แผนการจัดการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา
และวัฒนธรรม
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
เรื่อง พุทธประวัติ (แผนที่ 1)
เวลา 1 ชั่วโมง
...........................................................................
มาตรฐานการเรียนรู้ สัมพันธ์กับมาตรฐานการเรียนรู้
ส 1.1 ป.5/2 สรุปพุทธประวัติตั้งแต่ประสูติ จนถึง อภิเษกสมรส หรือประวัติศาสดาที่ตนนับถือตามที่กำหนด
สาระสำคัญ
พระพุทธเจ้าทรงค้นพบหนทางแห่งความดับทุกข์ พระองค์มีความบริสุทธิ์ทั้งกาย วาจา
และใจ มี
ความเมตตากรุณาต่อเพื่อนมนุษย์
การศึกษาพุทธประวัติทำให้ได้รู้เรื่องราวของพระองค์
และได้เรียนรู้คุณธรรมและแนวทางการประพฤติปฏิบัติในการดำเนินชีวิต
จุดประสงค์การเรียนรู้
1.
นักเรียนสามารถสรุปพุทธประวัติตั้งแต่ประสูติ จนถึงอภิเษกสมรส และได้อย่างถูกต้อง
2.
นักเรียนมีความรู้ความเข้าในพุทธประวัติ ได้ศึกษาลำดับเหตุการณ์ที่ถูกต้อง
3.
นักเรียนสามารถนำคำสอนคุณธรรมไปประพฤติปฏิบัติจริงในชีวิตประจำวัน
4.
นักเรียนมีความพอใจในสื่อพุทธประวัติ และมีความสุขในการศึกษา
สาระการเรียนรู้
1.
การประสูติ
2.
คำทำนาของอสิตดาบส
3.
คำทำนายของพราหมณ์โกณฑัญญะ
4.
การศึกษาในสำนักครูวิศวามิตร
5.
อภิเษกสมรส
6.
การวิเคราะห์สถานการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วใช้ความรู้ความสามารถในการแก้ปัญญาอย่างฉลาด
มีคุณธรรม
กระบวนการจัดการเรียนรู้
ขั้นทดสอบก่อนเรียน
1.
ครูทบทวนความรู้เดิมของนักเรียน
2.
นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน ด้วยแบบทดสอบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 5
ข้อ
เมื่อทำเสร็จแล้วร่วมกันตรวจคำตอบจากเฉลย
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
1.
นักเรียนกล่าวคำนมัสการพระพุทธเจ้าพร้อมกัน
2.
ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ วิธีการจัดการเรียนรู้ และข้อตกลงในการวัดผลประเมินผล
การเรียนรู้
ให้ทุกคนรับทราบแนวปฏิบัติร่วมกัน
ขั้นสอน
1.
นักเรียนแบ่งกลุ่มเป็น 5 กลุ่ม คละกันในกลุ่มระหว่างนักเรียนเรียนเก่ง เรียนปานกลาง
และเรียนอ่อน
เพื่อพัฒนาการเรียนของนักเรียนโดยวิธีเรียนแบบกลุ่มร่วมมือ
ทุกคนต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการเรียน ตลอดจนการปฏิบัติกิจกรรม
2.
แต่ละกลุ่มรับหนังสือเล่มเล็กพุทธประวัติ ที่ครูจัดทำขึ้น อ่านจับใจความเนื้อหาสาระด้วย
ความตั้งใจ แล้วร่วมกันสนทนาเรื่องราวพุทธประวัติ ว่าเกิดเหตุการณ์อะไรบ้าง พร้อมดูภาพประกอบ เช่นภาพตอนประสูติ เจ้าชายสิทธัตถะทรงก้าวเท้าได้มีดอกบัวผุดขึ้นมาตลอดระยะทางที่พรองค์ทรงเดิน พระองค์ทรงเดินทั้งหมด 7 ก้าว
ขั้นตอนการสะท้อนความคิด
1.
นักเรียนร่วมกันอภิปรายถึงใจความสำคัญของพุทธประวิติ จากหนังสือเล่มเล็ก
สรุปใจความสำคัญ
และตั้งจุดมุ่งหมายในการอ่าน
เชื่อมโยงไปสู่การนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในชีวิตประจำวัน
2.
ร่วมกันสะท้อนความคิดเห็นเกี่ยวกับการแก้ปัญหาของพระพุทธองค์ด้วยการใช้หลักการ
สายกลาง ความพอเพียง และความมีเหตุผล ครูสอนให้นักเรียนให้นำความรู้ไปปรับประยุกต์ใช้ตามหลักแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว
การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงและเงื่อนไขความรู้ เงื่อนไขคุณธรรม การวิเคราะห์สถานการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วใช้ความรู้ความสามารถในการแก้ปัญหา ตามแบบอย่างพระพุทธองค์ และวิเคราะห์ผลที่เกิดกับตน
ขั้นเข้าใจและเกิดความคิดรวบยอด
1.
นักเรียนอ่านในใจหนังสือเล่มเล็กพุทธประวัติ เล่ม
1 โดยวิธีการอ่านในใจที่ถูกต้อง คือ
การเคลื่อนสายตาจากซ้ายไปขวาผ่านคำทุกคำ
ตั้งใจจับใจความจากเนื้อเรื่องที่อ่านแต่ละย่อหน้า
จับใจความสำคัญว่ามีเหตุการณ์เกิดขึ้นอย่างไรบ้าง มีประเด็นสำคัญควรจดจำอะไรบ้าง
2.
นักเรียนตังใจอ่านหนังสือเล่มเล็กพุทธประวัติอย่างพินิจพิจารณา แล้วร่วมกันตั้งคำถาม
จากเรื่องที่อ่าน
และตอบคำถามปากเปล่า
อาจตั้งคำถาม เช่น ประเทศอินเดียในสมัยพุทธกาลเรียกว่าอะไร
พระพุทธเจ้าทรงพระนามเดิมว่าอะไร
เป็นต้น
3.
นักเรียนแต่ละกลุ่ม ร่วมกันสรุปประเด็นสำคัญแต่ละย่อหน้า ร่วมกันคิด
วิเคราะห์และ
ปฏิบัติกิจกรรมโดยใช้วิธีเรียนแบบรอบรู้ ตัวแทนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลงาน
4.
นักเรียนทุกคนร่วมกันสรุปประเด็นสำคัญที่นำเสนอไปแล้วทุกกลุ่ม และเขียนลงบน
กระดาน อ่านออกเสียงพร้อมกัน
ขั้นประยุกต์ความคิด
1.
แต่ละกลุ่มรับบัตรงาน กลุ่มละ
2 ชุด เพื่อปฏิบัติกิจกรรม ประกอบด้วย
บัตรคำสั่ง บัตร
เนื้อหา บัตรกิจกรรม บัตรคำตอบ
และบัตรเฉลย
ร่วมกันศึกษาตามลำดับ
จากบัตรคำสั่ง จนถึงบัตรเฉลย
ตามลำดับขั้นตอนที่เสนอแนะในบัตรคำสั่งและกิจกรรมทุกกิจกรรม
2.
ในกลุ่มร่วมกันตรวจคำตอบจากบัตรเฉลย ถ้าหากมีข้อใดตอบผิดให้ทบทวนเนื้อหาใหม่
อีกครั้งแล้วพิจารณาคำตอบที่ถูกต้อง
โดยร่วมมือกันค้นหาคำตอบที่ถูกต้อง
นักเรียนที่เข้าใจเรื่องที่อ่านให้อธิบายให้เพื่อนที่ยังไม่เข้าใจฟังในกลุ่มของตนเอง
ขั้นสรุป
นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันสรุป
ประเด็นสำคัญของเรื่องที่อ่านในกลุ่มละย่อหน้า จากหนังสือเล่มเล็ก เรื่อง
พุทธประวัติ เล่ม 1
เขียนสรุปสั้น ๆ
ตัวแทนกลุ่มอ่านให้กลุ่มใหญ่ฟัง
ขั้นการประเมินตนเอง
1.
ตัวแทนกลุ่มรับแบบทดสอบหลังเรียน และกระดาษคำตอบ ทำแบบทดสอบหลังเรียน เป็น
แบบทดสอบปรนัย 4 ตัวเลือก เมื่อทำเสร็จแล้วร่วมกันในแต่ละกลุ่มช่วยกันพิจารณาตรวจคำตอบจากบัตรเฉลย
2.
แต่ละกลุ่มช่วยกันเก็บสื่ออุปกรณ์ต่าง ๆ ให้ครบส่งคืนครู
3.
ครูตรวจสอบความถูกต้องกระดาษคำตอบที่นักเรียนตรวจแล้ว ซ้ำอีกเพื่อความถูกต้อง แล้ว
รวบรวมข้อมูลคะแนนสอบหลังเรียน
บันทึกไว้ เพื่อนำไปจัดกระทำข้อมูลที่ได้ตามวิธีการทางสถิติในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
สื่อการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้
1.
หนังสือเล่มเล็กพุทธประวัติ
2.
บัตรคำสั่ง
3.
บัตรเนื้อหา
4.
บัตรคำถาม
5.
บัตรฝึกปฏิบัติกิจกรรม
6.
บัตรเฉลยคำตอบ
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
การวัดผล
1. สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในเวลาเรียน ด้านความเอาใจใส่ ตั้งใจเรียน
การให้ความร่วมมือขณะปฏิบัติกิจกรรมกลุ่ม
การเสนอแนวคิด การตอบคำถาม กระบวนการกลุ่ม
2.
ทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
3.
ตรวจผลงานจากการตอบคำถามในบัตรคำถาม
เครื่องมือการวัดผลและประเมินผล
1. แบบทดสอบ
2. บัตรกิจกรรม
3.
แบบบันทึกผลงาน
4. แบบบันทึกพฤติกรรมการเรียน
เกณฑ์การวัดผลและการประเมินผล
1. นักเรียนตอบคำถามปากเปล่า สามารถตอบคำถามได้ถูกต้อง
2. นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียนได้ถูกต้องอย่างน้อย 3
ข้อ ใน 5
ข้อ
3. นักเรียนบันทึกความรู้ลงในสมุด ได้ถูกต้องสวยงามมีระเบียบ ลายมืออ่านง่ายตัวบรรจง
สม่ำเสมอ
4. ปฏิบัติตามลำดับขั้นตอนการทำงานและตอบคำถามในบัตรกิจกรรมได้ถูกต้อง อย่างน้อยร้อยละ 80
กิจกรรมเสนอแนะ
นักเรียนรู้พุทธประวัติแล้ว
อยากจะศึกษาค้นคว้าให้ละเอียด
จึงได้ทำโครงงานสำรวจ
เพื่อศึกษาสืบค้นพุทธประวัติ
ในห้องสมุด ในอินเตอร์เน็ต และรวบรวมบันทึกไว้เป็นโครงงานรูปเล่ม
ให้นักเรียนได้นำหนังสือเล่มเล็กไประบายสีภาพลายเส้นให้สวยงามในเวลาว่าง
เพื่อฝึกให้นักเรียนได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และฝึกนิสัยรักการอ่าน ฝึกฝนงานศิลปะโดยอัตโนมัติ
เชื่อมโยงเนื้อหาสู่การประยุกต์ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง ความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย ความซื่อสัตย์
ความขยัน ความใฝ่รู้ใฝ่เรียน และนิสัยรักการอ่าน
การจัดชั้นเรียน
โต๊ะครู
|
กลุ่มที่ 3
|
กลุ่มที่ 1
|
กลุ่มที่ 4
|
กลุ่มที่ 2
|
กลุ่มที่ 5
|
บันทึกหลังการสอน
ผลการจัดการเรียนการสอน
1.
นักเรียนสามารถสรุปพุทธประวัติตั้งแต่ประสูติ จนถึงอภิเษกสมรส และได้อย่างถูกต้อง
คิดเป็น ร้อยละ
80
2.
นักเรียนมีความรู้ความเข้าในพุทธประวัติ ได้ศึกษาลำดับเหตุการณ์ที่ถูกต้อง คิดเป็นร้อยละ 80
3.
นักเรียนสามารถนำคำสอนคุณธรรมไปประพฤติปฏิบัติจริงในชีวิตประจำวัน
คิดเป็นร้อยละ 80
4.
นักเรียนมีความพอใจในสื่อพุทธประวัติ และมีความสุขในการศึกษา คิดเป็นร้อยละ
80
ปัญหา/อุปสรรค
นักเรียนที่ยังไม่มีความรู้ความเข้าใจ ไม่สามารถอธิบายเรื่องราวพุทธประวัติ ไม่สามารถที่จะจดจำพุทธประวัติได้ คิดเป็นร้อยละ
20 เพราะนักเรียนเป็นผู้ที่เรียนรู้ช้า
แนวทางแก้ไข
ครูเอาใจใส่สอนซ่อมเสริม พาอ่านหนังสือเล่มเล็กบ่อย ๆ
แล้วให้นักเรียนได้เข้ากลุ่มทำโครงงานสืบค้นกับเพื่อนที่มีความรู้ความเข้าใจ
จนนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจสามารถนำพุทธประวัติมาปรับประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข
ข้อเสนอแนะของหัวหน้าสถานศึกษา
เป็นแผนการจัดการเรียนรู้ที่สามารถช่วยนักเรียนให้มีทักษะในการสืบค้น รู้จักวิเคราะห์ใช้ความคิดในการสำรวจสืบค้นแสวงหาความรู้ ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
ลงชื่อ_________________________
(ผู้บริหารสถานศึกษา)
(นางสงบ จันทรเสนา)
27 / พฤษภาคม
/ 2556
บัตรเนื้อหา
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา
และวัฒนธรรม
เรื่อง พุทธประวัติ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
พุทธประวัติ
สรุปพุทธประวัติ
เมื่อ 2,500 กว่าปีมาแล้ว
ในดินแดนที่เรียกว่าชมพูทวีป
ซึ่งเป็นที่ตั้งของอาณาจักรที่ชนหลายเชื้อ
ชาติอาศัยอยู่ด้วยกัน
ในบรรดาอาณาจักรเหล่านั้น
มีอาณาจักรหนึ่งเป็นดินแดนของชนชาติอริยกะ
มีวงศ์ศากยะ
ครองกรุงกบิลพัสดุ์
พระราชาที่ปกครองชนชาตินี้ คือ พระเจ้าสุทโธทนะ
ประสูติ
พระเจ้าสุโธทนะมีพระอัครมเหสี
คือ พระนางสิริมหามายา ซึ่งในกาลต่อมาพระนางทรงมีครรภ์ และเมื่อใกล้เวลาประสูติ พระนางจึงได้ทูลขออนุญาตจากพระราชสวามี เพื่อที่จะเสด็จกลับไปประสูติ ณ บ้านเมืองของพระนางคือ กรุงเทวทหะ
ซึ่งเป็นธรรมเนียมของสตรีในสมัยนั้นที่จะต้องกลับไปคลอดบุตรที่บ้านเกิดของตน
เมื่อพระนางสิริมหามายาเสด็จถึงสวนลุมพินี ซึ่งอยู่กึ่งกลางของกรุงกบิลพัสดุ์ กับกรุงเทวทหะ
พระนางก็ได้ทรงหยุดพักผ่อนพระอิริยาบถในสวนนี้
ต่อมาทรงรู้สึกประชวรพระครรภ์และได้ประสูติพระโอรสภายใต้ต้นสาละ ณ
สวนลุมพินี
พระนางทรงงดการเดินทางไปกรุงเทวทหะ
และได้เสด็จกลับกรุงกบิลพัสดุ์
พระเจ้าสุทโธทนะก็ทรงดีพระทัยยิ่งนัก
คำทำนายของอสิตดาบส
ทิวเขานอกเมืองกบิลพัสดุ์
มีดาบสตนหนึ่ง ชื่อ อสิตะ
เป็นที่เคารพนับถือของชาวเมือง
เมื่อทราบข่าวการประสูติจึงเข้าเฝ้า
ครั้นเห็นพระกุมารมีลักษณะของมหาบุรุษจึงทำนายว่า “พระราชกุมาร
ถ้าทรงอยู่ครองราชย์สมบัติจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ และถ้าออกนวชจะได้เป็นพระศาสดาเอกของโลก”
เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะมีพระชนมายุได้เพียง
7 วัน พระนางสิริมหามายาซึ่งเป็นพระมารดาก็สิ้นพระชนม์
พระเจ้าสุทโธทนะจึงทรงให้พระน้านางของเจ้าชายสิทธัตถะ ซึ่งมีพระนามว่า พระมหาปชาบดี
เป็นผู้ถวายการเลี้ยงดูพระโอรส
การศึกษาในสำนักครูวิศวามิตร
เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเจริญวัย
พรเจ้าสุทโธทนะทรงให้ศึกษาวิชาในสำนักครูวิศวามิตร ซึ่งเจ้าชายสิทธัตถะทรงพระปรีชาสามารถในการศึกษาศิลปวิทยาเป็นอย่างดีจนหมดสิ้นความรู้ของอาจารย์
อภิเษกสมรส
พระเจาสุทโธทนะ
มีพระประสงค์ให้พระโอรสทรงเป็นพระจักรพรรดิมากกว่าออกผนวช จึงทรงสร้างปราสาทให้ 3 หลัง สำหรับประทับในฤดูร้อน ฤดูฝน
ฤดูหนาว เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงเจริญพระชนมายุได้ 16
พรรษา
ก็โปรดให้อภิเษกสมรสกับนางยโสธรา
(พิมพา) และประทับอยู่ในปราสาททั้ง
3จนมีพระชนมายุ 29 พรรษา ทรงมีพระโอสกับพระนางยโสธราองค์หนึ่ง พระนามว่า
“ราหุล”
แปลว่า บ่วง
ตามที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงอุทนขึ้นในเวลาพระโอรสประสูติว่า “บ่วงเกิดขึ้นแล้ว”
แบบทดสอบสอบก่อนเรียน
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา
และวัฒนธรรม
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
เรื่อง พุทธประวัติ จำนวน 5 ข้อ เวลา 5 นาที
คำชี้แจง กาเครื่องหมาย X ทับตัวอักษร ก ข
หรือ
หน้าข้อที่มีคำตอบถกที่สุดในกระดาษคำตอบ
........................................................
1. ต้นกำเนิดของพุทธประวัติอยู่ที่แคว้นใด
ก.
แคว้นโกศล ข.
แคว้นสักกะ
ค. แคว้นมคธ ง. แคว้นมัลละ
2. ผู้ใดที่ทำนายไปในทางเดียวว่า เจ้าชายสิทธัตถะจะสละราชบัลลังก์ออกผนวช
ก.
โกณฑัญญะ ข. อสิตดาบส
ค. วิศวามิตร ง. กาฬุทายี
3.
เจ้าชายสิทธัตถะเห็นว่าการมีสถานภาพในข้อใด จึงสามารถหาทางพ้นทุกข์ได้
ก.
กษัตริย์
ข. นักปราชญ์
ค. ฆราวาส ค. สมณะ
4.
กลุ่มบุคคลใดที่พระพุทธเจ้าทรงเห็นว่า
มีอัธยาศัยเหมาะกับธรรมของพระองค์สมควรแสดงธรรมโปรดเป็นกลุ่มแรก
ก. ปัญจวัคคีย์ ข. พระยสะและเพื่อน
ค. พระอรุเวลกัสสปะและบริวาร ง.
พระราชบิดาและพระประยูรญาติ
5. เพราะเหตุใดพระเจ้าสุทโธทนะจึงวิตกพระทัย เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะโน้มเอียงไปทางธรรม
ก. ต้องการให้พระโอรสดูแลพระองค์ ข. ต้องการมีพระราชนัดดาไว้เชยชม
ค. ต้องการให้พระโอรสสืบราชสมบัติ ง.
เกรงว่าพระโอรสจะไม่อภิเษกสมรส
แบบทดสอบสอบหลังเรียน
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา
และวัฒนธรรม
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
เรื่อง พุทธประวัติ จำนวน 5 ข้อ เวลา 5 นาที
คำชี้แจง กาเครื่องหมาย X ทับตัวอักษร ก ข
หรือ
หน้าข้อที่มีคำตอบถกที่สุดในกระดาษคำตอบ
........................................................
1.
เจ้าชายสิทธัตถะเห็นว่าการมีสถานภาพในข้อใด จึงสามารถหาทางพ้นทุกข์ได้
ก. กษัตริย์ ข. นักปราชญ์
ค. ฆราวาส ค. สมณะ
2.
กลุ่มบุคคลใดที่พระพุทธเจ้าทรงเห็นว่า
มีอัธยาศัยเหมาะกับธรรมของพระองค์สมควรแสดงธรรมโปรด
เป็นกลุ่มแรก
ก. ปัญจวัคคีย์ ข. พระยสะและเพื่อน
ค. พระอรุเวลกัสสปะและบริวาร ง.
พระราชบิดาและพระประยูรญาติ
3.
เพราะเหตุใดพระเจ้าสุทโธทนะจึงวิตกพระทัย
เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะโน้มเอียงไปทางธรรม
ก. ต้องการให้พระโอรสดูแลพระองค์ ข. ต้องการมีพระราชนัดดาไว้เชยชม
ค. ต้องการให้พระโอรสสืบราชสมบัติ ง.
เกรงว่าพระโอรสจะไม่อภิเษกสมรส
4. ต้นกำเนิดของพุทธประวัติอยู่ที่แคว้นใด
ก.
แคว้นโกศล ข.
แคว้นสักกะ
ค. แคว้นมคธ ง. แคว้นมัลละ
5.
ผู้ใดที่ทำนายไปในทางเดียวว่า
เจ้าชายสิทธัตถะจะสละราชบัลลังก์ออกผนวช
ก.
โกณฑัญญะ ข. อสิตดาบส
ค. วิศวามิตร ง. กาฬุทายี
เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน
เรื่อง พุทธประวัติ
เล่ม 1
1.
ข
2.
ก
3.
ง
4.
ก
5.
ค
เฉลยแบบทดสอบหลังเรียน
1.
ง
2.
ก
3.
ค
4.
ข
5.
ก
แบบสังเกตพฤติกรรมกลุ่มการเรียน
เกณฑ์การให้คะแนน
ดี ให้ 3 พอใช้ ให้
2 ควรปรับปรุง ให้
1
เกณฑ์การประเมิน
การผ่านการประเมินทุกรายการต้องได้ 2 ขึ้นไป
ที่
|
รายการประเมิน
|
คะแนน
ที่ได้
|
สรุป
|
หมายเหตุ
|
|
ผ่าน
|
ไม่ผ่าน
|
||||
1
|
การวางแผนการในการปฏิบัติกิจกรรม
|
|
|
|
|
2
|
ความกระตือรือร้นใส่ใจในการเรียน
|
|
|
|
|
3
|
การแสดงความคิดเห็น
|
|
|
|
|
4
|
มีมารยาทในการพูดสนทนาในกลุ่ม
|
|
|
|
|
5
|
มีมารยาทในการฟัง
|
|
|
|
|
ประเมินกลุ่มที่......................ชื่อนักเรียนในกลุ่ม.........................................................................................
....................................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................................
ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม...................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................
ลงชื่อ.......................................................ผู้ประเมิน
(นางสิริพร ทาชาติ)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น