deep knowledge and
understanding of the Buddhist way, had the body of knowledge of self care both
physically and mentally, had the body of knowledge in economic care, could use
the body of knowledge in the Buddhist way to solve all the problems that
occurred in their lives, and could transfer the body of knowledge to the
outside society. The elderly had
physical and mental happiness. There
occurred good effects to their lives which they had never had before.
The elderly care using the Buddhist way was the
care by means of ariyamak (the Noble Eightfold Path) to manage the
elderly care at the monastery by: having the elderly behave themselves
according to the Buddhist way, providing welfare according to the Buddhist way,
having the elderly take the Buddhist way to use in work and to use in solving
life problems and to live their lives joyfully, having the elderly manage their
minds in the Buddhist way, having the elderly solve their economic problems
using the Buddhist why having the elderly create their own credit for outsiders
to trust them, having clear goals of life, having participation in monastery
traditional merit-making , having the elderly prepare themselves for deaths in
the Buddhist way, and having all the elderly be truly joyful.
In conclusion, the elderly car using the Buddhist
way, particularly car use of Ariyamak, could help the elderly have physical and
mental happiness. This method could
solve their own life problems, economic problems, and some social problems
effectively and appropriately.
Therefore,
the elderly should be
supported and promoted to take care of themselves using the Buddhist way
in the future.
วันจันทร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
วันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557
ประเพณีปีใหม่
ประเพณีปีใหม่
คำร้องนางสิริพร ทาชาติ ทำนองสรภัญญะ
ปีใหม่ไทยสืบสาน ทุกหมู่บ้านเบิกบานทั่ว
ฉลองทุกครอบครัว ระฆังรัวรับวันดี
อรุณอุ่นสายหมอก นั่นบ่งบอกชีวิตนี้
ยิ้มแย้มรับวันปี สู้ชีวีวิถีชน
ปีผ่านวันริบหรี่ เหลือความดีที่ล้นพ้น
เรียนรู้ดูตัวตน มีเหตุผลประสบการณ์
แม้พบทางขวากหนาม พยายามฝ่าฟันผ่าน
เพียรสร้างทางเบิกบาน เกษมศานต์ด้านจิตใจ
ปีใหม่ให้พรเลิศ และประเสริฐเกินกล่าวไซร้
แข็งแรงและสดใส ทุกวันให้ได้ทำดี
เพริศแพร้วแพรวพราวยิ่ง ทั้งชายหญิงเกษมศรี
เพิ่มพูนคูณทวี ทุกราศีมีสุขเทอญ
วันพฤหัสบดีที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2557
กลอนไหว้ครูจากศิษย์เก่า
กลอนไหว้ครูจากศิษย์เก่า
เป็นศิษย์เก่า โนนสมบูรณ์ ได้เพิ่มพูน วิทยา
เรียนรู้ จนก้าวหน้า อ่านเขียนมา จากคุณครู
ทุกท่าน ที่สั่งสอน ทุกขั้นตอน คือความรู้
บางคราว กวนน่าดู แต่คุณครู ก็อภัย
พระคุณ ศิษย์ประจักษ์ ยังสลัก ปักตรึงไว้
สิบนิ้ว พนมไหว้ จากดวงใจ ศิษย์ถ้วนหน้า
ร้อยเรียง บทร้อยกรอง อ่านกู่ก้อง สุดขอบฟ้า
แด่ครู ผู้เมตตา ศิษย์วันทา ระลึกคุณ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)