วันศุกร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ประวัติ นางสิริพร ทาชาติ


ชื่อ  นางสิริพร              นามสกุล     ทาชาติ 
 ประวัติส่วนตัว
        เกิดวันที่  ๒๔  เดือน  มิถุนายน   ปี  ๒๕๐๔    เกิดที่อำเภอกุมภวาปี     
        จังหวัด  อุดรธานี
 บิดามารดา
        ชื่อบิดา  นายชเลศ  เชษฐสุมน         อาชีพบิดา    (เสียชีวิต)
        ชื่อมารดา  นางวิไล  เชษฐสุมน        อาชีพมารดา   (เสียชีวิต)
        เป็นบุตรคนที่  ๑   ในพี่น้อง  ๒  คน  ได้แก่
              นายเชษฐา  เชษฐสุมน  (น้องชาย)
ครอบครัว
       ชื่อสามี/ภรรยา  นายคำไพ  ทาชาติ
       อาชีพ   รับราชการครู     บุตรชาย  ๒   คน    บุตรสาว  ๑  คน   รวมทั้งหมด  ๓  คน   ได้แก่
            ๑.  นายเชษฐชาติ  ทาชาติ
           ๒.  นายคุรุการ   ทาชาติ
            ๓.  นางสาวสุมนทา   ทาชาติ
      ที่อยู่  (ที่สามารถติดต่อได้)  บ้านเลขที่  ๖๑   หมู่ที่  ๘   ตำบล  ห้วยสามพาด  อำเภอประจักษ์ศิลปาคม
      จังหวัดอุดรธานี    รหัสไปรษณีย์   ๔๑๑๑๐
      โทรศัพท์ มือถือ  ๐๘๘๓๓๘๒๐๓๗    
ประวัติการศึกษา
        การศึกษา         
                 ปริญญาตรี   วุฒิ  ศษ.บ.   สาขา  การประถมศึกษา
                               สถาบันมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
                 ปริญญาโท    วุฒิ  ศศ.ม.  สาขา  วิจัยวัฒนธรรมศาสตร์
                                สถาบันมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ประวัติการทำงาน  (เคยทำงานอะไรบ้าง)
งานด้านการสอน    
         กิจกรรมการเรียนการสอน
           ได้ปฏิบัติหน้าที่การสอน  โดยให้ความรักแก่นักเรียน พร้อมๆ ไปกับเนื้อหาวิชาเรียน แนะนำวิธีเรียนรู้ให้แก่เด็ก ดูแลและเอาใจใส่นักเรียน เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ
            เชื่อมโยงความรู้กับชีวิตจริง และฝึกให้นักเรียนคิดให้บ่อยที่สุด ให้ผู้เรียนเข้าใจว่าความรู้ไม่ได้จำกัดอยู่แต่ในเฉพาะหนังสือเท่านั้น ครูยังควรเชื่อมช่องว่างระหว่างทฤษฎีและ  การปฏิบัติ ทำให้นักเรียนเกิดความชำนาญในเรื่องที่นักเรียนสนใจ โดยครูคอยให้คำปรึกษาช่วยเหลือในการปฏิบัติ และเชื่อมโยงสภาพชีวิตในชุมชนของนักเรียนกับความรู้ที่ศึกษาในโรงเรียน
            ตั้งใจฟังนักเรียน  ตั้งคำถาม สามารถตอบข้อสงสัยแก่นักเรียนได้ และควรระลึกอยู่เสมอว่านักเรียนแต่ละคนในชั้นเรียนมีความแตกต่างกัน ครูควรกระตุ้นการตอบสนองการเรียนรู้และการพัฒนาทักษะการสื่อสารให้แก่นักเรียนด้วย
          จัดแผนการที่ยืดหยุ่น เปลี่ยนแปลงได้ มีการทดลองการสอนที่หลากหลาย และมั่นใจจะเผชิญกับสถานการณ์ในชั้นเรียนได้ทุกรูปแบบ  อาจจะไม่เป็นไปตามความคาดหวังนัก ครูควรปรับการสอนบ้างเมื่อมีวิธีการที่จะช่วยให้นักเรียนบางคนเรียนรู้ได้ดีขึ้น และควรสร้างสมดุลระหว่างเนื้อหาและความยืดหยุ่นในการสอน
         สร้างบรรยากาศที่เป็นกันเอง บรรยากาศที่อบอุ่น  มีประสิทธิภาพประสิทธิผล  นักเรียนมีส่วนร่วม มีความสุขสนุกสนานในการเรียนรู้  มีอารมณ์ขัน ครูอุทิศเวลาให้งานสอนอย่างเต็มความสามารถ
           เตรียมตัวให้พร้อม มีความเอาใจใส่ และอุทิศเวลาให้แก่การค้นคว้าหาวิธีถ่ายทอดความรู้ด้านต่างๆ ให้แก่นักเรียน ครูเตรียมการสอนอย่างดี  วิจัยเด็กในชั้นเรียนอย่างดี  ศึกษาเด็กเป็นรายบุคคลอย่างละเอียด                      

งาน/กิจกรรมอื่นนอกเหนือจากการสอน
๑.        ทำหน้าที่ครูภูมิปัญญาไทย
๒.     เป็นกรรมการ/เลขานุการ  ในโครงการบ้านพักคนชราที่วัดป่าหนองแซง  โดยมีหลวงปู่เสน 
     ปัญญาธโร  เป็นหัวหน้าโครงการ  ได้ปฏิบัติงานตามโครงการตั้งแต่ปี พ.ศ.  ๒๕๔๖ จนถึงปัจจุบัน  เป็นผู้
     รวบรวมและจัดทำหนังสือธรรมะ (โดยถอดคำสอนของหลวงปู่เสน  ปัญญาธโร  เป็นผู้แต่งหนังสือเล่ม
     เล็กเพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน  ได้จัดทำหนังสืออ่านเพิ่มเติม  หนังสือนิทานประกอบภาพ  หนังสือ
     เพลงมหัศจรรย์  บทเพลงสรภัญญะสู่บทเรียน  แต่งบทเพลงคุณธรรม  ๘  ประการ  แต่งนิทานธรรม 
     จัดทำหนังสือผญาภาษิตอีสาน  ผญาพาเพลิน  ค้นคว้าวิจัยผักพื้นบ้านอีสาน เพลงกลอนลำทางสั้น  จัดทำ
     หนังสือโตงโตยอีสาน  ผาแดงนางไอ่ฉบับสรภัญญะ  จัดทำเอกสารประกอบการเรียนการสอน  จัดทำ
    บทเรียนสำเร็จรูป   งานศึกษาค้นคว้าวิจัยเชิงคุณภาพเรื่องการดูแลผู้สูงอายุด้วยวิถีพุทธ  และสอนผู้สูงอายุ
    ที่อ่านหนังสือไม่ออก  ให้อ่านออกเขียนได้  เพื่อให้สามารถทำวัตรเช้าวัตรเย็นได้ถูกต้อง
             กิจกรรมร่วมกับชุมชน
                           -  เป็นคณะกรรมการ/เลขานุการ  จัดงานบุญประเพณีต่าง ๆ  ในชุมชน
                           -  ร่วมเป็นคณะกรรมการจัดกิจกรรมผ้าป่าโรงเรียน
                           -  เป็นกรรมเลขานุการสภาวัฒนธรรมอำเภอประจักษ์ศิลปาคม
 -  ร่วมประชุมเพื่อรับแนวนโยบายพัฒนาตามแผนงานปฏิบัติประจำปี
 -  ร่วมประชุมคณะกรรมการตัดสินในกิจกรรมต่าง ๆ
 -  ร่วมกิจกรรมกับชุมชน  องค์กร  หน่วยงานต่างๆ 
 -  ร่วมประชุมศูนย์วัฒนธรรมประจำจังหวัดเกี่ยวกับพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น                                
 -  การสร้างความสัมพันธ์อันดี  ความสามัคคีระหว่างผู้บังคับบัญชา 
                           มีความยุติธรรมในการปฏิบัติต่อสังคมและการให้บริการประชาชน                              
   ผลงาน
                ข้าพเจ้ามุ่งเน้นการทำงาน  คล่องตัวรวดเร็ว  สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน  สถานศึกษา  ชุมชน  ท้องถิ่น และการมีส่วนร่วมจากผู้ที่มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย   ให้ด้านวิชาการมีความเข้มแข็ง  ในการบริหารจัดการสามารถพัฒนาหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนา  และวัฒนธรรม และกระบวนการเรียนรู้ตลอดจนการวัดผล  ประเมินผล  เกื้อหนุนการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน  ชุมชน  ท้องถิ่นได้อย่างมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพเพื่อการบริการงานวิชาสังคมศึกษาได้โดยอิสระ  คล่องตัว  รวดเร็ว  และสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน  สถานศึกษา  ชุมชน  ท้องถิ่นในกาจัดการศึกษา  ข้าพเจ้าได้จัดการศึกษาทั้งสามระบบ  คือในระบบโรงเรียน  นอกระบบโรงเรียน  และตามอัธยาศัย
          การทำงานด้านประเพณี  ได้ปลูกฝังค่านิยมที่ดี โดยการจัดโครงการอบรมสัมมนา  ซึ่งต้องเริ่มที่พ่อ - แม่ ควรเป็นตัวอย่างที่ดี อบรมสั่งสอนลูกให้เป็นคนดีของสังคม 
         การจัดวิชาที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณีไว้ในหลักสูตรทุกระดับชั้น เพื่อเป็นการปลูกฝังและสั่งสม
ความรู้ ประสบการณ์  แต่เด็ก โดยการจัดทำหนังสือเล่มเล็ก  หนังสืออ่านเพิ่มเติม  หนังสือส่งเสริมการอ่าน
         การสนับสนุนส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณีอย่างจริงจัง โดยประสานงานกับหน่วยงานของจังหวัดหรือ
ท้องถิ่นทั้งภาครัฐและเอกชน ช่วยจัดงานฟื้นฟูวัฒนธรรมประเพณีให้เป็นที่รู้จัก พร้อมจัดทำหนังสือบุญประเพณีทั้ง  ๑๒  เดือน  จัดทำหนังสือผญาสู่อาเซียน  สรภัญญะสู่อาเซียน ซึ่งเป็นหนังสือ  ๓  ภาษา
        การจัดกิจกรรมส่งเสริมวัฒนธรรมและประเพณีไทย โดยได้เข้าร่วมเป็นคณะทำงานร่วมกับหน่วยงานราชการต่าง ๆ  ได้จัดทำหนังสือฮีต ๑๒  คลอง ๑๔  สู่อาเซียน

ผญา


ผญา
              คำผญา หรือปรัชญาใน การดำรงชีวิต
ของบรรพบุรุษชาวอีสาน ที่ถ่ายทอดกันมาตั้งดึกดำบรรพ์
จนถึงชั่วลูกชั่วหลาน  คำผญา พร้อมคำแปลด้านล่างนี้
เป็นภูมิปัญญาของปราชญ์ ผู้รู้ได้ถ่ายทอดไว้เป็นหลักฐานลายลักษณ์อักษรโดยนางสิริพร  ทาชาติ
           คันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมชาวนาผู้ขี่ควายคอนกล้า
          ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้วก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง       
         กั้งฮ่ม     =    กางร่ม

         ใจประสงค์สร้าง กลางดงกะว่าท่ง
ใจขี้คร้าน กลางบ้านกะว่าดง
         ถ้าใจสู้ (ขยัน) อยู่กลางป่าดงก็เหมือนกลางทุ่ง
ถ้าเกียจคร้านแม้อยู่กลางหมู่บ้านก็เหมือนในกลางป่า
         ท่ง    =    ทุ่ง, ทุ่งนา

ความตายนี้แขวนคอทุกบาดย่าง ไผก็แขวนอ้อนต้อน เสมอด้ามดังเดียว
          ความตาย ติดตามเหมือนเงาตามตัว ไม่มีผู้ใด
หลุดพ้น
         บาดย่าง    =      ทุกย่างก้าว
         ไผ             =     ใคร
         อ้อนต้อน   =    คอน, แขวน (สิ่งของขนาด
                                  เล็ก)




วันพุธที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

เพลงคุณธรรม ชนะเลิศ


เพลงขยัน
               คำร้อง   สิริพร  ทาชาติ                                  ทำนอง  กลับมาทำไม

                   มาโรงเรียนต้องเรียนวิชา      ดีกว่าหอบตำราแล้วเลี่ยงหลบหนี    
          ถึงโรงเรียนต้องทำหน้าที่               ทำความดี    ที่มีค่าสดใส        
          เป็นคนควรขยัน  มุ่งมั่นเอาไว้        สองมือนั้นให้ขีดเขียนในวิชา
          ความรู้ผู้เรียนพากเพียรขยัน            ความรู้สำคัญผูกพันชีวา  
                  พี่มัธยมได้ยินไหมจ๊ะ              คนงามดาราอย่าหนีโรงเรียน  
          เป่ามนต์เสกเพี้ยง  เพียงขอให้        พี่มาสนใจ  ใฝ่เรียนรู้ทุกทุกวัน
          ไม่คบคนพาล  สันดาลเลวร้าย        คุณพี่หญิงชายอย่าหน่ายการเรียน   
           พากเพียรขยัน  มุ่งมั่นในวันนี้        อนาคตสุขศรี  เป็นคนดีมีใจเกื้อกูล
                   มาโรงเรียนเพื่อมาเพิ่มพูน      ความรู้     และคุณธรรม  
          มาโรงเรียนเพื่อมาน้อมนำทำดี        ทวีน้ำใจ    รักความเป็นไทย 
          มุ่งมั่นในการงาน  รู้คิด  รู้ทำ  และมีวินัย
                    ชาติศาสน์กษัตริย์  ซื่อสัตย์บูชา    ต้องพัฒนาอย่าคร้านการเรียน 
          หมั่นเพียร  ฝึกฝน   เป็นคนพอเพียง     รักษาชื่อเสียงของโรงเรียน
         บ้านโนนสมบูรณ์
9
 

วันอังคารที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

เงิน

คำร้อง  สิริพร  ทาชาติ                          ทำนองกลอนลำทางสั้น (แต่งให้หมอลำแม่เสงี่ยม  ลมบน)

                           อำนาจใดไหนเล่า                   หรือจะเท่าอำนาจเงิน
                           เหล็กเพชรยังขวยเขิน             อำนาจเงินเกินสิ่งใด
                           เงินหรือคือพระเจ้า                  ช่วยบรรเทาความหมองไหม้
                           เงินหรือคือยิ่งใหญ่                  เหนือสิ่งใดในโลกา
                           มีเงินมีอำนาจ                         ทุกสิ่งอาจจะซื้อหา
                           อำนาจวาสนา                         ใช้เงินตราพาสมใจ
                           กิเลสเดชกลกาม                     ของงดงามเงินซื้อได้
                           ใจคนล้ำเลิศไซร้                      เงินงัดได้เป็นอย่างดี
                           ใครคือคนคิดค้น                      ประดิษฐ์จนทุกวันนี้
                           ให้ความสำคัญมี                      ทุกชีวีต้องใช้กัน
                            ใช้เถิดเกิดประโยชน์               ไม่มีโทษใช้สร้างสรรค์
                            สร้างไว้ให้ใช้พลัน                   จงสุขสันต์วันมีเงิน

วันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

พุทธวจน


        วิริเยน  ทุกฺขมจฺเจติ  (วิ-ริ-เย-นะ-ทุก-ขะ-มัด-เจ-ติ)
                   แปลว่า  คนล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร
                   ความบากบั่น  ความเพียรพยายาม  จะช่วย
ให้คนเราสามารถฟันฝ่าอุปสรรคต่าง ๆ  ในการดำเนินชีวิตไปได้  ไม่ว่าเราจะทำสิ่งใดก็ตาม  จะต้องประกอบด้วยคุณธรรม  คือ  ความเพียร

อตฺตา  หิ  อตฺตโน  นาโถ  (อัต-ตา-หิ-อัต-ตะ-โน-นา-โถ)
       แปลว่า  ตนแลเป็นที่พึ่งของตน
        เราจะต้องพึ่งตนเอง  คือ  ทำสิ่งต่าง ๆ  ด้วยตนเอง  ไม่คอยให้ผู้อื่นทำให้  เพราะผู้อื่นไม่สามารถที่จะให้เราพึ่งตลอดเวลา
       ตนแลเป็นที่พึ่งของตน  จึงเป็นสิ่งที่ดีที่สุด

ททมาโน  ปิย  โหติ   (ทะ-ทะ-มา-โน-ปิ-โย-โห-ติ)
            แปลว่า  ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
            ผู้ให้ไม่ว่าให้สิ่งใด  เช่น  อาหาร  ยารักษาโรค  เครื่องนุ่งห่ม  ย่อมเป็นผู้ที่แสดงออกถึงความเมตตากรุณา  ต่อผู้รับ  ดังนั้นจึงย่อมได้รับความรักตอบจากผู้รับเป็นธรรมดา  
            การให้เป็นการสร้างไมตรี  เป็นเครื่องผูกมัดใจ  ของกันและกันให้รักใคร่นับถือสนิทสนมกันยิ่งขึ้น 


วันไหว้ครู

คำร้องสิริพร  ทาชาติ                                     ทำนองสรภัญญะอีสานพื้นบ้าน

                            ครูรักศิษย์ดั่งลูก         รักพันผูกประมาณค่า
                   ไม่หวังค่าราคา                   เพียงหวังว่าศิษย์ได้ดี
                   เก่งดีมีความสุข                  ไร้ความทุกข์ทุุกวันวี่
                   วิชาใช้ทางดี                       มีวิถีที่น่าชม
                            อ่อนน้อมอภิวันท์       เคารพกันอย่างเหมาะสม
                   ทักทายใจภิรมย์                  ก็นิยมชมศิษย์ดี
                   หลีกเลี่ยงสิ่งเสพติด            ไม่คิดผิดชีวิตนี้
                   สร้างสรรค์อันความดี          ประเสริฐศรีที่สอนมา
                           ประหยัดอดออมไว้      รู้จักใช้ในวันหน้า
                    สะสมสร้างศรัทธา               และบูชาผู้สมควร
                    คำสอนของคุณครู               จงรับรู้อย่างถี่ถ้วน
                    เชื่อฟังอย่ายียวน                 อย่างก่อกวน  วันไหว้ครู                                        

วันอาทิตย์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

แม่โพสพ

คำร้อง  สิริพร  ทาชาติ                                         ทำนองสรภัญญะพื้นบ้านอีสาน

                              เมล็ดข้าวสีทอง                        เต็มทุ่งท้องผืนนาหนอ
                     รวงอ่อนช้อยลออ                             โอนเอนพออ้อนคำเคียว
                     เชิญชวนอยู่กลางทุ่ง                         ท้าแดดรุ่งพุ่งขับเคี่ยว
                     ก้าวย่างเข้ามาเกี่ยว                           มากำเคียวเกี่ยวข้าวกัน
                             อย่าหลงเที่ยวเทียวไป               มาเกี่ยวให้ใจสุขสันต์
                     ลีลาฟาดข้าวนั้น                                เมล็ดพลันนั้นแปรไป
                     สีทองเมล็ดสวย                                แสนสำรวยสวยสุกใส
                     เลี้ยงคนให้เติบใหญ่                          สืบสานไว้หลายชั่วคน
                             เพลงโพสพแซ่ซ้อง                  ดังกึกก้องร้องสับสน
                     ลีลาพื้นบ้านตน                                ขับขานบนท้องทุ่งนา
                     ลมหนาวคราวเก็บเกี่ยว                     เพลงกำเคียวคงหรรษา
                     ชาติพันธ์แห่งธัญญา                         ขอขมาพระแม่เอย

วันเสาร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2556



นางสิริพร  ทาชาติ  เป็นวิทยากรบรรยาย  ด้านปรัชญา  ศาสนา  และประเพณี  จังหวัดเลย  ในวันที่
13-15  เดือนกุมภาพันธ์  2553  ผู้รับองค์ความรู้คือครูภูมิปัญญาไทย  200 คน  ผลปรากฎว่า  ได้รับความสนใจ   ครูภูมิปัญญาทุกท่านพอใจในผลงานของนางสิริพร  ทาชาติมาก

หลักฐานการเผยแพร่ผลงาน


หลักฐานการเผยแพร่ผลงานของนางสิริพร  ทาชาติ
           ได้เผยแพร่ผลงานทั้งสามระบบ  ดังนี้
1.            ระบบในโรงเรียนจัดทำสื่อที่ดี  ผู้เรียน  เรียนรู้อย่างสนุกสนาน
เพลิดเพลิน  เกิดความคิดสร้างสรรค์  แก้ปัญหาผู้เรียนได้ดี  การใช้ได้ง่ายไม่ยุ่งยาก  ราคาไม่แพง
2.           ระบบนอกโรงเรียน  ได้สอนหนังสือผู้สูงอายุให้อ่านออก  เพื่อนำไป
อ่านบทสวดมนต์ทำวัตรเช้าวัตรเย็น
3.           ระบบตามอัธยาศัย  ได้จัดทำหนังสือเล่มเล็ก  ตามความต้องการของ
ผู้เรียน  หนังสือที่จัดทำเน้นคุณธรรมจริยธรรม  ให้ผู้อ่านได้มีความรู้  ความเข้าใจซาบซึ้งในคำสอนของพระพุทธองค์
                     และได้เผยแพร่ผลงานทางเว็บไซต์  www.thaiwisdom.org  จากสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา  กระทรวงศึกษาธิการ 


ภาษาไทย

คำร้อง  สิริพร  ทาชาติ                 ทำนองสรภัญญะพื้นบ้านอีสาน

                        เป็นไทย  ได้โชคดี                อยู่เมืองที่มีคุณค่า
                        มีชาติศาสนา                        กษัตราน่าเลื่อมใส
                        เป็นไทยให้สมค่า                   ใช้เงินตราตามรายได้
                        ซื้อของทำจากไทย                ใส่หมี่ไหมผ้าแพรวา
                        ภาษาไทยใช้ดี                        สง่าศรีมีคุณค่า
                        มรรยาททางภาษา                  กล่าววาจาน่านิยม
                        เที่ยวไทยในวันนี้                     ดูเข้าทีดีเหมาะสม
                        คนไทยชาตินิยม                     ชนชื่นชมความเป็นไทย

วันศุกร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

วันวิสาขบูชา


วันวิสาขบูชา            
             วันวิสาขบูชา 2555 ตรงกับวันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน ในปีนี้นับเป็นอภิลักขิตกาลพิเศษ คือเป็นปีที่ครบ 2,600 พุทธศตวรรษ หรือ 2,600 ปี แห่งการอุบัติขึ้นของพระพุทธศาสนา และเชื่อว่าทุกคนรู้จักชื่อวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาอย่างวันวิสาขบูชากันดี อยู่แล้ว แต่จะมีสักกี่คนที่ทราบความเป็นมา และความสำคัญของ วันวิสาขบูชา ถ้างั้นอย่ารอช้า...เราไปค้นหาความหมายของ วันวิสาขบูชา และอ่าน ประวัติวันวิสาขบูชา พร้อม ๆ กัน
        คำว่า วิสาขบูชา ย่อมาจากคำว่า "วิสาขปุรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ" ดังนั้น วิสาขบูชา จึงหมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือน 6
            พระพุทธเจ้าก่อนที่จะทรงผนวช  ทรงอยู่ในวรรณะกษัตริย์  มีพระนามเดิมว่า  เจ้าชายสิทธัตถะ  เป็นพระโอรสของพระนางสิริมหามายาและพระเจ้าสุทโธทนะ
ทรงประสูติ  ณ  สวนป่าลุมพินีวัน  ตรงกับวันเพ็ญเดือนหก  ก่อนพระพุทธศักราช  80  ปี 
http://www.buddhabucha.net/wp-content/uploads/2012/07/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%B4.jpg
 















        พระองค์ได้ทรงเข้าพิธีอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงพิมพา
และมรพระโอรสหนึ่งพระองค์  คือพระราหุล  เมื่อยังเป็นเจ้าชายอยู่  ท่านถูกเลี้ยงดูอยู่ในความสุข  ไม่ได้มีโอกาสเห็นความทุกข์ใด ๆ  เลย  เมื่อได้มีโอกาสเสด็จประพาส  ได้เห็นคนแก่  คนเจ็บ  และคนตาย  ทรงเสียพระทัยมากเมื่อพบว่าในโลกมีสิ่งเลวร้ายเช่นนี้อยู่  และไม่มีใครสามารถป้องกันแก้ไขความทุกข์อันยิ่งใหญ่ของโลกคือ  ความแก่  ความเจ็บป่วย  และความตาย  ซึ่งจะต้องเกิดขึ้น
http://bannpeeploy.exteen.com/images/phs-05-01.jpgกับทุกคน

     





                พระองค์ได้ตัดสินพระทัยหนีออกจากวังเมื่อพระชนมายุ  29  พรรษา  ทรงเปลี่ยนเสื้อผ้ากับคนขอทาน  ถือกะลาออกบวชเป็นนักบวชททรับประทานเศษอาหารที่คนให้  การตัดสินใจออกบวชในครั้งนี้เป็นการตัดสินใจที่กล้าหาญเต็มไปด้วยความทรมาน  และเด็ดเดี่ยวมาก  เพราะอยู่บนพื้นฐานที่จะยอมลำบากถึงที่สุด  ที่จะตั้งใจหาอมฤตธรรมแก่คนทั้งโลก  ด้วยทรงหวังว่าธรรมนี้จะทำให้คนเป็นอมตะ  ไม่แก่  ไม่เจ็บ  และไม่ตาย
http://www.learntripitaka.com/History/Images/D06.jpg
 








         ในประวัติทรงเล่าว่า  พระองค์ได้ทรมานตนเองทุกอย่าง  ทั้งเสวยอาหารที่บูดเน่า  ถูกคนขว้างปา  ถูกเด็กเลี้ยงควายมาปัสสาวะใส่  หรือเอาไม้มาแยงหูตอนพระองค์หลับ  สุดท้ายทรงอดอาหารจนซูบผอม  เมื่อเอามือลูบตามตัวตามผมตามผมก็มีผมและขนร่วงติดมือออกมากมาย
เพราขาดอาหารขนาดหนัก
http://dhammataan.files.wordpress.com/2010/02/img_2587-e1265558841559.jpg?w=570
 










        พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  เมื่อพระชนมายุ  35  พรรษา  ณ  ป่าอิสิปตนมฤคทายวันในคืนวันเพ็ญเดือนหก  ก่อนพุทธศักราช  45  ปี  เมื่อตรัสรู้แล้ว  45  พรรษาของพระองค์ทรงดำเนินด้วยพระบาทไปยังสถานที่ต่าง ๆ  ในประเทศอินเดีย  เพื่อสอนธรรมะจนนาทีสุดท้าย  ทรงปรินิพพานใต้ต้นสาละ  ป่าสาลวัน  เมืองกุสินารา  ในคืนวันเพ็ญเดือนหก  ก่อนพุทธศักราช  1  วัน  ตลอด  45  ปีแห่งการแสดงธรรมมิได้มีวันหยุด  ไม่มีบ้าน  ไม่มีทรัพย์สิน  ไม่มีพาหนะ 

          ในแต่ละวันพระองค์ทรงใช้เวลาทำประโยชน์  ดังนี้คือ  ในเวลาเช้าเสด็จออกบิณฑบาตและแสดงธรรมโปรดมหาชน  เวลาบ่ายแสดงธรรมโปรดภิกษุสงฆ์และมหาชน  เวลาค่ำประทานโอวาทแก่ภิกษุสงฆ์  และเวลาเที่ยงคืนแสดงธรรมแก่เทวดา  จากนั้นเสด็จจงกรมและเสด็จสีหไสยา  เมื่อย่ำรุ่งเสด็จประทับนั่งตรวจดูสัตว์โลกด้วยพุทธจักษุ  และตอนเช้าเสด็จบิณฑบาตและแสดงธรรมเช่นเดิม  ซ้ำแล้วซ้ำเล่า
http://t0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRhhAj8Rx0oAFyYxJ07X5bbvRALP11HwZNJWn4wQXqlGtubj85Vg8YZ9JX8lw
 







          พระธรรมอันล้ำค่าได้บันทึกไว้เป็นพระไตรปิฎกถึง  45  เล่ม  และเชื่อว่ามีมากกว่านี้แต่ได้มีการสูญหายไป  พระธรรมเทศนาสามารถสรุปเป็นลักสูตรได้เป็นอริยสัจสี่
 เป็นความรู้ที่มีประโยชน์ที่สุดในโลก  เพราะทำให้พ้นจาก
http://www.dhammada.net/wp-content/uploads/2011/05/71594.jpgความทุกข์ได้  ในอริยสัจสี่นี้สามารถสรุปเป็นภาคปฏิบัติ  คือ  มรรคแปด  มรรคแปดนี้อาจแบ่งเป็นหมวด  ศีล  สมาธิ  และปัญญา  พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าไม่เพียงแต่มีเรื่องที่นำไปสู่ความพ้นทุกข์  ระงับการเกิดแก่เจ็บตายเท่านั้น  ยังมีคำสอนหลายระดับที่เหมาะสมตามกลุ่มของผู้ฟัง  ทั้งชาวบ้าน  ผู้ครองเรือน  และสำหรับพระภิกษุสงฆ์




        ถ้าเราจะนึกถึงพระพุทธคุณ  เราอาจจะแบ่งได้เป็น  3  ประการและ  ประการ  ดังนี้
        พระพุทธคุณ  3  ประการ  ได้แก่  พระกรุณาคุณ  พระวิสุทธิคุณ  พระปัญญาคุณ
พระกรุณาคุณ  เป็นความกรุณาต่อเพื่อมนุษย์  ด้วยการเสียสละความสุขออกบวช  เพื่อหาอมตะธรรมมาสู่ทุกคน  ทรงยอมทิ้งความสบาย  ราชบัลลังค์  และทุกสิ่งไปมีสภาพแบบขอทาน  เพื่อจะหาธรรมอันนั้นมาสู่ชาวโลก  และทรงทนอยู่ถึง  ปี  จึงบรรลุธรรมนั้น 
http://t3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTtDbXVPksdDQ79El857s_AYIT6cfSj4b7eDERRBZdSpU0b-pWHR2Sunvvs7A
 






             เมื่อบรรลุแล้วด้วยความกรุณาจะโปรดสัตว์  ทรงพระดำเนินด้วยพระบาททั่วประเทศอินเดีย  จำพรรษาตามที่ต่าง ๆ  เพื่อช่วยชาวโลก  แม้ประชวรหนักจนจะปรินิพพานยังทรงสอนจนเกือบจะนาทีสุดท้ายเพื่อโปรดชาวโลก  จะทรงพักตั้งหลักแหล่งเสวยสุขอยู่ที่เดิมก็ทำได้  แต่ทรงไม่ทำ
พระวิสุทธิคุณ  ทรงกระทำทุกอย่างด้วยศีลอันบริสุทธิ์ตามที่สอน  ทรงบัญญัติข้อห้ามในพระวินัย 
http://www.mahamodo.com/tamnai/images/bud/00_DayPra08.jpg
 








           อย่างไรพระองค์เองก็ทรงกระทำเช่นเดียวกัน  เรียกว่ามีจรณะหรือความประพฤติที่ดี  ในพระประวัติกล่าวไว้ว่า  ครั้งหนึ่งพระราชาได้ไปเฝ้าพระองค์ในป่า 
พระพุทธเจ้าได้ประทับอยู่ท่ามกลางพระภิกษุ พระราชาถึงกับดูไม่ออกว่าพระองค์ใดเป็นพระพุทธเจ้า  เพราะเหมือนกันไปหมด  ทั้งนี้เพราะภายนอกไม่มีความแตกต่าง  กล่าวได้ว่าความบริสุทธิ์ของพระองค์ไม่มีการปกปิด  ไม่มีการอำพราง  เหมือนกะลาที่หงายให้ทุกคนตรวจดูได้เสมอในความบริสุทธิ์
http://gallery.palungjit.com/data/540/budhavx2.gif
 







พระปัญญาคุณ  ทรงมีปัญญาค้นพบธรรมะ  จำแนกธรรมะ  และสอนธรรมะแก่บุคคลหลากหลายด้วยวิธีการต่าง ๆ
เมื่อมีผู้ซักถามพระองค์จะตอบได้ทันที  เรื่องนี้คำตอบมีอยู่ได้สี่ประการ  หรือห้าประการ  หรือสิบประการ  และแจก
http://www.chongter.com/webboard/index.php?action=dlattach;topic=10108.0;attach=3860;imageแจงออกมาได้ในทันที  เมื่อมีคำถามที่ยากจะให้พระองค์จนแต้ม  พระองค์ก็ไม่เคยจน  มีแต่ย้อนถามให้คิด  จนผู้ถามจนแต้มไปเอง  ที่สำคัญในคำสอนคือ  ทรงสอนว่าสิ่งที่ดีที่สุดที่มนุษย์ทุกคนควรได้ไม่ใช่ความเป็นอมตะ  แต่เป็นความสุขที่เที่ยงแท้จากการพ้นทุกข์  และมีการดับภพชาติ  ไม่ต้องเกิดอีกต่อไป  ที่สำคัญเมื่อเราทำดี  แม้จะยังไม่ถึงขั้นพ้นทุกข์ได้  แต่จะได้สิ่งที่ดีและสุคติตามมา

      ด้วยพระปัญญาในการรู้ธรรม  คือ  อรหัน  เป็นผู้ไกลจากกิเลส  สัมมาสัมพุทโธ  เป็นผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง  วิชชาจรณสัมปันโน  มีความรู้และพร้อมไปด้วยการปฏิบัติ  สุคโต  เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว  โลกวิทู  เป็นผู้รู้แจ้งโลก  อนุตตโร  ปุริสัททัมมะสารถิ  เป็นผู้ฝึกสอนคนได้ยอดเยี่ยม  สัตถา  เทวมนุสสานัง  เป็นศาสดาครูของเทวดา  และมนุษย์ทั้งหลาย  พุทโธ  เป็นผู้รู้  ผู้ตื่น  ผู้เบิกบาน  ภควา  เป็นผู้จำแนกแจกแจงธรรม