วันศุกร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

วันวิสาขบูชา


วันวิสาขบูชา            
             วันวิสาขบูชา 2555 ตรงกับวันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน ในปีนี้นับเป็นอภิลักขิตกาลพิเศษ คือเป็นปีที่ครบ 2,600 พุทธศตวรรษ หรือ 2,600 ปี แห่งการอุบัติขึ้นของพระพุทธศาสนา และเชื่อว่าทุกคนรู้จักชื่อวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาอย่างวันวิสาขบูชากันดี อยู่แล้ว แต่จะมีสักกี่คนที่ทราบความเป็นมา และความสำคัญของ วันวิสาขบูชา ถ้างั้นอย่ารอช้า...เราไปค้นหาความหมายของ วันวิสาขบูชา และอ่าน ประวัติวันวิสาขบูชา พร้อม ๆ กัน
        คำว่า วิสาขบูชา ย่อมาจากคำว่า "วิสาขปุรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ" ดังนั้น วิสาขบูชา จึงหมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือน 6
            พระพุทธเจ้าก่อนที่จะทรงผนวช  ทรงอยู่ในวรรณะกษัตริย์  มีพระนามเดิมว่า  เจ้าชายสิทธัตถะ  เป็นพระโอรสของพระนางสิริมหามายาและพระเจ้าสุทโธทนะ
ทรงประสูติ  ณ  สวนป่าลุมพินีวัน  ตรงกับวันเพ็ญเดือนหก  ก่อนพระพุทธศักราช  80  ปี 
http://www.buddhabucha.net/wp-content/uploads/2012/07/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%B4.jpg
 















        พระองค์ได้ทรงเข้าพิธีอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงพิมพา
และมรพระโอรสหนึ่งพระองค์  คือพระราหุล  เมื่อยังเป็นเจ้าชายอยู่  ท่านถูกเลี้ยงดูอยู่ในความสุข  ไม่ได้มีโอกาสเห็นความทุกข์ใด ๆ  เลย  เมื่อได้มีโอกาสเสด็จประพาส  ได้เห็นคนแก่  คนเจ็บ  และคนตาย  ทรงเสียพระทัยมากเมื่อพบว่าในโลกมีสิ่งเลวร้ายเช่นนี้อยู่  และไม่มีใครสามารถป้องกันแก้ไขความทุกข์อันยิ่งใหญ่ของโลกคือ  ความแก่  ความเจ็บป่วย  และความตาย  ซึ่งจะต้องเกิดขึ้น
http://bannpeeploy.exteen.com/images/phs-05-01.jpgกับทุกคน

     





                พระองค์ได้ตัดสินพระทัยหนีออกจากวังเมื่อพระชนมายุ  29  พรรษา  ทรงเปลี่ยนเสื้อผ้ากับคนขอทาน  ถือกะลาออกบวชเป็นนักบวชททรับประทานเศษอาหารที่คนให้  การตัดสินใจออกบวชในครั้งนี้เป็นการตัดสินใจที่กล้าหาญเต็มไปด้วยความทรมาน  และเด็ดเดี่ยวมาก  เพราะอยู่บนพื้นฐานที่จะยอมลำบากถึงที่สุด  ที่จะตั้งใจหาอมฤตธรรมแก่คนทั้งโลก  ด้วยทรงหวังว่าธรรมนี้จะทำให้คนเป็นอมตะ  ไม่แก่  ไม่เจ็บ  และไม่ตาย
http://www.learntripitaka.com/History/Images/D06.jpg
 








         ในประวัติทรงเล่าว่า  พระองค์ได้ทรมานตนเองทุกอย่าง  ทั้งเสวยอาหารที่บูดเน่า  ถูกคนขว้างปา  ถูกเด็กเลี้ยงควายมาปัสสาวะใส่  หรือเอาไม้มาแยงหูตอนพระองค์หลับ  สุดท้ายทรงอดอาหารจนซูบผอม  เมื่อเอามือลูบตามตัวตามผมตามผมก็มีผมและขนร่วงติดมือออกมากมาย
เพราขาดอาหารขนาดหนัก
http://dhammataan.files.wordpress.com/2010/02/img_2587-e1265558841559.jpg?w=570
 










        พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  เมื่อพระชนมายุ  35  พรรษา  ณ  ป่าอิสิปตนมฤคทายวันในคืนวันเพ็ญเดือนหก  ก่อนพุทธศักราช  45  ปี  เมื่อตรัสรู้แล้ว  45  พรรษาของพระองค์ทรงดำเนินด้วยพระบาทไปยังสถานที่ต่าง ๆ  ในประเทศอินเดีย  เพื่อสอนธรรมะจนนาทีสุดท้าย  ทรงปรินิพพานใต้ต้นสาละ  ป่าสาลวัน  เมืองกุสินารา  ในคืนวันเพ็ญเดือนหก  ก่อนพุทธศักราช  1  วัน  ตลอด  45  ปีแห่งการแสดงธรรมมิได้มีวันหยุด  ไม่มีบ้าน  ไม่มีทรัพย์สิน  ไม่มีพาหนะ 

          ในแต่ละวันพระองค์ทรงใช้เวลาทำประโยชน์  ดังนี้คือ  ในเวลาเช้าเสด็จออกบิณฑบาตและแสดงธรรมโปรดมหาชน  เวลาบ่ายแสดงธรรมโปรดภิกษุสงฆ์และมหาชน  เวลาค่ำประทานโอวาทแก่ภิกษุสงฆ์  และเวลาเที่ยงคืนแสดงธรรมแก่เทวดา  จากนั้นเสด็จจงกรมและเสด็จสีหไสยา  เมื่อย่ำรุ่งเสด็จประทับนั่งตรวจดูสัตว์โลกด้วยพุทธจักษุ  และตอนเช้าเสด็จบิณฑบาตและแสดงธรรมเช่นเดิม  ซ้ำแล้วซ้ำเล่า
http://t0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRhhAj8Rx0oAFyYxJ07X5bbvRALP11HwZNJWn4wQXqlGtubj85Vg8YZ9JX8lw
 







          พระธรรมอันล้ำค่าได้บันทึกไว้เป็นพระไตรปิฎกถึง  45  เล่ม  และเชื่อว่ามีมากกว่านี้แต่ได้มีการสูญหายไป  พระธรรมเทศนาสามารถสรุปเป็นลักสูตรได้เป็นอริยสัจสี่
 เป็นความรู้ที่มีประโยชน์ที่สุดในโลก  เพราะทำให้พ้นจาก
http://www.dhammada.net/wp-content/uploads/2011/05/71594.jpgความทุกข์ได้  ในอริยสัจสี่นี้สามารถสรุปเป็นภาคปฏิบัติ  คือ  มรรคแปด  มรรคแปดนี้อาจแบ่งเป็นหมวด  ศีล  สมาธิ  และปัญญา  พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าไม่เพียงแต่มีเรื่องที่นำไปสู่ความพ้นทุกข์  ระงับการเกิดแก่เจ็บตายเท่านั้น  ยังมีคำสอนหลายระดับที่เหมาะสมตามกลุ่มของผู้ฟัง  ทั้งชาวบ้าน  ผู้ครองเรือน  และสำหรับพระภิกษุสงฆ์




        ถ้าเราจะนึกถึงพระพุทธคุณ  เราอาจจะแบ่งได้เป็น  3  ประการและ  ประการ  ดังนี้
        พระพุทธคุณ  3  ประการ  ได้แก่  พระกรุณาคุณ  พระวิสุทธิคุณ  พระปัญญาคุณ
พระกรุณาคุณ  เป็นความกรุณาต่อเพื่อมนุษย์  ด้วยการเสียสละความสุขออกบวช  เพื่อหาอมตะธรรมมาสู่ทุกคน  ทรงยอมทิ้งความสบาย  ราชบัลลังค์  และทุกสิ่งไปมีสภาพแบบขอทาน  เพื่อจะหาธรรมอันนั้นมาสู่ชาวโลก  และทรงทนอยู่ถึง  ปี  จึงบรรลุธรรมนั้น 
http://t3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTtDbXVPksdDQ79El857s_AYIT6cfSj4b7eDERRBZdSpU0b-pWHR2Sunvvs7A
 






             เมื่อบรรลุแล้วด้วยความกรุณาจะโปรดสัตว์  ทรงพระดำเนินด้วยพระบาททั่วประเทศอินเดีย  จำพรรษาตามที่ต่าง ๆ  เพื่อช่วยชาวโลก  แม้ประชวรหนักจนจะปรินิพพานยังทรงสอนจนเกือบจะนาทีสุดท้ายเพื่อโปรดชาวโลก  จะทรงพักตั้งหลักแหล่งเสวยสุขอยู่ที่เดิมก็ทำได้  แต่ทรงไม่ทำ
พระวิสุทธิคุณ  ทรงกระทำทุกอย่างด้วยศีลอันบริสุทธิ์ตามที่สอน  ทรงบัญญัติข้อห้ามในพระวินัย 
http://www.mahamodo.com/tamnai/images/bud/00_DayPra08.jpg
 








           อย่างไรพระองค์เองก็ทรงกระทำเช่นเดียวกัน  เรียกว่ามีจรณะหรือความประพฤติที่ดี  ในพระประวัติกล่าวไว้ว่า  ครั้งหนึ่งพระราชาได้ไปเฝ้าพระองค์ในป่า 
พระพุทธเจ้าได้ประทับอยู่ท่ามกลางพระภิกษุ พระราชาถึงกับดูไม่ออกว่าพระองค์ใดเป็นพระพุทธเจ้า  เพราะเหมือนกันไปหมด  ทั้งนี้เพราะภายนอกไม่มีความแตกต่าง  กล่าวได้ว่าความบริสุทธิ์ของพระองค์ไม่มีการปกปิด  ไม่มีการอำพราง  เหมือนกะลาที่หงายให้ทุกคนตรวจดูได้เสมอในความบริสุทธิ์
http://gallery.palungjit.com/data/540/budhavx2.gif
 







พระปัญญาคุณ  ทรงมีปัญญาค้นพบธรรมะ  จำแนกธรรมะ  และสอนธรรมะแก่บุคคลหลากหลายด้วยวิธีการต่าง ๆ
เมื่อมีผู้ซักถามพระองค์จะตอบได้ทันที  เรื่องนี้คำตอบมีอยู่ได้สี่ประการ  หรือห้าประการ  หรือสิบประการ  และแจก
http://www.chongter.com/webboard/index.php?action=dlattach;topic=10108.0;attach=3860;imageแจงออกมาได้ในทันที  เมื่อมีคำถามที่ยากจะให้พระองค์จนแต้ม  พระองค์ก็ไม่เคยจน  มีแต่ย้อนถามให้คิด  จนผู้ถามจนแต้มไปเอง  ที่สำคัญในคำสอนคือ  ทรงสอนว่าสิ่งที่ดีที่สุดที่มนุษย์ทุกคนควรได้ไม่ใช่ความเป็นอมตะ  แต่เป็นความสุขที่เที่ยงแท้จากการพ้นทุกข์  และมีการดับภพชาติ  ไม่ต้องเกิดอีกต่อไป  ที่สำคัญเมื่อเราทำดี  แม้จะยังไม่ถึงขั้นพ้นทุกข์ได้  แต่จะได้สิ่งที่ดีและสุคติตามมา

      ด้วยพระปัญญาในการรู้ธรรม  คือ  อรหัน  เป็นผู้ไกลจากกิเลส  สัมมาสัมพุทโธ  เป็นผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง  วิชชาจรณสัมปันโน  มีความรู้และพร้อมไปด้วยการปฏิบัติ  สุคโต  เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว  โลกวิทู  เป็นผู้รู้แจ้งโลก  อนุตตโร  ปุริสัททัมมะสารถิ  เป็นผู้ฝึกสอนคนได้ยอดเยี่ยม  สัตถา  เทวมนุสสานัง  เป็นศาสดาครูของเทวดา  และมนุษย์ทั้งหลาย  พุทโธ  เป็นผู้รู้  ผู้ตื่น  ผู้เบิกบาน  ภควา  เป็นผู้จำแนกแจกแจงธรรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น