โครงงานศึกษา
วันสำคัญน้อมนำกระทำดี
ผู้จัดทำ
กลุ่มเยาวชนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ปีการศึกษา 2556
โรงเรียนบ้านโนนสมบูรณ์
อำเภอประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานี
ครูที่ปรึกษาโครงงาน
นางสิริพร
ทาชาติ
ตำแหน่งครู คศ. 3 โรงเรียนบ้านโนนมสมบูรณ์
อำเภอ
ประจักษ์ศิลปาคม
จังหวัดอุดรธานี
เบอร์โทร
0883382037
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2
กิตติกรรมประกาศ
ในการจัดทำโครงงานศึกษาวันสำคัญน้อมนำกระทำดี คณะผู้จัดทำขอขอบคุณ
นางสงบ
จันทรเสนา ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านโนนสมบูรณ์ ผู้ให้การสนับสนุนเป็นอย่างดี นางสิริพร
ทาชาติ ครูที่ปรึกษาโครงงานที่ให้คำแนะนำด้านการเขียนโครงงาน การบันทึกความรู้ที่ทำให้น่าอ่าน การเขียนภาษาไทยให้ถูกต้อง การพิมพ์
การออกแบบและเทคนิคการผลิต
นายคำไพ ทาชาติ ครูที่คอยช่วยเหลือในการเดินทางไปเก็บข้อมูล
จัดหาอุปกรณ์เครื่องถ่ายเอกสาร
กล้องถ่ายรูป
และคณะครูทุกท่านในโรงเรียนบ้านโนนสมบูรณ์ที่ให้กำลังใจในการทำงาน
คณะผู้จัดทำขอขอบพระคุณอย่างสูงมา
ณ โอกาสนี้ที่ทำให้โครงงานสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
บทคัดย่อ
การศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1) เพื่อศึกษาค้นคว้าวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา 2)
เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาแต่ละวัน 3) เพื่อให้ได้ปฏิบัติจริงในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา 4) เพื่อให้ได้ประโยชน์และคุณค่าต่อผู้อื่น
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าได้แก่ วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
ผลการศึกษาในครั้งนี้พบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ทุกคนได้ศึกษาค้นคว้าวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เกิดความรู้ความเข้าใจรู้จักใจ นำไปปฏิบัติจริง
และได้รวบรวมความรู้ที่ได้ค้นพบเผยแพร่ให้ผู้อื่นได้เข้าใจ
โครงงาน วันสำคัญน้อมนำกระทำดี
โดย
กลุ่มเยาวชนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผังมโนทัศน์
|
|
สารบัญ
เรื่อง หน้า
กิตติกรรมประกาศ 2
บทคัดย่อ 3
ผังมโนทัศน์ 4
บทที่
1 บทนำที่มาและความสำคัญของปัญหา
6
บทที่
2 แนวความคิดทฤษฏีและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง 8 กับการจัดทำโครงงาน
บทที่
3 ขั้นตอนการจัดทำโครงงาน 10
บทที่
4 การศึกษาวิเคราะห์
11
บทที่
5 สรุปผลการจัดทำโครงงาน
12 บรรณานุกรม 14
ภาคผนวก 15
บทที่ 1
บทนำ
ที่มาและความสำคัญของปัญหา
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เป็นวันที่รวมน้ำใจคนในชุมชน ทุกคนได้มาทำบุญ ได้มาปฏิบัติกิจกรรมร่วมกัน ทุกคนในหมู่บ้านได้มีส่วนช่วยให้พระพุทธศาสนาดำรงอยู่ต่อไป
ปัญหาของนักเรียนในปัจจุบัน คือขาดความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติตนให้ถูกต้องในวันสำคัญทางพระพุทธสาสนา
จากเหตุผลและความสำคัญดังกล่าว ผู้ศึกษาค้นคว้าได้ทำการศึกษาค้นคว้าเรื่องวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
เพื่อให้สามารถปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้องเหมาะสมในวันดังกล่าว
วัตถุประสงค์ของโครงงาน
1. เพื่อศึกษาค้นคว้าวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
2. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาแต่ละวัน
3. เพื่อให้ได้ปฏิบัติจริงในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
4. เพื่อให้ได้ประโยชน์และคุณค่าต่อผู้อื่น
ขอบเขตของการจัดทำโครงงาน
1.
ขอบเขตด้านพื้นที่
กำหนดพื้นที่ที่ห้องเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
2.
ขอบเขตประชากรที่ศึกษา
คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
นิยามศัพท์เฉพาะ
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา หมายถึง
วันที่ตรงกับ วันที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า เกี่ยวข้องกับพระสาวกหรือเกี่ยวข้องกับข้อบัญญัติหรือวินัยสงฆ์
ซึ่งในวันสำคัญเหล่านี้จะมีการประกอบพิธีบูชา เพื่อเป็นการน้อมระลึกถึงพระรัตนตรัย
น้อมนำ หมายถึง
การนำไปใช้โดยกิริยาอ่อนน้อม
เชื่อฟัง ทำตามด้วยความตั้งใจ
กระทำดี หมายถึง การกระทำที่เป็นประโยชน์ต่อตนและส่วนรวม
คนที่คิดดีก็จะพูดดี
และทำดีด้วย
เพราะมีจิตที่เป็นกุศลมองโลกในแง่ดี
ทำความดีเป็นปกติวิสัยอยู่ทุกวัน
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.
ได้ศึกษาค้นคว้าวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
2.
ได้ปฏิบัติจริง
3.
ได้บุญเกิดความสบายใจ
ทุกคนได้ปฏิบัติจริงในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
บทที่
2
แนวความคิดทฤษฎีและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำโครงงาน
การดำเนินการโครงงาน
ในการจัดสร้างโครงงาน วันสำคัญน้อมนำกระทำความดี จำเป็นต้องศึกษา
ค้นคว้าทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
-
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
-
การปฏิบัติตนในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
วันสำคัญทางศาสนา
|
||||
|
วันมาฆบูชา : โ
อ ว า ท ป า ฏิ โ ม ก ข์
ตรงกับวัน ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 หรือ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 ในปีอธิกมาส เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณภายใต้ต้นอัสสัตถพฤกษ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ พระองค์ประทับเสวยวิมุติสุขในเขตปริมณฑลนั้นเป็นเวลา 7 สัปดาห์ จากนั้นจึงเสด็จไปโปรดคณะปัญจวัคคีย์ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี |
|||
|
วันวิสาขบูชา : ประสูติ
- ตรัสรู้ – ปรินิพพาน
ตรงกับวัน ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6
ความหมาย คำว่า "วิสาขบูชา" หมายถึงการบูชาในวันเพ็ญเดือน 6 วิสาขบูชา ย่อมาจาก " วิสา - ขบุรณมีบูชา " แปลว่า " การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ " ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปเป็นกลางเดือน 7 |
|||
|
วันอัฏฐมีบูชา : วันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ
ตรงกับ วันแรม 8 ค่ำ แห่งเดือนวิสาขะ
(เดือน 6)
ความหมาย เนื่องด้วยอัฏฐมีคือวันแรม 8 ค่ำ แห่งเดือนวิสาขะ (เดือน 6) เป็นวันที่ถือกันว่าตรงกับวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ เมื่อถึงวันนี้แล้ว พุทธศาสนิกชนบางส่วน ผู้มีความเคารพกล้าในพระพุทธองค์ มักนิยมประกอบพิธีบูชา ณ ปูชนียสถานนั้น ๆ วันนี้จึงเรียกว่า "วันอัฏฐมีบูชา" |
|||
|
||||
|
วันอาสาฬหบูชา : พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระพุทธศาสนา
ตรงกับวัน ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8
วันอาสาฬหบูชา เป็นอีกวันหนึ่งที่มีความสำคัญต่อพระพุทธศาสนา เพราะเป็นครั้งแรกที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง พระธรรมเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์ ทั้ง 5 คือ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสชิ ซึ่งล้วนแล้วแต่ เป็นผู้อุปฐากพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งยังทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยาอยู่ พระธรรมที่พระพุทธองค์ทรงเทศนาในครั้งนี้มีชื่อว่า "ธรรมจักรกัปปวัฒนสูตร" ซึ่งได้แก่อริยสัจ 4 ซึ่งหมายถึง ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการคือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เมื่อจบพระธรรมเทศนาแล้ว โกญฑัญญะ ก็สำเร็จพระโสดา รู้ตามกระแสพระธรรมของพระพุทธเจ้า ดังนั้นจึงนับได้ว่า วันนี้ เป็นวันแรกที่มีพระรัตนตรัยครบเป็นองค์ 3 คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ หรืออีกนัยหนึ่งอาจจะกล่าวได้ว่า นับเป็นวันแรกที่ พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระพุทธศาสนา |
|||
วันเข้าพรรษา ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 จนถึง วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11
ตั้งแต่สมัยพุทธกาล เมื่อครั้งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังทรงมีพระชนม์อยู่ ได้ทรงเสด็จ ไปยังทุกแห่งหน เพื่อสั่งสอนหลักธรรมอันประเสริฐ จนมีพุทธสาวกมากมาย โดยมุ่งเน้นให้เกิดประโยชน์สุขแก่หมู่มวลมนุษย์โลก พระองค์ได้เสด็จไปยังถิ่นทุรกันดาร ในทุกฤดูกาล ต่อมา ปรากฏว่าในช่วงพรรษาหรือช่วงฤดูฝนได้มีผู้ร้องขอต่อพระองค์ว่าได้เกิดความเสียหาย แก่ข้าวกล้าเพราะถูกเหยียบโดยพุทธบริษัท ซึ่งไม่ได้เจตนา ดังนั้นพระองค์จึงออกพุทธบัญญัติกำหนดให้ พระสงฆ์ทุกรูป จำพรรษา เป็นหลักเป็นแหล่งในช่วงฤดูฝน โดยให้เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 จนกระทั่งถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 นับเป็น เวลา 3 เดือน ในวันเข้าพรรษานี้ จะมีการทำบุญตักบาตร ถวายผ้าอาบน้ำฝนและจตุปัจจัยแก่ พระภิกษุ สามเณร รวมทั้งยังมีการ ถวายเทียนพรรษา แก่วัดอีกด้วย
ตั้งแต่สมัยพุทธกาล เมื่อครั้งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังทรงมีพระชนม์อยู่ ได้ทรงเสด็จ ไปยังทุกแห่งหน เพื่อสั่งสอนหลักธรรมอันประเสริฐ จนมีพุทธสาวกมากมาย โดยมุ่งเน้นให้เกิดประโยชน์สุขแก่หมู่มวลมนุษย์โลก พระองค์ได้เสด็จไปยังถิ่นทุรกันดาร ในทุกฤดูกาล ต่อมา ปรากฏว่าในช่วงพรรษาหรือช่วงฤดูฝนได้มีผู้ร้องขอต่อพระองค์ว่าได้เกิดความเสียหาย แก่ข้าวกล้าเพราะถูกเหยียบโดยพุทธบริษัท ซึ่งไม่ได้เจตนา ดังนั้นพระองค์จึงออกพุทธบัญญัติกำหนดให้ พระสงฆ์ทุกรูป จำพรรษา เป็นหลักเป็นแหล่งในช่วงฤดูฝน โดยให้เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 จนกระทั่งถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 นับเป็น เวลา 3 เดือน ในวันเข้าพรรษานี้ จะมีการทำบุญตักบาตร ถวายผ้าอาบน้ำฝนและจตุปัจจัยแก่ พระภิกษุ สามเณร รวมทั้งยังมีการ ถวายเทียนพรรษา แก่วัดอีกด้วย
บทที่
3
ขั้นตอนการจัดทำโครงงาน
ขั้นตอนการจัดทำโครงงาน ก็คือทุกคนให้ความร่วมมือกันเป็นอย่างดี ทำให้เกิดความสามัคคี งานโครงงานประสบความสำเร็จ ได้รับการยกย่องจากครูอาจารย์ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ทุกคนมีความรู้ความเข้าใจในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา สามารถปฏิบัติตนในวันสำคัญได้ถูกต้อง
การทดสอบ
- การใช้เครื่องมือในการจัดทำโครงงานได้เลือกเครื่องมือที่ผู้ศึกษาค้นคว้า คือวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ได้น้อมนำกระทำดี
- ผลที่คาดว่าจะได้รับ
- การใช้เครื่องมือในการจัดทำโครงงานได้เลือกเครื่องมือที่ผู้ศึกษาค้นคว้า คือวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ได้น้อมนำกระทำดี
- ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ได้ศึกษาค้นคว้าและดำเนินการในวันสำคัญน้อมนำกระทำความดี
ได้มีความรู้ความเข้าใจในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาแต่ละวัน
ได้ปฏิบัติจริงในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
ได้เผยแพร่เป็นประโยชน์และคุณค่าต่อผู้อื่น
ในการที่เรานำเครื่องมือแต่ละเครื่องมือมาทำโครงงานนั้นเราหวังว่าเครื่องมือ
ที่เรานำมาใช้ในโครงงานของเราจะช่วยให้โครงงานของเราออกมาดี ผู้ศึกษาค้นคว้าสามารถจดจำวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ได้อย่างแม่นยำ สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
- การที่ผู้จัดทำนำเครื่องมือทางคอมพิวเตอร์นำมาเป็นส่วนประกอบในการจัดทำโครงงาน
ก็ทำให้โครงงานของผู้จัดทำมีสีสันและเป็นสิ่งดึงดูดผู้อ่านอีกอย่างหนึ่ง
- การปรับปรุง
สำหรับ การปรับปรุงโครงงาน ผู้จัดทำได้เฟ้นหาทั้งเนื้อหาที่น่าสนใจและเครื่องมือที่ช่วยในการทำโครงงาน มีการทดสอบใช้เครื่องมือต่างต่างแต่ถ้าเครื่องมือที่นำมาทดสอบนั้นเราทำไม่ ได้ก็จะปรับปรุงใหม่โดยการหาเครื่องมือที่ทางผู้จัดสามารถทำได้เพื่อนำมา เสนอให้ผู้อ่านได้ศึกษาเพิ่มเติม
- การปรับปรุง
สำหรับ การปรับปรุงโครงงาน ผู้จัดทำได้เฟ้นหาทั้งเนื้อหาที่น่าสนใจและเครื่องมือที่ช่วยในการทำโครงงาน มีการทดสอบใช้เครื่องมือต่างต่างแต่ถ้าเครื่องมือที่นำมาทดสอบนั้นเราทำไม่ ได้ก็จะปรับปรุงใหม่โดยการหาเครื่องมือที่ทางผู้จัดสามารถทำได้เพื่อนำมา เสนอให้ผู้อ่านได้ศึกษาเพิ่มเติม
บทที่
4
การศึกษาวิเคราะห์
ในการจัดทำโครงงานวันสำคัญน้อมนำกระทำดี มีแผนการจัดทำ
ดังนี้
การวิเคราะห์ปัญหา ใช้วิธีการระดมสมองเป็นเทคนิคที่สนับสนุนให้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหา
และวิธีแก้ปัญหา
ความคิดเห็นของทุกคนจะถูกรวบรวม และนำเสนอให้สมาชิกทุกคนได้ทราบ
พร้อมทั้งสนับสนุนให้สมาชิกเสนอความคิดเห็นต่อเติมหรือเสริมของกันและกันได้ เมื่อรวบรวมปัญหาและวิธีแก้ไขปัญหาได้แล้ว ก็นำมาพิมพ์เป็นรูปเล่ม
การออกแบบสร้างโครงงาน (แผนผัง)
จัดนิทรรศการโครงงาน
แสดงภาพรวมและสรุปย่อสาระสำคัญของโครงงานทั้งหมด ได้แก่
ชื่อโครงงาน สถานศึกษา
รายชื่อที่ปรึกษาและกลุ่มเยาวชนผู้รับผิดชอบโครงงาน บทคัดย่อ
ผังมโนทัศน์ วิธีการดำเนินงาน ผลการดำเนิน
การประเมินผลสรุป ข้อเสนอแนะ
การประเมินและการปรับปรุง
รายการที่ประเมิน ดังนี้
โครงงานมาจากความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
การนำหลักธรรมและแนวพระราชดำริ/พระราชดำรัสมาใช้ได้อย่างสอดคล้องเหมาะสม อธิบายเชื่อมโยงได้เป็นเหตุเป็นผล
ความคิดความเข้าใจในการศึกษาวิเคราะห์
สอดคล้องกันตลอดสายระหว่าง
ปัญหา-สาเหตุ-เป้าหมาย-วิธีการแก้
ความชัดเจนของผังมโนทัศน์
และสาระสำคัญของโครงงาน
เอกสารร่างโครงงาน มีความถูกต้องครบถ้วนของหัวข้อต่าง ๆ
คุณประโยชน์ในการแก้ปัญหา
ด้านความเสื่อมทรามทางศีลธรรม
ความเป็นไปได้ของร่างโครงงาน
โดยพิจารณาจากเป้าหมาย
วิธีการ
ดำเนินงาน
ประกอบกับข้อจำกัดด้านบุคคล
ระยะเวลา งบประมาณ และปัจจัยต่าง ๆ
บทที่ 5
การสรุปผลการจัดทำโครงงานและข้อเสนอแนะ
สรุปผลการทำโครงงาน
1. นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
2. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาแต่ละวัน
3. นักเรียนได้ปฏิบัติจริงในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
4. นักเรียนได้ประโยชน์และคุณค่าต่อผู้อื่น
ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำโครงงาน
1.
ได้ศึกษาค้นคว้าวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
2.
ได้ปฏิบัติจริง
3.
ได้บุญเกิดความสบายใจ
แนวทางการพัฒนาโครงงาน
1. การศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม วันสำคัญอื่น ๆ ในชุมชน
2. ขยายเครือข่าย วันสำคัญน้อมนำหระทำดี
3. จัดทำหนังสือวันสำคัญประกอบรูปภาพเผยแพร่แก่โรงเรียนอื่น ๆ
4. สามารถจัดทำหนังสือเล่มเล็กวันสำคัญน้อมนำกระทำความดี
5. มีสถานที่ในการแสดงผลงานแก่ผู้ที่สนใจ
6. มีการเผยแพร่ความรู้อย่างรวดเร็ว และสามารถตอบสนองต่อความหลากหลายต่างๆได้ ตัวอย่าง เช่น การจัดตั้งเว็บบอร์ดเพื่อมีการแลกเปลี่ยนความรู้
2. ขยายเครือข่าย วันสำคัญน้อมนำหระทำดี
3. จัดทำหนังสือวันสำคัญประกอบรูปภาพเผยแพร่แก่โรงเรียนอื่น ๆ
4. สามารถจัดทำหนังสือเล่มเล็กวันสำคัญน้อมนำกระทำความดี
5. มีสถานที่ในการแสดงผลงานแก่ผู้ที่สนใจ
6. มีการเผยแพร่ความรู้อย่างรวดเร็ว และสามารถตอบสนองต่อความหลากหลายต่างๆได้ ตัวอย่าง เช่น การจัดตั้งเว็บบอร์ดเพื่อมีการแลกเปลี่ยนความรู้
ปัญหาจากการทำโครงงาน
และข้อจำกัดในการทำโครงงาน
1.
การเริ่มจัดทำโครงงานนั้นต้องศึกษาประเภทของโครงงานให้เข้าใจก่อน
2. ผลการทดลองมีปัญหาด้านเวลา ต้องใช้เวลารอบนอกในวันหยุดราชการ
3. ปัญหาทางด้านงบประมาณ งบประมาณมีจำนวนจำกัด
2. ผลการทดลองมีปัญหาด้านเวลา ต้องใช้เวลารอบนอกในวันหยุดราชการ
3. ปัญหาทางด้านงบประมาณ งบประมาณมีจำนวนจำกัด
นักเรียนชั้น
ป. 5 จัดเตรียมเครื่องสังฆทาน ไปทำบุญที่วัดในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
นักเรียนได้ปฏิบัติจริงในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
บรรณานุกรม
กรมวิชาการ,
กระทรวงศึกษาธิการ. คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้
สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การ
รับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์
(ร.ส.พ.), 2545.
http://amic15.igetweb.com/article/art_42084854.jpg
http://mediacenter.mcu.ac.th/data/caipyo/m3/Unit6/img09.jpg
ภาคผนวก
ความรู้วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
วันสำคัญทางศาสนาพุทธ นิยมระบุตามปฏิทินจันทรคติ
โดยปกติจะเป็นวันที่เคยมีเหตุการณ์สำคัญเมื่อครั้งพุทธกาล หรือเมื่อถึงกำหนดต้องปฏิบัติประเพณีสำคัญตามธรรมเนียมในศาสนาพุทธ
วันสำคัญทางศาสนาพุทธที่ชาวพุทธยึดถือมานาน มีดังนี้
·
วันในแต่ละเดือน ได้แก่
·
วันสำคัญประจำปี ได้แก่
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
ระเบียบพิธี พิธีเวียนเทียน
การปฏิบัติตนในวันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอัฏฐมีบูชา วันอาสาฬหบูชา
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเป็นวันที่ชาวพุทธทั่วโลกยอมรับนับถือกันว่ามีความสำคัญเกี่ยวข้องโดยตรงกับพระรัตนตรัย
และเหตุการณ์สำคัญอื่น ๆ ในรอบหนึ่งปีกำหนดไว้ 6 วัน คือ
วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอัฏฐมีบูชา วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา และวันออกพรรษา
1.วันมาฆบูชา
มาฆบูชา เป็นชื่อของพิธีบูชา และการทำบุญในวันเพ็ญกลางเดือนมาฆะหรือเดือน 3
ถ้าเป็นปีที่มีอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน จะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4
โดยปกติวันมาฆบูชาจะอยู่ในเดือนกุมภาพันธ์ เราเรียกวันนี้อีกชื่อหนึ่งว่า “วันพระธรรม”
ความสำคัญของวันมาฆบูชา
มาฆบูชาเป็นวันระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญแห่งการประชุมใหญ่แห่งมหาสาวกของพระพุทธเจ้าที่เกิดขึ้นในสมัยพระพุทธเจ้า
4 อย่างในวันเดียวกัน จึงเรียกว่า วันจาตุรงคสันนิบาต
แปลว่าวันเป็นที่ประชุมพร้อมกันแห่งองค์ 4 คือ
1. พระอรหันต์สาวก 1,250
รูป มาประชุมพร้อมกัน
2. พระภิกษุเหล่านั้นล้วนเป็นเอหิภิกขุ
คือได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้า
3. พระภิกษุเหล่านั้นมาประชุมพร้อมกัน
โดยมิได้มีการนัดหมาย
4. วันที่ประชุมเป็นวันเพ็ญกลางเดือนมาฆะหรือเดือน
3
ในวันนี้พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ คือ
หลักการคำสอนที่เป็นใจความสำคัญที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์จะทรงสอน คือ“ละความชั่ว ทำความดี และทำให้จิตใจบริสุทธิ์” พร้อมทั้งทรงสอนชาวพุทธว่า
ต้องมีความอดทน มุ่งความสงบ อยู่ในระเบียบวินัย ตั้งใจแน่วแน่ ทำแต่ความดีมีคุณประโยชน์
ไม่กล่าวว่าร้าย ไม่ทำลายผู้อื่น
พิธีกรรมในวันมาฆบูชา
ในรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้ทรงพระราชดำริถึงความสำคัญแห่งจาตุรงคสันนิบาต
จึงได้ทรงจัดงานวันมาฆบูชาขึ้นเป็นครั้งแรก การจัดพิธีมีทั้งในส่วนภาครัฐ วัดและประชาชนร่วมกันปฏิบัติธรรม
รักษาศีล ฟังเทศน์ เวียนเทียน เช่นเดียวกับวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาอื่น ๆ
ต่างกันเฉพาะคำบูชาก่อนเวียนเทียน
เพื่อให้สอดคล้องกับเหตุการณ์ความเป็นมาของวันมาฆบูชา
พระสงฆ์จะแสดงพระธรรมเทศนาที่เกี่ยวเนื่องกับโอวาทปาฏิโมกข์ เพราะถือว่าเป็นหลักการ
และอุดมการณ์ของพระพุทธศาสนา หรือที่เรียกว่า เป็นหัวใจพระพุทธศาสนา
ข้อควรปฏิบัติในวันมาฆบูชา
1. น้อมใจระลึกถึงเหตุการณ์คือการประชุมจาตุรงคสันนิบาตในวันมาฆบูชา
เพราะเป็นวันที่ประมวลคำสั่งสอนของพระพุทธศาสนา และเป็นหลักการเดียวกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
คือสอนให้อดทน ไม่ว่าร้าย ไม่ทำลายผู้อื่น เป็นต้น
มุ่งสันติภาพถาวรเพื่อประโยชน์สุขแก่มวลมนุษยชาติ
วันมาฆบูชายังตรงกับวันที่พระพุทธเจ้าทรงตั้งพระทัยไว้ว่า ต่อจากนี้ไปอีก 3 เดือน
จะเสด็จปรินิพพานอีกด้วย
2.ปฏิบัติตนในการบำเพ็ญกุศลเริ่มด้วยทำบุญตักบาตร
เข้าวัด รักษาศีล ฟังเทศน์ เจริญภาวนา กลางคืนนำดอกไม้ธูปเทียนไปเวียนเทียนถวายเป็นปฏิบัติบูชา
เมื่อไปวัดควรแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย มีกิริยาวาจาสุภาพ ไม่ตลกเฮฮา
พยายามสำรวมกาย วาจา ใจ คุยกันแต่เรื่องที่เป็นธรรมะเป็นประโยชน์ หรือเรื่องอันชวนให้จิตใจสงบระงับห่างไกลจากโลภ
โกรธ หลง ขณะเวียนเทียน 3 รอบนั้น ควรระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย
โดยในรอบที่หนึ่งระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า สวดอิติปิ โสฯ รอบที่สอง
ระลึกถึงคุณพระธรรม สวด สวากขาโตฯ และรอบที่สาม ระลึกถึงคุณพระสงฆ์ สวด
สุปะฏิปันโนฯ หรือจะระลึกถึงคุณพระรัตนตรัยพร้อมกันทุกรอบก็ได้
ที่สำคัญคือต้องสำรวมกาย วาจา ใจ แสดงความเคารพอย่างแท้จริง
2. วันวิสาขบูชา
วิสาขบูชา
เป็นชื่อของพิธีบูชาและการทำบุญในวันเพ็ญกลางเดือนวิสาขะหรือเดือน 6
ในปีที่มีอธิกมาส วันวิสาขบูชาจะเลื่อนออกไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 7
โดยปกติวันวิสาขบูชาจะอยู่ในเดือนพฤษภาคม เราเรียกวันนี้อีกชื่อหนึ่งว่า “วันพระพุทธเจ้า”
ความสำคัญของวันวิสาขบูชา
วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญเพราะในพระประวัติของพระพุทธเจ้า
เป็นวันที่พระองค์ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน มาตรงในวันเดียวกัน คือวันขึ้น 15
ค่ำเดือน 6 จึงถือกันว่าเป็นเรื่องน่าอัศจรรย์ยิ่ง หาไม่ได้อีกแล้วในบุคคลอื่น
เหตุการณ์สำคัญ คือ
1. การประสูติ พระองค์ประสูติ ในวันเพ็ญเดือน 6
ณ บริเวณสวนลุมพินีวัน ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับกรุงเทวทหะ
ปัจจุบันอยู่ในประเทศเนปาล ก่อนพุทธศักราช 80 ปี
2. การตรัสรู้ พระองค์ตรัสรู้อริยสัจ คือ
ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ ในวันเพ็ญเดือน 6 ณ ตำบลพุทธคยา
ซึ่งปัจจุบันอยู่ในรัฐพิหาร ก่อนพุทธศักราช 45 ปี
3. การปรินิพพาน พระองค์ปรินิพพาน
ในวันเพ็ญเดือน 6 ณ ระหว่างไม้สาละทั้งคู่ ใกล้กรุงกุสินารา แคว้นมัลละ
ก่อนพุทธศักราช 1 ปี
เหตุการณ์ทั้งสามนี้เกิดตรงกันพอดีในวันนี้
จึงนับเป็นเป็นมหัศจรรย์ยิ่งนัก และถือกันว่าวันตรัสรู้สำคัญที่สุด ดังนั้น
วันวิสาขบูชานับว่าเป็นวันสำคัญที่สุด
ในประเทศไทย การจัดงานฉลองวันวิสาขบูชาได้มีมานานแล้วตั้งแต่สมัยสุโขทัย
ปัจจุบันองค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสากลของสหประชาชาติ
เพราะเป็นวันให้กำเนิดอารยธรรมมนุษย์ที่ยิ่งใหญ่
พิธีกรรมในวันวิสาขบูชา
วัดต่าง ๆ นิยมจัดให้มีพิธีวิสาขบูชาด้วยการเวียนเทียนและฟังพระธรรมเทศนาเพื่อเพิ่มพูนสติปัญญา ถ้าจัดเพื่อนักเรียน นิยมจัดกลางวัน เพื่อให้เสร็จพิธีก่อนค่ำ
นักเรียนจะได้กลับบ้านโดยสะดวกและปลอดภัย ถ้าจัดสำหรับประชาชนทั่วไปนิยมจัดกลางคืน
เพื่อให้ประชาชนร่วมทำบุญจุดโคมประทีปถวายเป็นพุทธบูชาสว่างไสวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
เป็นเครื่องหมายว่าปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก ขั้นตอนการดำเนินการมีดังนี้
1. เมื่อถึงเวลาที่กำหนดไว้
พระสงฆ์ทั้งวัดและประชาชนที่มาร่วมพิธี พร้อมกันที่หน้าอุโบสถหรือวิหาร
โดยเข้าแถวหน้ากระดาน พระสงฆ์อยู่แถวหน้า ประชาชนอยู่แถวถัดไป
2. ทุกคนมีธูป 3 ดอก เทียน 1 เล่ม
และในมือถือดอกไม้ พนมมืออยู่ในความสงบ
3. พระสงฆ์ผู้เป็นประธานให้โอวาทก่อนแล้วกล่าวนำคำบูชา
เริ่มต้นด้วย นะโม และคำบูชาวัน วิสาขบูชาเป็นภาษาบาลี โดยกล่าวนำเป็นวรรคสั้น ๆ พระภิกษุนอกนั้นและประชาชนกล่าวตาม
4. เมื่อกล่าวคำบูชาเสร็จแล้ว
พระสงฆ์ผู้เป็นประธานจะนำเวียนประทักษิณ
โดยให้มือขวาอยู่ทางด้านอุโบสถหรือวิหารเดินเป็นแถว
แต่จะเรียงเท่าไรตามความเหมาะสมของบริเวณอุโบสถหรือวิหารเดินเวียน 3
รอบรอบแรกให้ระลึกถึงพระพุทธคุณ รอบที่ 2 ให้ระลึกถึงพระธรรมคุณและรอบที่ 3
ให้ระลึกถึงพระสังฆคุณ
5. กรวดน้ำแผ่เมตตา เป็นเสร็จพิธี
ข้อควรปฏิบัติของชาวพุทธในวันวิสาขบูชา
เพื่อเป็นการระลึกถึงพระคุณยิ่งใหญ่ 3 ประการของพระพุทธเจ้า คือ
พระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณ และพระกรุณาคุณ พุทธศาสนิกชนพึงปฏิบัติดังนี้
1. ตื่นนอนแต่เช้า ชำระร่างกายให้สะอาด
แต่งกายให้เรียบร้อยเตรียมทำบุญตักบาตร
2. เมื่อตักบาตรเสร็จ
กรวดน้ำแผ่ส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว
3. นำอาหารไปถวายที่วัด และรับศีล ฟังธรรมด้วย
4. หากเป็นการสะดวก ควรอยู่รักษาศีล
บำเพ็ญภาวนาที่วัดทั้งวัน แต่ถึงอยู่ที่บ้าน ก็ควรรักษาศีล ทำจิตใจให้ผ่องใส
5. ไปเวียนเทียนที่วัดหรือพุทธศาสนสถานอื่น ๆ
เช่น พุทธมณฑล และท้องพิธีสนามหลวง
6. ฟังพระธรรมเทศนาเพื่อเพิ่มพูนสติปัญญา
7. แผ่เมตตาให้แก่สรรพสัตว์
3. วันอัฏฐมีบูชา
อัฏฐมีบูชา
เป็นชื่อพิธีบูชาและการทำบุญอันมีในวันที่แปดหลังจากวันวิสาขบูชา
เป็นวันระลึกถึงงานถวายพระเพลิงพระบรมสรีระของพระพุทธเจ้า ตรงกับวันแรม 8 ค่ำ
เดือน 6 ในปัจจุบันไม่จัดเข้าเป็นวันสำคัญในทางราชการ
แต่ชาวพุทธบางส่วนถือว่าเป็นวันสำคัญยิ่งอีกวันหนึ่ง
บางวัดจัดให้มีพิธีทำบุญใหญ่นับเนื่องกับวันวิสาขบูชา
จัดพิธีถือศีลประพฤติพรหมจรรย์เริ่มตั้งแต่วันวิสาขบูชาจนกระทั่งถึงวันอัฏฐมีบูชาพิธีกรรมในวันอัฏฐมีบูชา
พิธีกรรมและข้อควรปฏิบัติในวันอัฏฐมีบูชา ก็มีเช่นเดียวกันกับวันมาฆบูชาและวันวิสาขบูชา
ต่างกันเฉพาะคำกล่าวอัฏฐมีบูชาเท่านั้น
4. วันอาสาฬหบูชา
อาสาฬหบูชา เป็นชื่อพิธีบูชาและทำบุญในวันเพ็ญกลางเดือนอาสาฬหะหรือเดือน 8
ในปีที่มีอธิกมาส จะเลื่อนออกไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 8 หลัง
โดยปกติวันอาสาฬหบูชาจะอยู่ในเดือนกรกฎาคม เราเรียกวันนี้อีกชื่อหนึ่งว่า “วันพระสงฆ์”
ความสำคัญของวันอาสาฬหบูชา
วันอาสาฬหบูชา มีความสำคัญเพราะปรารภเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น 3 อย่าง คือ
1. เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมครั้งแรกและกัณฑ์แรกชื่อธัมมจักกัปปวัตนสูตร
คือพระสูตรว่าด้วยการหมุนพระธรรมจักร ซึ่งเป็นตราสัญลักษณ์พระพุทธศาสนาในประเทศไทย
2. เป็นวันที่มีพระสงฆ์เกิดขึ้นครั้งแรกในโลก
คือพระอัญญาโกณฑัญญะได้ฟังธรรมแล้ว เกิดดวงตาเห็นธรรมและขอบวชในพระพุทธศาสนา
3. เป็นวันที่มีพระรัตนตรัยครบถ้วนบริบูรณ์เป็นครั้งแรก
ใจความสำคัญของปฐมเทศนา
พระพุทธเจ้าตรัสแสดงธัมมจักกัปปวัตนสูตร โดยเริ่มจากทางสุดโต่ง 2 ทาง
ได้แก่ ทางที่หย่อน คือ ความหมกมุ่นในกาม มุ่งแสวงหากามสุข
ไม่เป็นทางให้ตรัสรู้ได้ ทางที่ตึง คือ การทรมานตนให้ลำบากด้วยประการต่าง ๆ
ทำให้เกิดความทุกข์ยากลำบาก ไม่เป็นทางให้ตรัสรู้ได้เช่นเดียวกัน
ต่อจากนั้นจึงทรงแสดงทางสายกลาง เป็นทางสายใหม่ที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ
เป็นทางให้ตรัสรู้และหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงได้ ทางนี้ประกอบด้วยองค์ 8 คือ
เห็นชอบ คิดชอบ พูดชอบ การงานชอบ ประกอบอาชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจมั่นชอบ
ต่อจากนั้น ทรงแสดงถึงอริยสัจ 4 ประการ และกิจที่ควรทำเกี่ยวกับอริยสัจ
คือ
1. ทุกข์ สภาพที่ทนได้ยาก ได้แก่ การเกิด
การแก่ การเจ็บ การตาย การพลัดพราก
2. สมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์ ได้แก่ ตัณหา
ความทะยานอยาก
3. นิโรธ ความดับทุกข์ ได้แก่
ความดับตัณหานั้นได้ ทุกข์ก็ดับไป
4. มรรค ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ได้แก่
ทางสายกลางหรืออริยมรรคมีองค์ 8 ประการ
พิธีกรรมในวันอาสาฬหบูชา
ในประเทศไทยจัดให้มีการเฉลิมฉลองวันอาสาฬหบูชาเป็นครั้งแรกตั้งแต่ พ.ศ. 2501 เป็นต้นมา ภายหลังการจัดงานฉลอง 25
พุทธศตวรรษงานสมโภชครั้งยิ่งใหญ่ การจัดพิธีอาสาฬหบูชานี้เป็นทั้งพระราชพิธี
พิธีของทางราชการ และพิธีของวัดและประชาชน
มีพิธีกรรมการปฏิบัติเช่นเดียวกับที่จัดในวันวิสาขบูชา
ต่างกันเฉพาะคำบูชาก่อนเวียนเทียน
และการแสดงพระธรรมเทศนาจะแสดงเน้นเรื่องธัมมจักกัปวัตนสูตร
ซึ่งสอดคล้องกับลักษณะของวันอาสาฬหบูชา
ข้อควรปฏิบัติในวันอาสาฬหบูชา
เมื่อถึงวันอาสาฬหบูชา ชาวพุทธควรน้อมใจระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัย
โดยเฉพาะคุณของพระอริยสงฆ์สาวก ตลอดถึงพระภิกษุสงฆ์อื่น ๆ
ที่ได้เป็นกำลังสำคัญในการสืบทอดเผยแผ่พระพุทธศาสนาต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน
พร้อมทั้งถือเป็นแบบอย่างของพุทธบริษัทโดยทั่วไปในการศึกษาหลักธรรมคำสอนให้เข้าใจแจ่มชัด
น้อมนำไปปฏิบัติให้เกิดผล และสืบทอดเผยแผ่แก่อนุชนรุ่นหลังต่อไป
สำหรับข้อควรปฏิบัติอื่น ๆ เช่น การไปทำบุญที่วัด การรับศีล
การฟังพระธรรมเทศนา
การสนทนาธรรมกับพระภิกษุสงฆ์และการเวียนเทียนนั้นก็มีวิธีการปฏิบัติเหมือนในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาอื่น
ๆ ข้างต้น
5. วันเข้าพรรษา
วันเข้าพรรษา ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 พรรษา แปลว่า ฝน หรือปี
โดยใจความหมายถึงฤดูฝน ซึ่งถือตามฤดูของอินเดีย มี 3 ฤดู คือ
คิมหันตะ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 4
จนถึงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8
วัสสานะ ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 8
จนถึงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12
เหมันตะ ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 12
จนถึงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8
ความสำคัญของวันเข้าพรรษา
เข้าพรรษา หมายถึง การอยู่ประจำที่ของพระสงฆ์ตลอด 3 เดือนฤดูฝน
ซึ่งเป็นธรรมเนียมทางพระวินัย
พระภิกษุต้องอยู่ประจำที่วัดใดวัดหนึ่งตามเวลาที่กำหนดไว้ ระยะกาลเข้าพรรษามี 2
ครั้ง คือ เข้าวันแรม 1 ค่ำเดือน 8 ออกวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 เรียกว่า
เข้าปุริมพรรษาหรือวันเข้าพรรษาต้น และเข้าวันแรม 1 ค่ำเดือน 9 และออกวันขึ้น 15
ค่ำเดือน 12 เรียกว่าเข้าปัจฉิมพรรษาหรือวันเข้าพรรษาหลัง
พระสงฆ์ส่วนใหญ่นิยมเข้าพรรษาต้น
พิธีกรรมในวันเข้าพรรษา
พิธีเข้าพรรษาเป็นพิธีของพระภิกษุโดยเฉพาะ กล่าวคือ
เมื่อถึงวันเข้าพรรษานี้ พระภิกษุผู้จะอยู่จำพรรษาในวัดเดียวกันจะประชุมพร้อมกันในอุโบสถซึ่งส่วนมากจะเป็นเวลาเย็น
หลังจากสวดมนต์ทำวัตรเย็นแล้วจะกล่าวคำอธิษฐานว่าจะอยู่ประจำในวัดเดียวตลอดเวลา 3
เดือน
โดยจะมีการประกาศบอกอาณาเขตของวัดที่เป็นสถานที่จำพรรษาเพื่อป้องกันไม่ให้พระภิกษุออกไปนอกเขตจนกว่าจะรุ่งอรุณ
ข้อควรปฏิบัติในเทศกาลเข้าพรรษา
1. ทำบุญตักบาตรที่บ้านหรือที่วัด
2. ไปวัดเพื่อรับศีลและฟังธรรม
3. มีการหล่อเทียนพรรษา
หรือซื้อเทียนที่เขาหล่อแล้ว ซื้ออุปกรณ์เกี่ยวกับแสงสว่าง
หรือทำบุญอุปถัมภ์ค่าไฟฟ้าถวายวัดในวันก่อนเข้าพรรษาหรือในวันเข้าพรรษาก็ได้
4. ถวายผ้าอาบน้ำฝนหรือไทยธรรม
แด่ภิกษุผู้อยู่จำพรรษาในวัดนั้น ๆ
5. บางท่านถือโอกาสอธิษฐานทำความดีตลอดพรรษา
เช่น งดการดื่มสุราหรืองดเว้นอบายมุขทุกประเภท อธิษฐานรักษาศีล 5 หรือศีล 8
และบำเพ็ญสมาธิตลอดพรรษา เป็นต้น
6. วันออกพรรษา
วันออกพรรษา คือ วันพ้นกำหนดระยะเวลาการเข้าพรรษาครบ 3 เดือนแล้ว
ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11
ในวันออกพรรษานั้นมีข้ออนุญาตให้สงฆ์ทำปวารณาแทนอุโบสถได้
โดยปกติธรรมดาสงฆ์จะทำอุโบสถสวดปาฏิโมกข์ (คือทบทวนพระวินัย
227 ข้อให้ที่ประชุมสงฆ์ฟังว่า ใครมีข้อบกพร่องอะไรบ้าง) ทุก 15 วัน คือ เดือนละ 2 ครั้ง
แต่ในวันออกพรรษานี้ให้ทำปวารณาแทนการสวดปาฏิโมกข์
พิธีกรรมในวันออกพรรษา
ในวันออกพรรษา มีการทำปวารณา หมายถึง
การเปิดโอกาสให้ว่ากล่าวตักเตือนกันได้เมื่อได้เห็น ได้ฟังหรือรังเกียจสงสัยในความประพฤติของกันและกัน
วันออกพรรษาและวันปวารณาเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ก็จริง
แต่พระสงฆ์ยังจะต้องอยู่ในวัดนั้นอีกคืนหนึ่ง จึงจะออกจาริกไปค้างแรมคืนที่อื่นได้
ในวันรุ่งขึ้น คือแรมค่ำ 1 เดือน 11
ในวันนี้มีประเพณีทำบุญตักบาตรเป็นพิเศษอีกหนึ่งวัน เรียกว่า ตักบาตรเทโว ย่อมาจาก
เทโวโรหณะ แปลว่า ลงจากเทวโลก หมายถึง วันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากดาวดึงส์เทวโลก
ข้อควรปฏิบัติในวันออกพรรษา
เมื่อถึงกำหนดวันออกพรรษา พระสงฆ์จะทำปวารณาแทนการทำอุโบสถตามพุทธานุญาต
คือ เปิดโอกาสให้มีการแนะนำตักเตือนกันได้ เพื่อให้ประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัย
ในส่วนของพุทธศาสนิกชนจะน้อมระลึกถึงความสำคัญของวันนี้ว่าเป็นวันครบกำหนด
3 เดือน ที่พระสงฆ์จำพรรษาบำเพ็ญคุณงามความดีติดต่อกันมา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น