การนำเสนอผลงาน/นวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices)
ชื่อผลงาน หนังสือเล่มเล็กเชิงคุณภาพจากมือนักเรียน
ชื่อผู้เสนอผลงาน นางสิริพร
ทาชาติ
โรงเรียน/หน่วยงาน บ้านโนนสมบูรณ์
สังกัด สพป./สพม.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
อุดรธานี เขต 2
โทรศัพท์มือถือ 0883382037 e-mail
siriphronthachat @gmail.com website http://siriphron.blogspot.com
รายละเอียดการนำเสนอผลงาน
1. ความสำคัญของผลงานหรือนวัตกรรมที่นำเสนอ
จากการจัดการเรียนการสอน กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา
และวัฒนธรรม สาระ
พระพุทธศาสนา พบว่า
นักเรียนส่วนใหญ่มีปัญหาในด้านการคิดวิเคราะห์ ปัญหาทักษะการทำงาน และปัญหาการอ่านไม่คล่องเขียนไม่คล่อง เพื่อแก้ปัญหานักเรียนในชั้นเรียน
จึงได้ดำเนินการจัดทำหนังสือเล่มเล็กเชิงคุณภาพ โดยให้นักเรียนได้ปฏิบัติจริง ได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง สามารถนำความรู้ที่ได้รับมาบูรณาการกับวิชาต่าง
ๆ โดยทำเป็นหนังสือเล่มเล็ก ในการดำเนินการวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้นักเรียนรู้จักคิดวิเคราะห์ มีทักษะการทำงาน มีความสามารถในการอ่านการเขียน และสามารถจัดทำหนังสือเล่มเล็กได้อย่างมีคุณภาพ
2. จุดประสงค์และเป้าหมาย ของการดำเนินงาน
2.1 วัตถุประสงค์ของการจัดทำ
1. เพื่อให้มีหนังสือเล่มเล็กจากการจัดทำของนักเรียน
2. เพื่อให้นักเรียนรู้จักคิดวิเคราะห์เป็น
3. เพื่อให้นักเรียนมีทักษะในการทำงาน
4.
เพื่อให้นักเรียนรักการอ่านการเขียน
2.2 เป้าหมายของการดำเนินงาน
1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
จำนวน 21 คน มีความคิดวิเคราะห์ มีทักษะการทำงาน รักการอ่านการเขียน ร้อยละ 85
2. นักเรียนสามารถสร้างสรรค์ผลงานหนังสือเล่มเล็กอย่างมีคุณภาพ ร้อยละ
85
3. นักเรียนรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์คิดเป็นร้อยละ 100
3. กระบวนการผลิตผลงาน หรือขั้นตอนการดำเนินงาน
การออกแบบหนังสือเล่มเล็กเชิงคุณภาพ
เตรียมอุปกรณ์ที่จะใช้ในการทำงาน ตั้งชื่อเรื่อง เขียนเรื่อง
แบ่งเนื้อหาเป็นหน้า
ๆ เพื่อการวาดภาพประกอบในแต่ละหน้า เขียนบรรณานุกรม
เขียนรายชื่อผู้จัดทำ
หนังสือเล่มเล็กเชิงคุณภาพมีความสอดคล้อง
หนังสือเล่มเล็กเชิงคุณภาพมีความสอดคล้องกับจุดประสงค์เป้าหมาย โดยมีแนวคิดสำคัญรองรับอย่างสมเหตุสมผล สามารถอ้างอิงได้ นำมาเป็นพื้นฐานในการออกแบบกิจกรรมได้ และทุกกิจกรรมมีความเชื่อมโยงสอดคล้องกัน ดังนี้
อธิบายเหตุการณ์อย่างมีเหตุผล แปลความได้ชัดเจนตรงประเด็น ปรับประยุกต์ตามสมัย
มีมุมมองที่หลากหลาย ให้ความรู้ความเข้าใจ สนองความต้องการของคนอ่าน ให้ข้อคิดคติธรรมที่เป็นประโยชน์
การดำเนินงานจัดทำหนังสือเล่มเล็กเชิงคุณภาพ
ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน การปฏิบัติตามแผน การตรวจสอบ และการปรับปรุงแก้ไข
ดังนี้ กำหนดสาเหตุของปัญหา
จากนั้นวางแผนเพื่อการเปลี่ยนแปลงหรือทดสอบเพื่อการปรับปรุงให้ดีขึ้น การปฏิบัติตามแผนหรือทดลองปฏิบัติเป็นการนำร่องในส่วนย่อย ตรวจสอบเพื่อทราบว่าบรรลุผลตามแผนหรือหากมีสิ่งใดที่ทำผิดพลาดหรือได้เรียนรู้อะไรมาแล้วบ้าง
ยอมรับการเปลี่ยนแปลง
หากบรรลุผลเป็นที่น่าพอใจหรือหากผลการปฏิบัติไม่เป็นไปตามแผน
ให้ทำซ้ำวงจรโดยใช้การเรียนรู้จากการกระทำในวงจรที่ได้ปฏิบัติไปแล้ว
ประสิทธิภาพของการดำเนินงาน
ขั้นตอนการเขียนหนังสือเล่มเล็ก ดังนี้
ขั้นที่ 1
วางโครงเรื่อง สร้างตัวละคร กำหนดฉาก กำหนดโครงเรื่อง ลองเล่าให้เด็กๆ
ฟัง
กำหนดความยาวของเรื่อง
กำหนดความยาวของเรื่อง
ขั้นที่ 2 ลงมือเขียนตามลำดับขั้นตอนที่กำหนดรายละเอียดไว้
แล้วตั้งชื่อเรื่อง
ทบทวนดูชื่อเรื่องเหมาะสมกับเนื้อเรื่องหรือไม่ เมื่อเขียนเสร็จแล้วควรอ่านเพื่อตรวจหาข้อผิดพลาด เพื่อแก้ไขปรับปรุงจนพอใจและดีที่สุด
ทบทวนดูชื่อเรื่องเหมาะสมกับเนื้อเรื่องหรือไม่ เมื่อเขียนเสร็จแล้วควรอ่านเพื่อตรวจหาข้อผิดพลาด เพื่อแก้ไขปรับปรุงจนพอใจและดีที่สุด
ขั้นที่ 3
การจัดทำรูปเล่ม การจัดเตรียมกระดาษ กว้างยาวเท่าไร ตามขนาดของรูปเล่มที่ผู้เขียนกำหนดขึ้น
ลงมือวาดภาพประกอบในแต่ละหน้า
ตามที่เขียนเรื่องไว้ ให้สอดคล้องกับเนื้อเรื่องทีละหน้า โดยเรียงตามลำดับเหตุการณ์ของเรื่องจนจบเรื่อง เป็นขั้นตอนของการลงสี ก่อนการลงสีควรตรวจดูภาพที่วาดประกอบเรื่องว่า
ภาพที่วาดสอดคล้องกับเนื้อเรื่องหรือไม่
การจัดทำส่วนประกอบของหนังสือ ดังนี้ ปกหน้า ปกใน คำนำ
คำชี้แจง คำรับรองของผู้บริหาร คณะผู้จัดทำ บรรณานุกรมและปกหลัง การเข้าเล่ม ให้เรียงลำดับดังนี้
ปกหน้า ปกใน คำนำ คำชี้แจง เนื้อเรื่อง คำอธิบายศัพท์ท้ายบท
คำรับรองผู้บริหาร คณะผู้จัดทำ บรรณานุกรม ปกหลัง
การใช้ทรัพยากร
ประยุกต์ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่
เช่นสมุดของนักเรียนที่ไม่ใช้แล้ว
มาคัดแยกหน้าที่ยังไม่ได้เขียน
รวบรวมมาจัดทำหนังสือเชิงคุณภาพได้
4. ผลการดำเนินการ/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่ได้รับ
ผลการปฏิบัติตามกิจกรรมที่ออกแบบ
1. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการจัดทำหนังสือเล่มเล็กด้วยมือ
2. นักเรียนทุกคนทำงานอย่างตั้งใจ นักเรียนได้คิดได้แสดงออกอย่างอิสระ
3. นักเรียนสามารถอ่านคล่องเขียนคล่องขึ้น นักเรียนคิดเป็น ทำเป็น
แก้ปัญหาเป็น
4. นักเรียนมีความสุข สนุกสนานในการทำหนังสือเล่มเล็กเชิงคุณภาพ
5. นักเรียนสามารถคิดวิเคราะห์เพิ่มมากขึ้น คิดเป็นร้อยละ
85
6. นักเรียนสามารถอ่านและเขียน หนังสือประเภทอื่น ๆ
ได้คล่องถูกต้องชัดเจนคิดเป็นร้อยละ 85
7. นักเรียนเห็นคุณค่า และประโยชน์ของผลงานการจัดทำหนังสือเล่มเล็กเชิงคุณภาพ
8. นักเรียนรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
9. นักเรียนได้จัดทำหนังสือเล่มเล็กเชิงคุณภาพ ได้สร้างสรรค์ผลด้วยเทคนิคและวิธีที่หลากหลาย
10. นักเรียนได้แสดงศักยภาพในด้านภาษา ด้านศิลปะ
ทำให้เกิดคุณค่าคุณประโยชน์
11. นักเรียนได้จินตนาการด้วยตนเอง ได้ฝึกฝนอดทน
มีความขยันหมั่นเพียร
12. นักเรียนเกิดความตระหนัก และมีจิตสำนึกต่อสังคม
13. นักเรียนเกิดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามี่หลักสูตรแกนกลางต้องการ
5. ปัจจัยความสำเร็จ
จากการดำเนินที่ทำให้งานประสบผลสำเร็จ เกิดจากการวางแผนที่ดี และการสนับสนุนทั้งบุคลากรในโรงเรียนและบุคลากรภายนอกดังนี้
1. ครูมีความตั้งใจจริง มุ่งมั่นขยันอดทน ไม่ท้อแท้ต่ออุปสรรค
2. ผู้ปกครองให้การส่งเสริมสนับสนุน
3. วิทยากรภายนอก สนับสนุนให้ความรู้ในการวาดภาพประกอบหนังสือ
4. นักเรียนให้ความร่วมมือในการสร้างสรรค์ผลงาน
6. บทเรียนที่ได้รับ
ได้รับองค์ความรู้หลักการจัดทำหนังสือเล่มเล็กเชิงคุณภาพด้วยมือมีขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 ขั้นการวางโครงเรื่อง การสร้างตัวละคร กำหนดฉาก กำหนดโครงเรื่อง ลองเล่าให
ขั้นที่ 1 ขั้นการวางโครงเรื่อง การสร้างตัวละคร กำหนดฉาก กำหนดโครงเรื่อง ลองเล่าให
เด็กๆ ฟัง แล้วจึงกำหนดความยาวของเรื่อง
ขั้นที่ 2 การลงมือเขียนตามลำดับขั้นตอนที่กำหนดรายละเอียดไว้ แล้วตั้งชื่อเรื่อง หลังจากนั้นลองทบทวนดูชื่อเรื่องเหมาะสมกับเนื้อเรื่องหรือไม่ เมื่อเขียนเสร็จแล้วควรอ่านเพื่อตรวจหาข้อผิดพลาด เพื่อแก้ไขปรับปรุงจนพอใจและดีที่สุด
ขั้นที่ 3 การจัดทำรูปเล่ม การจัดเตรียมกระดาษ กว้างยาวเท่าไร ตามขนาดของรูปเล่มที่ผู้เขียนกำหนดขึ้น แล้วลงมือวาดภาพประกอบในแต่ละหน้า ตามที่เขียนเรื่องไว้ ให้สอดคล้องกับเนื้อเรื่องทีละหน้า โดยเรียงตามลำดับเหตุการณ์ของเรื่องจนจบเรื่อง จากนั้นเป็นขั้นตอนของการลงสี ก่อนการลงสีควรตรวจดูภาพที่วาดประกอบเรื่องว่า ภาพที่วาดสอดคล้องกับเนื้อเรื่องหรือไม่ การจัดทำส่วนประกอบของหนังสือ
ขั้นที่ 2 การลงมือเขียนตามลำดับขั้นตอนที่กำหนดรายละเอียดไว้ แล้วตั้งชื่อเรื่อง หลังจากนั้นลองทบทวนดูชื่อเรื่องเหมาะสมกับเนื้อเรื่องหรือไม่ เมื่อเขียนเสร็จแล้วควรอ่านเพื่อตรวจหาข้อผิดพลาด เพื่อแก้ไขปรับปรุงจนพอใจและดีที่สุด
ขั้นที่ 3 การจัดทำรูปเล่ม การจัดเตรียมกระดาษ กว้างยาวเท่าไร ตามขนาดของรูปเล่มที่ผู้เขียนกำหนดขึ้น แล้วลงมือวาดภาพประกอบในแต่ละหน้า ตามที่เขียนเรื่องไว้ ให้สอดคล้องกับเนื้อเรื่องทีละหน้า โดยเรียงตามลำดับเหตุการณ์ของเรื่องจนจบเรื่อง จากนั้นเป็นขั้นตอนของการลงสี ก่อนการลงสีควรตรวจดูภาพที่วาดประกอบเรื่องว่า ภาพที่วาดสอดคล้องกับเนื้อเรื่องหรือไม่ การจัดทำส่วนประกอบของหนังสือ
กลยุทธ์ สู่ความสำเร็จของหนังสือเล่มเล็กคือ “การมีส่วนร่วมในบทเรียน
(Active articipation)” ส่งเสริมให้ผู้เรียน มีมารยาท
มีวินัย ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีของสังคมฝึกให้ผู้เรียนมีทักษะกระบวนการอ่าน คิด
วิเคราะห์ และเขียน ใช้กระบวนการ จากเรื่องที่อ่านมาแยกแยะข้อเท็จจริง
และข้อคิดเห็นจากกระบวนการอ่าน โดยผ่านกระบวนการศึกษาค้นคว้า กระบวนการ ฝึกปฏิบัติ
กระบวนการสร้างความคิดรวบยอด คิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ กระบวนการทางภาษา
กระบวนการประชาธิปไตย และกระบวนการเขียน สามารถนำทุกกลุ่มสาระมาบูรณาการ
เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ให้กับผู้เรียนได้อย่างเป็นระบบ แต่ประการสำคัญที่สุด คือ
ครูต้องดูแลอย่างใกล้ชิด
หนังสือเล่มเล็ก คือ สื่อประเภทหนึ่ง ซึ่งผู้แต่งได้แต่งหนังสือตามกรอบเรื่องที่ได้รับและจัดทำเป็นรูปเล่มสำเร็จ โดยมีความเหมาะสมของเนื้อหา ภาษาที่ใช้ ขนาดตัวอักษร ภาพประกอบและความสวยงามน่าอ่าน การทำหนังสือเล่มเล็ก เป็นการบูรณาการทักษะทางภาษา ฟัง พูด อ่าน เขียน ดู แล้วนำมาสร้างจินตนาการ ถ่ายทอดโดยการเขียน เราสามารถบูรณาการทุกกลุ่มสาระ การทำหนังสือเล่มเล็กนอกจากจะครอบคลุมทุกกลุ่มสาระ ยังทำให้เกิดความเพลิดเพลิน เป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ทำให้เกิดจินตนาการ มีความคิดสร้างสรรค์อีกด้วย
หนังสือเล่มเล็ก คือ สื่อประเภทหนึ่ง ซึ่งผู้แต่งได้แต่งหนังสือตามกรอบเรื่องที่ได้รับและจัดทำเป็นรูปเล่มสำเร็จ โดยมีความเหมาะสมของเนื้อหา ภาษาที่ใช้ ขนาดตัวอักษร ภาพประกอบและความสวยงามน่าอ่าน การทำหนังสือเล่มเล็ก เป็นการบูรณาการทักษะทางภาษา ฟัง พูด อ่าน เขียน ดู แล้วนำมาสร้างจินตนาการ ถ่ายทอดโดยการเขียน เราสามารถบูรณาการทุกกลุ่มสาระ การทำหนังสือเล่มเล็กนอกจากจะครอบคลุมทุกกลุ่มสาระ ยังทำให้เกิดความเพลิดเพลิน เป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ทำให้เกิดจินตนาการ มีความคิดสร้างสรรค์อีกด้วย
ข้อสังเกตในการทำหนังสือเล่มเล็ก
ในชั้นเรียน
ข้าพเจ้าต้องการทำหนังสือเล่มเล็กๆ สักเล่ม ประเภทให้เป็นกระดาษขนาด A5 พับครึ่ง
ดังขั้นตอนต่อไปนี้
เปิดโปรแกรม Word แล้วเมนู “เค้าโครงหน้ากระดาษ”
กำหนดหน้ากระดาษแบบแนวนอน
กำหนด “ขนาด” กระดาษเป็น A5 หรือตามขนาดกระดาษที่จะใช้กับเครื่องพิมพ์
พิมพ์ไปตามลำดับขั้นตอนของการจัดทำหนังสือเล่มเล็ก
ข้อเสนอแนะและข้อควรระวังในการนำผลงานไปประยุกต์ใช้
จัดมุมแนะนำหนังสือเล่มเล็กที่นักเรียนสามารถหยิบอ่านได้อย่างสะดวก สอนให้นักเรียนรู้จักทะนุ
ถนอมหนังสือเล่มเล็ก สอนให้นักเรียนรู้จักจัดหนังสือเล่มเล็กให้เป็นระเบียบ
การพัฒนาหนังสือเล่มเล็กให้ประสบความสำเร็จ
พัฒนาหนังสือเล่มเล็กโดยให้นักเรียนได้จัดทำในรูปแบบที่กะทัดรัด น่าหยิบน่าอ่าน บูรณาการหนังสือเล่มเล็กกับทุกวิชา
สร้างสรรค์งานตามความต้องการของนักเรียน
นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดทำ
โดยให้นักเรียนเขียนเรื่อง สรุปข้อคิดของนักเรียน ให้นักเรียนได้ทำงานเป็นกระบวนการกลุ่ม ฝึกการคิด
ฝึกทักษะการทำงาน
ให้นักเรียนนำไปคิดที่บ้านเพื่อให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการช่วยคิด
ครูคอยชี้แนะช่วยเหลือให้ผลงานหนังสือเล่มเล็กของนักเรียนมีคุณภาพ มีประโยชน์แก่ผู้อื่นได้อ่านได้ศึกษาค้นคว้าต่อไป
7. การเผยแพร่/การได้รับการยอมรับ/รางวัลที่ได้รับ
ข้าพเจ้าได้นำผลงานเผยแพร่ ทั้งสามระบบ
ดังนี้
1. ระบบในโรงเรียน เผยแพร่หนังสือเล่มเล็กเชิงคุณภาพ ให้โรงเรียนที่สนใจ
2. ระบบนอกโรงเรียน เผยแพร่หนังสือเล่มเล็กเชิงคุณภาพให้เพียงพอต่อความต้องการ
3. ระบบตามอัธยาศัย ได้จัดทำหนังสือเล่มเล็ก ตามความต้องการของ
ผู้เรียน หนังสือที่จัดทำเน้นคุณธรรมจริยธรรม ให้ผู้อ่านได้มีความรู้ ความเข้าใจซาบซึ้งในคำสอนของพระพุทธองค์ และได้เผยแพร่ผลงานทางเว็บไซต์ www.thaiwisdom.org จากสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และทาง
e-mail siriphronthachat
@gmail.com/kamphai.blogspot.com htt://siriphron.blogspot.com
รางวัลที่ได้รับ ในระดับชาติ มี 7
รายการ คือ OBEC
AWARDS
ครูดีในดวงใจ ครูภูมิปัญญา
ครูเกียรติยศแห่งชาติ ครูเข้มแข็ง
ครูผู้สอนดีเด่นวิชาสังคมศึกษา ผู้มีคุณูปการต่องานวัฒนธรรมของชาติ
รางวัลที่นักเรียน ได้รับ
ระดับจังหัด ระดับภาค 15 เหรียญทอง ระดับประเทศ
1 เหรียญทอง
และที่นักเรียนไปแข่งขันรายการ
ๆ ที่เป็นรายการของเอกชน บริษัทห้างร้าน ได้รับเงินรางวัลในปีการศึกษา 2555 รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 5,000 บาท คือ
รายการวาดภาพวิถีชีวิตชาวนา
จากงานบุญกุ้มใหญ่ข้าว
ชาวประจักษ์ฯ ชนะเลิศที่ 1 ได้เงิน 1,500 บาท รายการขับร้องสรภัญญะบุญทอดสาด ชนะเลิศได้รับเงินรางวัล 1,000 บาท รายการแข่งขันโครงงานประวัติศาสตร์ของมูลนิธิพลเอกเปรม ชนะเลิศจังหวัด
ได้เงิน 2,500 บาท
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น